เผยข้อสงสัย สาเหตุ “สีจีวร” ต่างกัน

หลังจากที่มีผู้คนมากมายที่ติดตามการหายตัวไปของเด็ก 13 ชีวิตในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เเละก็ได้มีพระอาจารณ์เกจิชื่อดัง “ครูบาบุญชุ่ม” จาก อ.แม่สรวย จ.เชียงรายได้มาทำพิธีบิณฑบาตขอไว้ชีวิตเด็กๆทั้ง 13 คน ทำเอาหลายคนก็ลุ้นทุกวินาทีเพื่ออยากให้เด็กๆออกมา ล่าสุดหลังจาก “ครูบาบุญชุ่ม” มาทำพิธีหลายคนก็พากันสงสัยว่าทำไม “สีจีวร” ต่างกันกับ “สีจีวร” ของพระที่บ้านเราวันนี้เราเลยจะพาลูกเพจทุกท่านมาดูหลังจากที่มีคนไปตั้งกระทู้ในพันทิป… จีวร ปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง ซึ่งได้แก่ ผ้า 5 อย่างคือ สบง ประคตเอว จีวร สังฆาฏิ ผ้ากรองน้ำ และเหล็ก 3 อย่างคือ บาตร มีดโกน เข็มเย็บผ้าจีวรเป็นชื่อเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้สอย ใช้เรียกทั้งผ้านุ่งผ้าห่ม เช่น คำว่ไตรจีวรถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม สำหรับผ้าห่มเรียกได้เฉพาะว่า อุตราสงคจีวรประกอบด้วยผ้าที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน เป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้นเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์

หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้วให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง

ต่อมาทรงอนุญาตไตรจีวร คือผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้ เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่าภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ หากรูปใดมีมากกว่านี้เป็นอาบัติ

ต่อมามีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุไม่แน่ใจว่าจีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ

1.ทำด้วยเปลือกไม้ 2.ทำด้วยฝ้าย 3.ทำด้วยไหม 4.ทำด้วยขนสัตว์ 5.ทำด้วยป่าน 6.ทำด้วยของเจือกัน
สีของจีวรแต่เดิมใช้มูลโคหรือดินแดงย้อมจีวร ทำให้สีของจีวรเป็นสีคล้ำ มีการทักท้วง จึงนำความกราบบังคมทูลให้พระองค์ทรงทราบ

พระพุทธเจ้ามีดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม 6 ชนิดสำหรับย้อมจีวร คือ น้ำย้อมจากใบไม้ น้ำย้อมจากดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้”

เมื่อย้อมเสร็จแล้วจีวรจะออกมาเป็นสีกรัก สีเหลืองหม่น หรือสีเหลืองเจือแดงเข้มเหมือนย้อมด้วยแก่นขนุน

แต่ทรงห้ามภิกษุย้อมจีวรด้วยขมิ้น ฝาง แกแล มะหาด เปลือกโลด เปลือกคล้า ใบมะเกลือ คราม ดอกทองกวาว เป็นต้น

สีจีวรที่ต้องห้าม คือ
1.สีเขียวคราม สีเหมือนดอกผักตบชวา
2.สีเหลือง สีเหมือนดอกกรรณิการ์
3.สีแดง สีเหมือนชบา
4.สีหงสบาท สีแดงกับเหลืองปนกัน
5.สีดำ สีเหมือนลูกประคำดีควาย
6.สีแดงเข้ม สีเหมือนหลังตะขาบ
7.สีแดงกลาย แดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วง เหมือนสีดอกบัว

บางแห่งระบุว่าสีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และสีชมพู
ถ้าจีวรมีสีตรงตามนี้ให้ภิกษุย้อมใหม่ ถ้าทำลายสีเดิมไม่ออกให้นำไปใช้เป็นผ้าปูลาดสำหรับรองนั่ง หรือใช้งานอื่นก็ได้

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุสงฆ์จะย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ สีจะไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้าง

ส่วนในยุคปัจจุบัน มีการใช้สีจีวรต่างๆ พอแยกออกได้ 2 สี คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม และสีกรักสีเหลืองหม่น ถือว่าถูกต้องตรงตามพระบรมพุทธานุญาตทั้ง 2 สี แต่พระภิกษุสามเณรที่อยู่วัดเดียวกันควรจะใช้จีวรสีเดียวกันเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปฏิบัติให้ถูกต้อง