คู่รักทั้งหลายควรรู้ 16 ประโยชน์ของ ”ทะเบียนสมรส” ที่มีค่ามากกว่าแค่ “กระดาษ”

มีค่ามากกว่าแค่กระดาษ 16 ประโยชน์ของ ”ทะเบียนสมรส” ที่คู่รักควรรู้

   การแต่งงานที่ถูกต้องตามกฏหมายก็คือการจดทะเบียนสมรส ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงกระดาษแค่ใบเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในความรักที่คนทั้งสองจะมอบให้กันเท่าไรนัก แต่ความเป็นจริงทะเบียนสมรสก็มีผลประโยชน์ที่คุณทั้งสองจะได้รับเหมือนกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ตามเรา ไปดูกันเลย..

1. ทั้งคู่เป็นสามี ภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งหมายความว่า มีหลักฐานและประจักษ์พยานเป็นเรื่องเป็นราวนั่นเอง

2. คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดก เหมือนตนเป็นทายาทเช่นบุตรของอีกฝ่าย

3. หากว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาที่ระบุไว้ในประกันชีวิต

4. การจดทะเบียนสมรส ทำให้ผู้ที่เป็นภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ทั้งของตนเองและของสามี

5. ในกรณีที่จดเทียนสมรสโดยภรรยาเป็นชาวต่างชาติ สามารถขอสิทธิ์ใช้สัญชาติไทยได้ตามสามี

6. การจดทะเบียนสมรสจะทำให้สามี ภรรยา มีส่วนร่วมกันในการจัดการสินสมรส

7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามี ภรรยา มีสิทธิ์รับเงินเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตในหน้าที่

8. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามี ภรรยา มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายที่ทำให้อีกฝ่ายเสียชีวิตได้

9. การจดทะเบียนสมรมทำให้สามี ภรรยา มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีที่อีกฝ่ายมีชู้ได้

10. การจดทะเบียนสมรสทำให้ลูกที่เกิดมา เป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย

11. การจดทะเบียนสมรส สามารถลดหย่อนภาษีได้

12. ใช้เป็นหลักประกันได้ว่า เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะไม่สามารถไปจดทะเบียนสมรสกับคนอื่นได้ หากฝ่าฝืน จะถือว่าการจดทะเบียนครั้งล่าสุดเป็นโมฆะ และอีกฝ่ายสามารถฟ้องหย่าได้ และฝ่ายที่เป็นมือที่สามในการจดทะเบียนซ้อนถือว่ามีความผิดด้วย

13. ในกรณีที่เป็ความผิดของสามี ภรรยา หรือเป็นเรื่องของคุณสองคน เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลักทรัพย์ของกัน ก็ไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย

14. หากสามีหรือภรรยา ถูกทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต โดยไม่สามารถฟ้องร้องคดีเองได้ อีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถร้องทุกข์ต่อตำรวจหรือฟ้องศาลแทนได้

15. ในคดีหมิ่นประมาท ที่กระทำต่อสามีหรือภรรยา เมื่อต่อมาหากเกิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตก่อนร้องทุกข์ อีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถร้องทุกข์แทนได้

16. หากคู่สมรสมีอายุ 17 ปีขึ้นไป เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว กฎหมายถือว่าผู้นั้นได้บรรลุนิติภาวะแล้ว และถึงแม้จะหย่ากันก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะอยู่ดี

เห็นมั้ยว่าทะเบียนสมรสไม่ใช่เพียงกระดาษใบเดียวอย่างที่หลายคนคิด

ซึ่งความจริงก็มีทั้งผลดีและผลเสีย แต่ก็ต้องอยู่ที่การตกลงของทั้งสองฝ่ายเอง ยังไงก็ลองพิจารณาส่วนต่างๆ ให้ดีก่อนที่จะลงลายเซ็นต่อหน้านายอำเภอ