ทดสอบอุโมงค์ผ้าใบของไทย เหล็กทิ่มยังไม่เป็นอะไร

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะติดตามข่าวสารของเด็กทีมนักเตะหมูป่าและโค้ชรวมทั้งสิ้น13ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนเป็นเวลา9วันก่อนที่เจ้าหน้าที่จะพบตัว พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆฝ่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะนี้หมอภาคย์และหน่วยซีลกำลังช่วยเหลือเด็กๆและโค้ชในระหว่างที่รอฝ่ายต่างๆที่หาวิธีเพื่อที่จะนำทั้ง 13 ชีวิตออกมาจากถ้ำ แต่ต้องใช้ระยะเวลานานเพราะระดับน้ำในถ้ำยังคงเยอะอยู่ และเส้นทางการออกมาของถ้ำก็ยากมาก  เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการทดสอบอุโมงค์ผ้าใบเกิดขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ที่ดีต่อทีมหมูป่าเลยทีเดียว ตามมาดูกันดีกว่าว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรื่องนี้ถูกเปิดเผยผ่าน เฟซบุ๊กของ “วาสนา นาน่วม” ผู้สื่อข่าวสายทหาร โพสต์ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดใช้ “อุโมงค์น้ำผ้าใบ” มาใช้ในการเคลื่อนย้าย 13 ชีวิต ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน บางส่วนเพื่อลดการดำน้ำเป็นช่วง ๆ ในโพสต์มีการอธิบายว่า อุโมงค์น้ำนี้ มีลักษณะเป็นท่อผ้าใบ ความยาว 700 เมตร สามารถยืดหยุ่น ปรับรูปไปตามโขดหิน และซอกหินได้มากว่า
โดยแนวคิดนี้เหมือนกับแนวคิดของ นายไพโรจน์ ทุ่งทอง ประธานกรรมการบริหาร สวนลุมไนท์บาซาร์ ที่เสนอให้วางท่อนี้ผ่านแนวเส้นทางที่ต้องดำน้ำ แล้วอัดอากาศให้พอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กจะสามารถคลานลอดท่อผ้าใบนี้ได้ โดยแนวคิดดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนจาก นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพจิตร ผาวัน หัวหน้าภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก็เชื่อว่ามีทางเป็นไปได้ และควรทดลองเป็นทางเลือก ขณะที่หลักการข้อเสนอนี้ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับข้อเสนอของ อิลอน มัสก์ ที่ระบุว่า แนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง คือ การสอดท่อไนลอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ตามจุดต่าง ๆ ของถ้ำที่เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยได้ลำบาก
แล้วอัดอากาศเข้าไปในท่อให้พองตัวเหมือนกับปราสาทเป่าลม โดยท่อไนลอนนี้ยังสามารถยืดหยุ่นปรับรูปทรงให้รับกับสภาพภายในถ้ำที่แตกต่างกันได้ด้วย นอกจากนี้ล่าสุด นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาทดสอบอุโมงค์ผ้าใบด้วยตัวเองเพื่อมาทดสอบความแข็งแรง ซึ่งมีจากการทดสอบอุโมงค์ผ้าใบพบว่า สามารถทนเหล็กทิ่มแทง และฆ้อนทุบได้

อย่างไรก็ตามวิธีการนำท่อผ้าใบเข้าไปถ้ำ โดยเข้าไปตามไลน์เชือกในถ้ำที่หน่วยซีลทำไว้ แล้วให้คนที่อยู่อีกฝั่งดึงเชือก จากนั้นผ้าใบดังกล่าวก็จะไปโผล่อีกฝั่งหนึ่งและค่อย ๆ เติมลมเข้าไปก็จะกลายเป็นอุโมงค์ขึ้นมา ทั้งนี้เมื่อผู้สื่ขอข่าวสอบถามนายไพโรจน์ ถึงอุปสรรค เรื่องเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชัด ระดับน้ำที่ท่วงสูง และความแข็งแรงผ้าใบจะรับมือกับความคมของสิ่งต่างๆ ภายในถ้ำได้หรือไม่
ด้านนายไพโรจน์ จึงสาธิตความแข็งของผ้าใบด้วยการใช้ค้อน และของมีคม ทุบลงไปที่ผ้าใบด้วยความแรง พบว่ามีรอยเล็กน้อย โดยที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างของป้าผ้าชนิดนี้ ส่วนเส้นทางคดโค้ง หรือทางแคบกว่าขนาดของอุโมงค์ เราทดลองวางวัสดุกดทับ และหักท่อในรัศมี 180 องศา พบว่าท่อผ้าใบจะเปลี่ยนรูปทรงตามลักษณะของเส้นทาง และภายในท่อยังสามารถใช้เป็นเส้นทางเคลื่อนที่ไปได้

ส่วนเส้นทางของอุโมงค์ที่ต้องผ่านน้ำ หรือต้องมุดอุโมงค์ผ่านใต้น้ำ นายไพโรจน์อ้างว่าทดลอง ในสระว่ายน้ำแล้ว สามารถใช้งานได้ดี อย่างไรก็ตามอุโมงค์ท่อผ้าใบนี้ ยังเป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ถูกนำมาใช้ในภารกิจที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เนื่องจากการนำไปใช้จริงจะต้องศึกษาและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ แต่อย่างน้อยนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อาจเป็นประโยชน์ต่อปฏิบัติการครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีการใช้ อุโมงค์ผ้าใบ ช่วย 13 ชีวิต ที่ติดในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มาจากเฟซบุ๊กของ “วาสนา นาน่วม” ผู้สื่อข่าวสายทหาร โพสต์ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดใช้ “อุโมงค์น้ำผ้าใบ” มาใช้ในการเคลื่อนย้าย 13 ชีวิต ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
บางส่วนเพื่อลดการดำน้ำเป็นช่วง ๆ ในโพสต์มีการอธิบายว่า อุโมงค์น้ำนี้ มีลักษณะเป็นท่อผ้าใบ ความยาว 700 เมตร สามารถยืดหยุ่น ปรับรูปไปตามโขดหิน และซอกหินได้มากว่า โดยแนวคิดนี้ เหมือนกับ แนวคิดของ นายไพโรจน์ ทุ่งทอง ประธานกรรมการบริหาร สวนลุมไนท์บาซาร์ ที่เสนอให้ วางท่อนี้ผ่านแนวเส้นทางที่ต้องดำน้ำ แล้วอัดอากาศให้พอง โดยเชื่อว่าเด็กจะสามารถคลานลอดท่อผ้าใบนี้ได้
โดยแนวคิดดังกล่าว ก็ได้รับการสนับสนุนจากนายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพจิตร ผาวัน หัวหน้าภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก็เชื่อว่ามีทางเป็นไปได้ และควรทดลองเป็นทางเลือก
ทั้งนี้หลักการข้อเสนอดังกล่าว ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับข้อเสนอของ อิลอน มัสก์ ที่ระบุว่า แนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง คือ การสอดท่อไนลอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ตามจุดต่าง ๆ ของถ้ำที่เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยได้ลำบาก แล้วอัดอากาศเข้าไปในท่อให้พองตัวเหมือนกับปราสาทเป่าลม
ขอขอบคุณ – PPTV