Home »
Uncategories »
ผู้ใช้รถควรรู้ไว้ “ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี” สามารถเบิกเงินได้ 3 แสน โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ผู้ใช้รถควรรู้ไว้ “ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี” สามารถเบิกเงินได้ 3 แสน โดยไม่ต้องขึ้นศาล
วันนี้เราก็จะมีสาระดีๆ มาฝาก!! เพื่อนๆ
รู้หรือไม่ว่าการต่อพรบรถทุกปีนั้นสามารถเบิกให้ได้สูงสุดถึง 300,000
บาทโดยที่ไม่ต้องขึ้นศาลใดๆ ทั้งนั้น โดยข้อมูลจะมีอะไรบ้างนั้นเรามาดูกัน
การเบิกสินไหมทดแทน 6 อย่าง ในกรณีที่มา 7
1.สำเนากรมธรรม์ประกันภัย
2.สำเนาทะเบียนรถ
3.บันทึกประจำวันตำรวจ
4.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5.ใบรับเงินเสร็จ
6.หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ)
ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประเภทที่ 3 สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
บาดเจ็บ เสียชีวิต 50,000 บาท/คน 200,000 บาท/คน 5,000,000 บาท/ครั้ง
ความรับผิดต่อชีวิตร่างกายบุคคลภายนอก (คู่กรณี) 1,000,000 บาท/คน 10,000,000 บาท/ครั้ง
ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (คู่กรณี) 2,500,000 บาท/ครั้ง
จำนวนผู้ได้ความคุ้มครอง (ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ผู้ขับขี่ 1 คน ผู้โดยสาร 4 คน
คุ้มครองการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ 100,000 บาท/คนค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท/คน
การประกันตัวผู้ขับขี่ 200,000 บาท
ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
3. ถ้าหากเข้าข่ายเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และข้อ 2 จะต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับ
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น
เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต
โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน
นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าว เรียกว่า
ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงินดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล
จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน
65,000 บาท
2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้วหโดยบริษัทรับประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัยดเมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว
เป็นดังนี้
กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 80,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 300,000 บาท
ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่
ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้วเท่ากับ 300,000
บาท
เอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลม พ.ร.บ.มีดังนี้
กรณีบาดเจ็บ
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
กรณีเบิกค่าชดเชย หรือผู้ป่วยใน
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
กรณีทุพพลภาพ
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบมรณบัตร
3. สำเนาบัตรประชาชนทายาท สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
รถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำ พ.ร.บ.
1. รถองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการต่างๆ (ที่เรียกว่ารถราชการ) รถยนต์ทหาร แต่ไม่รวมรถของรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ถูกตราขึ้นเพื่อให้ทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถ
ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน
ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
หรือเจ้าของรถ โดยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารักษาพยาบาล
หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี
อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต
ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
เช่น ค่าซ่อมรถแต่อย่างใด
ใครบ้างที่ต้องทำประกันภัย
1. เจ้าของรถ หรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ
2. ผู้เช่าซื้อรถ หรือผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ
3. เจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
การฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตามกฎหมายมีโทษ
ตัวอย่าง บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่น
1. เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2. ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
แหล่งที่มา: thairath, chicvariety