เมื่อเงินเดือนเหมือนกัน
แต่ข้อสังเกตต่างกัน
เงินเดือนจึงเป็นเส้นแบ่งข้าง
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยไม่มีข้างไหน
ช่วยปรับทัศนคติให้อีกข้างได้
อย่างไรก็ต้องระแวงไว้ก่อนว่า
จะโดน ‘ฝ่ายตรงข้าม’ เอาเปรียบ
นายจ้าง
คือกลุ่มคนจำพวกอยากได้กำไร
นั่นคือไม่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดแล้ว
แต่จะดิ้นรนเพื่อความมั่งคั่งกว่าที่เป็น
ลูกจ้าง
คือกลุ่มคนจำพวกอยากมีเงินใช้
นั่นคือยังต้องดิ้นรนเพื่อให้พออยู่พอกิน
หรือดิ้นรนเพื่อให้พอกับความอยากได้โน่นนี่นั่น
นี่คือรากความรู้สึก
อันเป็นรากของปัญหา
จึงให้ความสำคัญกับตัวเลข
รายได้ต้องมากที่สุด
คือรีดพลังจากลูกจ้างให้มากที่สุด
ส่วนรายจ่ายต้องน้อยที่สุด
คือให้เงินเดือนลูกจ้างน้อยที่สุด
เปรียบเทียบกับราคากลางสำหรับตำแหน่งหนึ่งๆ
แล้วความรู้สึกขัดแย้งก็งอกเงยออกมาจากตรงนั้น
เช่น ตำแหน่งเดียวกัน ความสามารถไม่เท่ากัน
ทำไมต้องได้ค่าตอบแทนเท่ากัน?
อยู่ดึกแค่ไหน เหนื่อยสายตัวแทบขาดเท่าใด
อย่างมากก็ได้เป็นโอที
ทำไมไม่ใช่การยกระดับฐานะทางการเงิน?
ถ้าจะให้นายจ้างและลูกจ้างเป็นพวกเดียวกัน
มุมมองและความรู้สึกต้องต่างไป ขุดกันให้ถึงราก
มีสิทธิ์แบ่งความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และความรู้สึกเป็นเจ้าของก็ไม่มีอะไรดีกว่ากำไร
ใครทำกำไรให้มาก คนนั้นควรได้ส่วนแบ่งมาก
นี่เป็นจิตวิทยาขั้นพื้นฐานที่รู้กันทั่วไป
แต่ไม่ได้เห็นกันทุกที่
เพราะนายจ้างส่วนใหญ่เห็นหัวคนตามตำแหน่ง
ไม่สละเวลามองให้เห็น ‘คน’ ตามความสามารถ
คิดแค่ว่า เงินเดือนเท่ากัน
ใครทำงานดีกว่า ก็เอาคนนั้นไว้
หรือหนักกว่านั้นคือใครประจบเก่งกว่า ถูกใจกว่า
ก็ค่อยปูนบำเน็จให้คนนั้น
พูดง่ายๆ ทุกคนควรตั้งธงว่า
วันหนึ่งจะต้องเป็นเจ้าของให้ได้
ไม่ใช่คิดแต่จะเป็นลูกจ้าง
หวังโอที ฝันถึงโบนัสตลอดไป
เมื่อตั้งธงไว้ว่าจะเป็นนายจ้าง
ถึงจะมององค์กรเป็นโรงเรียน
ที่มีคนออกทุนให้เรียน
ไม่ใช่ทัณฑสถาน
ที่มีแต่ผู้คุมคอยบงการใช้งานนักโทษ
จากนั้นจะเกิดมุมมองตามมาเองว่า
ถ้ารู้วิธีทำให้คนอื่นรวยขึ้นได้
วันหนึ่งก็จะรู้วิธีทำให้ตัวเองรวยขึ้นได้เช่นกัน
นี่เป็นแบบฝึกหัดของจริง ไม่ใช่จิตวิทยา
ไม่ใช่การตั้งตารอว่าวันหนึ่งจะมีนายจ้างใจดี
เอาความร่ำรวยมาหยิบยื่นให้ถึงมือ
มองการทำงานอย่างเป็นธรรม
ก็คือมองเห็นธรรมะในที่ทำงาน
แต่คนเกือบทั้งโลกมองงานอย่างไม่เป็นธรรม
จึงเจอแต่ความอยุติธรรมที่น่าโอดครวญร่ำไป
ไม่ว่ากำลังยืนอยู่ที่ฝั่งนายจ้างหรือลูกจ้าง!
.
ขอบพระคุณแหล่งที่มาบทความดีๆ : dungtrin/just-salary
แต่ข้อสังเกตต่างกัน
เงินเดือนจึงเป็นเส้นแบ่งข้าง
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยไม่มีข้างไหน
ช่วยปรับทัศนคติให้อีกข้างได้
อย่างไรก็ต้องระแวงไว้ก่อนว่า
จะโดน ‘ฝ่ายตรงข้าม’ เอาเปรียบ
นายจ้าง
คือกลุ่มคนจำพวกอยากได้กำไร
นั่นคือไม่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดแล้ว
แต่จะดิ้นรนเพื่อความมั่งคั่งกว่าที่เป็น
ลูกจ้าง
คือกลุ่มคนจำพวกอยากมีเงินใช้
นั่นคือยังต้องดิ้นรนเพื่อให้พออยู่พอกิน
หรือดิ้นรนเพื่อให้พอกับความอยากได้โน่นนี่นั่น
นี่คือรากความรู้สึก
อันเป็นรากของปัญหา
[นายจ้าง]
ส่วนใหญ่ตั้งต้นคิดถึงเงินเข้าเงินออกจึงให้ความสำคัญกับตัวเลข
รายได้ต้องมากที่สุด
คือรีดพลังจากลูกจ้างให้มากที่สุด
ส่วนรายจ่ายต้องน้อยที่สุด
คือให้เงินเดือนลูกจ้างน้อยที่สุด
[ลูกจ้าง]
ส่วนใหญ่ตั้งต้นคิดถึงเงินเดือนเปรียบเทียบกับราคากลางสำหรับตำแหน่งหนึ่งๆ
แล้วความรู้สึกขัดแย้งก็งอกเงยออกมาจากตรงนั้น
เช่น ตำแหน่งเดียวกัน ความสามารถไม่เท่ากัน
ทำไมต้องได้ค่าตอบแทนเท่ากัน?
อยู่ดึกแค่ไหน เหนื่อยสายตัวแทบขาดเท่าใด
อย่างมากก็ได้เป็นโอที
ทำไมไม่ใช่การยกระดับฐานะทางการเงิน?
ถ้าจะให้นายจ้างและลูกจ้างเป็นพวกเดียวกัน
มุมมองและความรู้สึกต้องต่างไป ขุดกันให้ถึงราก
[นายจ้าง]
ต้องมองว่าตัวเองมีสิทธิ์แบ่งความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และความรู้สึกเป็นเจ้าของก็ไม่มีอะไรดีกว่ากำไร
ใครทำกำไรให้มาก คนนั้นควรได้ส่วนแบ่งมาก
นี่เป็นจิตวิทยาขั้นพื้นฐานที่รู้กันทั่วไป
แต่ไม่ได้เห็นกันทุกที่
เพราะนายจ้างส่วนใหญ่เห็นหัวคนตามตำแหน่ง
ไม่สละเวลามองให้เห็น ‘คน’ ตามความสามารถ
คิดแค่ว่า เงินเดือนเท่ากัน
ใครทำงานดีกว่า ก็เอาคนนั้นไว้
หรือหนักกว่านั้นคือใครประจบเก่งกว่า ถูกใจกว่า
ก็ค่อยปูนบำเน็จให้คนนั้น
[ลูกจ้าง]
ต้องมองว่าตัวเองกำลังเรียนรู้วิธีเป็นนายจ้างพูดง่ายๆ ทุกคนควรตั้งธงว่า
วันหนึ่งจะต้องเป็นเจ้าของให้ได้
ไม่ใช่คิดแต่จะเป็นลูกจ้าง
หวังโอที ฝันถึงโบนัสตลอดไป
เมื่อตั้งธงไว้ว่าจะเป็นนายจ้าง
ถึงจะมององค์กรเป็นโรงเรียน
ที่มีคนออกทุนให้เรียน
ไม่ใช่ทัณฑสถาน
ที่มีแต่ผู้คุมคอยบงการใช้งานนักโทษ
จากนั้นจะเกิดมุมมองตามมาเองว่า
ถ้ารู้วิธีทำให้คนอื่นรวยขึ้นได้
วันหนึ่งก็จะรู้วิธีทำให้ตัวเองรวยขึ้นได้เช่นกัน
นี่เป็นแบบฝึกหัดของจริง ไม่ใช่จิตวิทยา
ไม่ใช่การตั้งตารอว่าวันหนึ่งจะมีนายจ้างใจดี
เอาความร่ำรวยมาหยิบยื่นให้ถึงมือ
มองการทำงานอย่างเป็นธรรม
ก็คือมองเห็นธรรมะในที่ทำงาน
แต่คนเกือบทั้งโลกมองงานอย่างไม่เป็นธรรม
จึงเจอแต่ความอยุติธรรมที่น่าโอดครวญร่ำไป
ไม่ว่ากำลังยืนอยู่ที่ฝั่งนายจ้างหรือลูกจ้าง!
.
ขอบพระคุณแหล่งที่มาบทความดีๆ : dungtrin/just-salary