9 ขั้นตอนยื่นภาษี 2562 ผ่านแอปฯ RD Smart TAX ขอคืนภาษีง่ายกว่าที่คิด !

รีวิววิธียื่นภาษี 2562 ผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart TAX ของกรมสรรพากร ไม่กี่นาทีก็ยื่นภาษีได้แล้ว


          ใครที่ไม่ถนัดยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางการกรอกแบบฟอร์ม หรือยื่นทางออนไลน์ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ กลัวว่าตัวเองจะกรอกผิด กรอกถูก กระปุกดอทคอมแนะนำให้ลองยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart TAX ของกรมสรรพากรกันดูค่ะ เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ง่ายกว่าที่คิด แค่ไม่กี่นาทีก็ยื่นภาษีได้แล้ว ลองมาดูเลยว่าต้องเริ่มจากอะไรบ้าง

ยื่นภาษี

          ก่อนจะยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart TAX ขอแนะนำให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์ epit.rd.go.th ของกรมสรรพากรก่อน เพราะต้องใช้รหัสผ่านจากเว็บไซต์มากรอกในแอปฯ ด้วย ซึ่งถ้าใครเคยลงทะเบียนไว้แล้ว ก็สามารถใช้รหัสผ่านเดียวกันไปกรอกในแอปฯ ได้เลย

          แต่ถ้ายังไม่เคยลงทะเบียน ก็ลงทะเบียนก่อนเลย โดย...

          - เข้าไปที่เว็บไซต์ epit.rd.go.th
          - เลือกสัญชาติไทย จากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ

ยื่นภาษี

          เมื่อกำหนดรหัสผ่านแล้ว ให้จำรหัสผ่านนั้นไว้ ทีนี้ก็มายื่นภาษีผ่านแอปฯ ได้แล้ว

วิธียื่นภาษีผ่านแอปฯ RD Smart TAX

          1. โหลดแอปพลิเคชัน RD Smart TAX

          - ระบบ iOS
          - ระบบ Android 

ยื่นภาษี



          2. เปิดแอปพลิเคชัน RD Smart TAX แล้วเลือกภาษา

ยื่นภาษี


          3. จะเข้ามาที่หน้าข่าวสรรพากร

          กรณีจะยื่นแบบภาษีให้เลือก "ยื่นแบบออนไลน์" ที่แท็บด้านล่าง

ยื่นภาษี



          4. เข้ามาที่หน้า "ยื่นแบบออนไลน์" ให้เรากรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์กรมสรรพากร

ยื่นภาษี


          5. หลังจากกรอกรหัสเรียบร้อย จะมาที่หน้า "ข้อมูลผู้ใช้" ซึ่งจะมีส่วนข้อมูลทั่วไป, ที่อยู่, ข้อมูลเพื่อการยื่นภาษี, ข้อมูลเพื่อลดหย่อนภาษี ให้เรากรอกรายละเอียดของตัวเองลงไป ซึ่งหากใครเคยยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์เมื่อปีก่อน ๆ ข้อมูลการลดหย่อนภาษีของเราก็จะปรากฏในแอปฯ ให้ด้วยเลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกอีก

ยื่นภาษี

          - หากมีรายการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ให้กดเลือก "ประสงค์จัดเก็บรายการก่อนยื่นภาษี"

ยื่นภาษี


          6. เลือกรายการลดหย่อนภาษีที่เรามี แล้วกด "ต่อไป"

ยื่นภาษี

ยื่นภาษี

          7. จะไปที่หน้า "ยื่นภาษี" ให้เราบันทึกเงินได้, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งก็คือบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้เรานั่นเอง จากนั้นกด "ต่อไป"
ยื่นภาษี


          8. จะไปที่หน้า "บันทึกเงินได้ยกเว้น/ค่าลดหย่อน" ส่วนนี้ให้กรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่เรามี

          เช่น จ่ายสมทบประกันสังคมไป 9,000 บาท, ซื้อหนังสือ 2,000 บาท รวมทั้งเงินบริจาคอื่น ๆ เมื่อกรอกครบแล้วให้กด "ต่อไป"

ยื่นภาษี

          9. จะไปที่หน้า "คำนวณภาษี" ระบบจะคำนวณให้ทันทีว่าเราชำระไว้เกิน หรือต้องชำระเพิ่ม

         * กรณีต้องชำระเพิ่ม

ยื่นภาษี

         * กรณีชำระไว้เกิน

        
แอปฯ จะบอกไว้ว่าชำระไว้เกินเท่าไร และให้เราเลือกว่า ประสงค์บริจาคภาษีให้พรรคการเมือง และประสงค์จะขอคืนภาษีหรือไม่ ถ้าเราต้องการขอคืนภาษี ระบบจะแจ้งว่าจะโอนเงินคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์เพื่อความสะดวก

ยื่นภาษี

          ทั้งนี้ถ้าเราอยากรับแจ้งผลคืนภาษีผ่าน SMS ให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์ของเราลงไป จากนั้นกด "ยื่นแบบ" และ "ยืนยันการยื่นแบบ" เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

          หากเราชำระภาษีไว้ขาด จะต้องยื่นภาษีเพิ่มเติม แอปฯ ก็จะบอกให้เรารู้ว่ามีช่องทางชำระภาษีอย่างไรบ้าง โดยชำระได้ทางเอทีเอ็ม, เทเลแบงกิ้ง, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, โมบายแบงกิ้ง รวมทั้งเคาน์เตอร์บริการ

          ทีนี้ถ้าเราอยากเช็กข้อมูลหรือตรวจสอบผลการคืนภาษีก็สามารถเช็กผ่านแอปฯ ได้เช่นกัน

ยื่นภาษี

ข้อดีของการยื่นภาษีผ่านแอปฯ

          - สะดวก เหมาะกับคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

          - ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เข้าใจง่าย มือใหม่ทำได้

          - สามารถขยายระยะเวลาการยื่นแบบออกไปได้อีก เช่น ในปีภาษี 2562 หากยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 แต่หากยื่นผ่านแอปฯ จะสามารถยื่นแบบได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2563 เช่นเดียวกับการยื่นภาษีทางเว็บไซต์กรมสรรพากร

ข้อจำกัดของการยื่นภาษีผ่านแอปฯ

          เนื่องจากการยื่นภาษีผ่านแอปฯ ออกแบบมาให้เราใช้เองได้ง่าย ๆ ลดขั้นตอนความยุ่งยากไปพอสมควร ดังนั้น ในคนที่มีรายได้จากหลายแหล่ง หรือมีรายละเอียดการหักลดหย่อนภาษีบางประการ จะมีข้อกำจัดที่ไม่สามารถยื่นภาษีผ่านแอปฯ ได้ ก็คือ

          - แอปฯ นี้ใช้ยื่นได้เฉพาะ ภ.ง.ด.91 เท่านั้นค่ะ คือต้องมีรายได้จากเงินเดือน โบนัส เพียงอย่างเดียว ตามมาตรา 40 (1) แต่หากเรามีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เช่น เงินปันผลกองทุน เครดิตภาษีหุ้น ค่าจ้างจากการหารายได้พิเศษ ค่าประกอบวิชาชีพ ค่าลิขสิทธิ์ ค่านักแสดง ฯลฯ ซึ่งต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้ ต้องยื่นภาษีด้วยวิธีอื่นแทน

          - คู่สมรสที่มีเงินได้และต้องการนำเงินได้มารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้

          - คนที่ต้องการนำเงินได้ที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานแยกคำนวณภาษีในใบแนบ ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้

          - ผู้ที่ใช้สิทธิอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้

          - ถ้าเป็นกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่ม เราจะต้องจ่ายเต็มจำนวนครั้งเดียว และต้องชำระภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบ ไม่สามารถผ่อนชำระ 3 งวดได้เหมือนกับการยื่นแบบที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือผ่านทางออนไลน์

          ดังนั้นใครที่มีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง แต่เพียงอย่างเดียว และไม่ได้มีข้อจำกัดอย่างที่บอกไป จะใช้ช่องทางนี้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและขอคืนภาษี ก็ถือว่าสะดวกทีเดียว หากมีข้อสงสัยก็ลองสอบถาม Call Center ได้ที่หมายเลข 1161

         
ส่วนใครที่ไม่สามารถยื่นภาษีผ่านทางแอปฯ RD Smart Tax ได้ ก็สามารถยื่นภาษีทางออนไลน์แทนได้ค่ะ ตามขั้นตอนนี้เลย
          - 10 ขั้นตอนยื่นภาษีด้วยตัวเองทางออนไลน์ มือใหม่ก็ทำได้ ง่ายกว่าที่คิด !

ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสรรพากร