“สูตรน้ำสมุนไพร” ดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร แก้ปวดข้อเข่าเสื่อม ปวดขา เหน็บชา

สมุนไพรแก้เข่าเสื่อม อาการเข่าเสื่อม ปวดข้อ และชาตามแขนขา เมื่อเราอายุมากขึ้นมักจะเจออาการเหล่านี้รุมเร้าเป็นธรรมดา
วันนี้เรามีสูตรน้ำสมุนไพรที่จะช่วยยับยังปัญหาสุขภาพที่กล่าวมาข้างต้นมาแจกให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้กันดูนะคะ มีส่วนผสมอะไรบ้างไปดูกันเลยจ้า

ส่วนผสม
– น้ำ 40 %
– มะนาว 5%
– ใบย่านาง 50%
– สับปะรด 5%
***การคิดเป็น % นั้นให้ผู้ปรุงยาตวงตามขนาดถ้วยตวง หน่วยเป็น cc
วิธีทำ

1. ปั่นใบย่างแล้วกรองกากทิ้ง
2. ปั่นสับปะรดเอากากทิ้ง
3. นำมารวมกับน้ำใบย่านางที่ปั่นเตรียมไว้แล้ว
4. หลังจากนั้นเติมน้ำมะนาวลงไป คนๆ ให้เข้ากันไว้รับประทาน (ที่เหลือแช่แย็นไว้ได้ 10-15 วัน)
การรับประทาน
ดื่มวันละ 2 ครั้งๆ ละ 30 ซีซี ผสมน้ำ 1 แก้ว ก่อนอาหาร หรือระหว่างวันก็ดีค่ะ
กลุ่มอาการควรรับประทาน
โรคอ้วน
โรคเก้าท์
ปวดข้อ เข่าเสื่อม
มีไข้
เนื้องอกในเต้านม – ในมดลูก
ไขมันในเลือดสูง
อาหารเป็นพิษ
แผลในกระเพาะ
ภูมิแพ้
ไมเกรน
สิว-ฝ้า-กระสีน้ำตาล
เป็นตะคิวบ่อยๆ
ริดสีดวงทวาร
ตับแข็ง
ท้องบวมน้ำ
ไทรอยด์
มะเร็งต่างๆ
โลหิตจาง
ตาฟ้าฟาง
ความดันสูงหรือต่ำเกินไป
ลูคีเมีย
ชาตามแขน ขา
เหงือกอักเสบ
โรคหัวใจ
กรดไหลย้อน
แจก 3 สูตรวิธีการทำน้ำใบย่านาง

วิธีการทำน้ำใบย่านางสูตรหมอเขียว
สูตรนี้เป็นการใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ใบย่านาง
– เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
– ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
วิธีทำ
1. ใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง)
2. กรองน้ำใบย่านางที่ได้ผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ
3. ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
หมายเหตุ
ถ้าจะให้ได้รสชาติ คั้นกับใบเตย จะหอมอร่อยมาก หรือจะใส่กับน้ำมะพร้าวก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น ( แต่ถ้าใส่น้ำมะพร้าวจะเสียเร็วนะ) ผักฤทธิ์เย็น นำมาคั้นร่วมกับย่านางก็ได้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ใบเตย
วิธีการทำน้ำใบย่านางสูตรทั่วไป

ส่วนผสม
– ใช้ใบย่านาง 30-50 ใบ
– น้ำดื่ม 4.5 ลิตร
– ใบเตย 10 ใบ
วิธีการทำ
1. ตัดหรือฉีกใบย่านางและใบเตยให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น
2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4 – 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที
วิธีการทำน้ำใบย่างนางสูตรที่ 2
ส่วนผสม
– ใบย่านาง 5-20 ใบ
– ใบเตย 1-3 ใบ
– บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ
– หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
– ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ
– ใบเสลดพังพอน ครึ่ง–1 กำมือ
– ว่านกาบหอย 3-5 ใบ
วิธีการทำ
1. ตัดหรือฉีกใบย่านาง ใบเตย ใบบัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบเบญจรงค์ และใบเสลดพังพอนให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น
2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4 – 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที
เป็นอย่างไรกันบ้างเมื่อทราบสรรพคุณที่มีมากมายจนน่ามหัศจรรย์ของสมุนไพรย่านางกันไปแล้ว คงจะเริ่มสนใจนำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้กันแล้วใช่ไหมล่ะ
แต่ก็ควรใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมนะ เพราะสมุนไพรชนิดนี้ถึงมีแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าหากเราใช้มากเกินไปและไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ค่ะ

แหล่งที่มา : หมอปรียาภา แฟนเพจ