คือเท่าที่อ่านมา ยังงงๆอยู่และไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ
เครื่องปรับอากาศประกอบไปด้วย แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ แผงคอยล์ร้อน และก็แคปทิ้ว สิ่งที่อยากรู้ก็คือ
1. อากาศที่ดูดจากในห้องเข้าไป จะดูดจากด้านหลังหรือด้านหน้าของครื่องปรับอากาศครับ (งงตรงนี้ เพราะเครื่องปรับอากาศที่บริษัทติดเพดานไปเลย มองเห็นแต่ช่องที่ลมเย็นออกมาเท่านั้น แต่ช่องที่เป็นลมดูดเข้าไป มันอยู่จุดไหน เลยงงๆ
2. ลมอุ่นหรือร้อนกว่าจากในห้อง เมื่อดูดเข้ามาแล้ว ก็ต้องผ่านแผงคอยล์เย็น แผงคอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนและความชื้นไว้ (หวังว่าตรงนี้เข้าใจถูกนะครับ) แต่จุดนี้ผมงงว่า พอลมผ่านแผงคอยล์เย็นแล้ว จะกลายเป็นลมเย็นออกมา แล้วพุ่งออกมาทางช่องลมเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ด้านหน้าเลยใช่ไหมครับ
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติจะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
เท่าที่อ่านมา เหมือนกับว่า น้ำยาแอร์ที่ออกมาจากแผงคอยล์เย็นเหมือนจะเป็นแก๊สเลย คอมเพรสเซอร์จึงต้องอัดใหม่
พยายามอ่านแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจวงจรการวิ่งของน้ำยาแอร์อย่างชัดเจน ผมเข้าใจอะไรผิดไปมากน้อยแค่ไหนครับ (แล้วน้ำออกไหลออกมาจากข้างหลัง เป็นผลจากที่ลมอุ่นพัดเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ พอเจอแผงคอยล์เย็น เลยควบแน่น ตรงจุดนี้ แล้วไหลออกมาตามท่อเลยใช่ไหม)
สอบถามผู้รู้หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ
เครื่องปรับอากาศประกอบไปด้วย แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ แผงคอยล์ร้อน และก็แคปทิ้ว สิ่งที่อยากรู้ก็คือ
1. อากาศที่ดูดจากในห้องเข้าไป จะดูดจากด้านหลังหรือด้านหน้าของครื่องปรับอากาศครับ (งงตรงนี้ เพราะเครื่องปรับอากาศที่บริษัทติดเพดานไปเลย มองเห็นแต่ช่องที่ลมเย็นออกมาเท่านั้น แต่ช่องที่เป็นลมดูดเข้าไป มันอยู่จุดไหน เลยงงๆ
2. ลมอุ่นหรือร้อนกว่าจากในห้อง เมื่อดูดเข้ามาแล้ว ก็ต้องผ่านแผงคอยล์เย็น แผงคอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนและความชื้นไว้ (หวังว่าตรงนี้เข้าใจถูกนะครับ) แต่จุดนี้ผมงงว่า พอลมผ่านแผงคอยล์เย็นแล้ว จะกลายเป็นลมเย็นออกมา แล้วพุ่งออกมาทางช่องลมเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ด้านหน้าเลยใช่ไหมครับ
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติจะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
เท่าที่อ่านมา เหมือนกับว่า น้ำยาแอร์ที่ออกมาจากแผงคอยล์เย็นเหมือนจะเป็นแก๊สเลย คอมเพรสเซอร์จึงต้องอัดใหม่
พยายามอ่านแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจวงจรการวิ่งของน้ำยาแอร์อย่างชัดเจน ผมเข้าใจอะไรผิดไปมากน้อยแค่ไหนครับ (แล้วน้ำออกไหลออกมาจากข้างหลัง เป็นผลจากที่ลมอุ่นพัดเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ พอเจอแผงคอยล์เย็น เลยควบแน่น ตรงจุดนี้ แล้วไหลออกมาตามท่อเลยใช่ไหม)
สอบถามผู้รู้หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ วันอังคาร เวลา 11:58 น.
7 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ข้อ 1 ข้อ 2 คำว่าด้านหน้า ด้านบน ด้านข้าง อธิบายยาก
เพราะอาจสับสนได้ เอาแอร์ไปแขวนลมออกด้านหน้า แอร์ตัวเดียวกัน แปะติดตั้งให้ลมพุ่งขึ้น ก็กลายด้านบนได้
เอาเป็นว่าวิธีสังเกต ลมเย็นออก คือด้านที่มีครีบบังคับทิศทางลม บางรุ่นมีมอเตอร์บังคับครีบให้หมุนได้ด้วย เอามือไปอังใกล้ๆ รู้สึกง่ายกว่า
ลมเข้าก็จะกลายเป็นอีกด้าน ที่มีช่องเป็นช่องและมีแผ่นกรองอากาศ (filter) ดักฝุ่น
ข้ออื่นๆ
ดูรูปนี้ประกอบครับ
เป็นหลักการของเครื่องทำความเย็นทุกชนิด (ที่น่าจะเรียกว่าเครื่องดูดความร้อน ถ้าว่าด้วยหลักการ)
ด้านร้อน คอมเพรสเซอร์อัดน้ำยา ออกไประบายความร้อนออก
ด้านเย็น คอมเพรสเซอร์ดูดน้ำยา ทำให้น้ำยาดูดความร้อนจากห้อง ก็คือเย็นลง
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
ถูดต้อง น้ำยาที่เข้าคอมเพรสเซอร์เป็นไอแล้วเท่านั้น ไม่งั้นลูกสูบ compressor พัง
เมื่อน้ำยาถูกดูดผ่านช่องแคบๆ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความดันต่ำลง อุณหภูมิจะลดลง
เกิดการระเหย ก็จะทำให้อุณหภูมิรอบๆ มันต่ำ ดูดความร้อนรอบๆ ตัวมัน ซึ่งก็คือทำความเย็น
จุดเดือดของน้ำยา ต่างจากน้ำ มันเดือดก็จริง แต่เป็นจุดที่อุณหภูมิที่มนุษย์เรียกว่า "เย็น" ทำให้อุณหภูมิรอบคอล์ยเย็นต่ำไปด้วย
เดือดเสร็จ ก็กลายเป็นไอ นั่นคือสถานะเป็นแก้ส
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
ดุรูปข้างล่างนี้ คล้ายกับข้างบน แต่มีสถานะแต่ละช่วงชัดเจน ว่าตรงไหนเป็นของเหลว ตรงไหนเป็นแก้ส
คำตอบคือ หลังจากผ่านการระบายความร้อน คิดถึงการทำน้ำกลั่น หรือไอน้ำจากฝาหม้อหุงข้าว ที่เมื่อเย็นลง กลายเป็นหยดน้ำ ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าเกิดการควบแน่น (Condense) ความหนาแน่นต่ำลง จากไอน้ำ เป็นของเหลว
อันนี้เป็นที่มา เจ้าตัวแผงคอล์ยร้อน เลยชื่อเป็นทางการว่า Condenser หรือทั้งชุด เรียก Condensing Unit
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
ความดันต่ำ เพราะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดไงครับ
โดนบีบอัด ก็เป็นด้านตรงข้าม ที่น้ำยาผ่านมาไม่ได้ ไปออกันอยู่ปากท่อ/หรือปากวาล์วต้นทาง
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติจะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
อย่างที่จขกท. เข้าใจถูกต้อง แต่จะยังไม่กลายเป้นไอทันทีหลังผ่าน cap tube ดูรูปในข้อ 4 อีกที
ตอนแรก ก็ยังเป็นของเหลว แต่เมื่อ "เดือด" ถึงกลายเป็นไอ ถึงดึงความร้อน = ทำความเย็นได้
คล้ายในทางตรงข้ามคอลฺยร้อน เจ้าตัวแผงคอล์ยเย็น ถึงเรียกว่า "Evaporator" ชุด "Evaporating Unit"
มาจากคำว่า vapor แปลว่า ไอน้ำ
เพราะอาจสับสนได้ เอาแอร์ไปแขวนลมออกด้านหน้า แอร์ตัวเดียวกัน แปะติดตั้งให้ลมพุ่งขึ้น ก็กลายด้านบนได้
เอาเป็นว่าวิธีสังเกต ลมเย็นออก คือด้านที่มีครีบบังคับทิศทางลม บางรุ่นมีมอเตอร์บังคับครีบให้หมุนได้ด้วย เอามือไปอังใกล้ๆ รู้สึกง่ายกว่า
ลมเข้าก็จะกลายเป็นอีกด้าน ที่มีช่องเป็นช่องและมีแผ่นกรองอากาศ (filter) ดักฝุ่น
ข้ออื่นๆ
ดูรูปนี้ประกอบครับ
เป็นหลักการของเครื่องทำความเย็นทุกชนิด (ที่น่าจะเรียกว่าเครื่องดูดความร้อน ถ้าว่าด้วยหลักการ)
ด้านร้อน คอมเพรสเซอร์อัดน้ำยา ออกไประบายความร้อนออก
ด้านเย็น คอมเพรสเซอร์ดูดน้ำยา ทำให้น้ำยาดูดความร้อนจากห้อง ก็คือเย็นลง
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
ถูดต้อง น้ำยาที่เข้าคอมเพรสเซอร์เป็นไอแล้วเท่านั้น ไม่งั้นลูกสูบ compressor พัง
เมื่อน้ำยาถูกดูดผ่านช่องแคบๆ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความดันต่ำลง อุณหภูมิจะลดลง
เกิดการระเหย ก็จะทำให้อุณหภูมิรอบๆ มันต่ำ ดูดความร้อนรอบๆ ตัวมัน ซึ่งก็คือทำความเย็น
จุดเดือดของน้ำยา ต่างจากน้ำ มันเดือดก็จริง แต่เป็นจุดที่อุณหภูมิที่มนุษย์เรียกว่า "เย็น" ทำให้อุณหภูมิรอบคอล์ยเย็นต่ำไปด้วย
เดือดเสร็จ ก็กลายเป็นไอ นั่นคือสถานะเป็นแก้ส
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
ดุรูปข้างล่างนี้ คล้ายกับข้างบน แต่มีสถานะแต่ละช่วงชัดเจน ว่าตรงไหนเป็นของเหลว ตรงไหนเป็นแก้ส
คำตอบคือ หลังจากผ่านการระบายความร้อน คิดถึงการทำน้ำกลั่น หรือไอน้ำจากฝาหม้อหุงข้าว ที่เมื่อเย็นลง กลายเป็นหยดน้ำ ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าเกิดการควบแน่น (Condense) ความหนาแน่นต่ำลง จากไอน้ำ เป็นของเหลว
อันนี้เป็นที่มา เจ้าตัวแผงคอล์ยร้อน เลยชื่อเป็นทางการว่า Condenser หรือทั้งชุด เรียก Condensing Unit
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
ความดันต่ำ เพราะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดไงครับ
โดนบีบอัด ก็เป็นด้านตรงข้าม ที่น้ำยาผ่านมาไม่ได้ ไปออกันอยู่ปากท่อ/หรือปากวาล์วต้นทาง
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติจะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
อย่างที่จขกท. เข้าใจถูกต้อง แต่จะยังไม่กลายเป้นไอทันทีหลังผ่าน cap tube ดูรูปในข้อ 4 อีกที
ตอนแรก ก็ยังเป็นของเหลว แต่เมื่อ "เดือด" ถึงกลายเป็นไอ ถึงดึงความร้อน = ทำความเย็นได้
คล้ายในทางตรงข้ามคอลฺยร้อน เจ้าตัวแผงคอล์ยเย็น ถึงเรียกว่า "Evaporator" ชุด "Evaporating Unit"
มาจากคำว่า vapor แปลว่า ไอน้ำ
แก้ไขข้อความเมื่อ
วันอังคาร เวลา 14:34 น.
ความคิดเห็นที่ 3
1. อากาศที่ดูดจากในห้องเข้าไป จะดูดจากด้านหลังหรือด้านหน้าของครื่องปรับอากาศครับ (งงตรงนี้
เพราะเครื่องปรับอากาศที่บริษัทติดเพดานไปเลย มองเห็นแต่ช่องที่ลมเย็นออกมาเท่านั้น แต่ช่องที่เป็นลมดูดเข้าไป มันอยู่จุดไหน เลยงงๆ
ลมมันดูดเข้าจากช่องที่มีขีด ๆๆๆ จำนวนมากไงครับ รวมถึงช่องด้านบนของแอร์ด้วย
2. ลมอุ่นหรือร้อนกว่าจากในห้อง เมื่อดูดเข้ามาแล้ว ก็ต้องผ่านแผงคอยล์เย็น แผงคอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนและความชื้นไว้
(หวังว่าตรงนี้เข้าใจถูกนะครับ) แต่จุดนี้ผมงงว่า พอลมผ่านแผงคอยล์เย็นแล้ว จะกลายเป็นลมเย็นออกมา
แล้วพุ่งออกมาทางช่องลมเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ด้านหน้าเลยใช่ไหมครับ
ใช่ครับ พุ่งออกทางด้านหน้าส่วนล่าง โดยมันจะดูดลมในห้องผ่านทางช่องทางตามข้อ 1. เข้าไปผ่านแผงคอยร์เย็น
และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchange) และส่งลมเย็นออกทางด้านล่าง (หน้าล่าง)
ส่วนความชื้นในอากาศก็จะ condense อยู่กับคอยร์เย็น กลั่นตัวเป็นเม็ดน้ำไหลออกไปทางท่อออกนอกห้อง
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ
เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า
ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
ใช่แล้วครับ น้ำยามันเป็นแก้สตั้งแต่ออกจากตู้ Compressor ข้างนอกห้องแล้ว
โดยมันเริ่มเป็น แก้ส ตั้งแต่ออกจาก Cap tube (Capillary tube) ข้างในตู้ COM
และ cap tube ก็จะต่อกับช่องทางออก (Service valve) ที่เป็นขั้วทองเหลือง ซึ่งที่จุดนี้จะ เย็น มากแล้ว
และจะต่อไปยังคอยร์เย็นในห้องเรา และผ่านการแลกเปลี่ยนความร้อน
จนแก้สเย็นน้อยลง กลับออกไปเข้าทางช่อง service valve ที่เขียนว่า Suction
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน
คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน
ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า
ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
จากข้อบน .... เมื่อ แก้ส ผ่านจากคอยร์เย็นในห้องเข้ามาทาง Suction line แล้ว มันก็จะถูก COM อัด เข้าสู่
คอยร์ร้อน และด้วยการถูกอัดนี้เอง ทำให้ แก้ส เหล่านั้นเปลี่ยนเป็น น้ำ (น้ำยา) และพร้อมกับร้อนขึ้นด้วย
ตาม gas law ครับ การเปลี่ยนเป็นของเหลวจะเกิดขึ้นภายในท่อคอยร์ร้อน และก็ไปเจอกับ Cap tube
และ Captube จะทำการ ฉีด น้ำยาของเหลวนี้ออกไปจากรูแคบ ๆ ของมัน .... ซึ่งที่จุดนี้เอง ที่จะเกิดความเย็นมาก
ในช่วงที่ถูกฉีดออกไปครับ (วนเข้าวัฏจักรเหมือนข้อ 3.)
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้
ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
ที่อุณหภูมิต่ำลงมาก เป็นเพราะ น้ำยา จะดึงความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ครับ
ส่วนที่ความดันต่ำลง ก็เป็นเพราะว่า Cap tube ฉีดน้ำยาออกไปจากปริมาตรเล็ก สู่ ปริมาตรที่ใหญ่กว่า
โดยการถูกดูดจาก COM ความดันจึงลดลงครับ การบีบอัดที่ จขกท.เข้าใจ เกิดขึ้นที่ท่อคอยร์ร้อนเท่านั้น
แต่หลังจาก cap tube แล้วความดันจะตกลงไป และจะเย็นจัด
การอธิบายว่า เหตุใดความดันจึงตกลงไป ก็เอาตามที่พี่ Ii'8N อธิบายข้างบนได้เลย ว่า
COM มันดูดไปตั้งแต่ปลายท่อคอยร์เย็นแล้ว ดังนั้น ความดันในท่อคอยร์เย็นทั้งหมดจึงต่ำมาก
แก้สที่ถูกฉีดออกจาก cap tube จึงเย็นได้
(อ้อ .... น้ำยาที่อัดในคอยร์ร้อน จะถูกระบายความร้อนด้วยพัดลมครับ
ทำให้น้ำยาของเหลวที่จะเข้า cap tube มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนนัก)
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว
จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติ
จะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
ใช่แล้ว น้ำยาของเหลวที่ถูกฉีดออกมาจาก cap tube ในท่อที่ใหญ่อีกครั้ง จะเป็นแก้สแล้วครับ
โดยจะเป็นแก้สที่เย็น ทำให้คอยร์เย็น เย็นได้มากถึง 5 องศา C จากแก้สที่เย็นในท่อครับ
น้ำยาเย็นได้อย่างไร ก็ตามที่อธิบายไปแล้ว คือ เมื่อมันถูกฉีดจาก cap tube แล้ว ในระบบหลังจาก cap tube นั้น
ความดันจะต่ำมากเพราะถุก COM ดูดตลอดเวลา และเมื่อระบบในท่อทางส่วนนี้มีความดันต่ำ ทำให้น้ำยาที่มีคุณสมบัติ
จุดเดือดต่ำอยู่แล้ว (ประมาณ - 20 องศา C) สามารถระเหยกลายเป็นแก้สได้ที่บริเวณหลัง cap tube เป็นต้นไปจนตลอดแนวท่อคอยร์เย็น
การระเหยนี้ คือในทางฟิสิกส์คือการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก้ส ซึ่งจะดึงความร้อนรอบ ๆ ไปเป็นความร้อนแฝง
ทำให้เกิดความเย็นตั้งแต่หลัง cap tube เป็นตันไปตลอดแนวคอยร์เย็นครับ
สรุปการอธิบายด้วยภาพครับ
เพราะเครื่องปรับอากาศที่บริษัทติดเพดานไปเลย มองเห็นแต่ช่องที่ลมเย็นออกมาเท่านั้น แต่ช่องที่เป็นลมดูดเข้าไป มันอยู่จุดไหน เลยงงๆ
ลมมันดูดเข้าจากช่องที่มีขีด ๆๆๆ จำนวนมากไงครับ รวมถึงช่องด้านบนของแอร์ด้วย
2. ลมอุ่นหรือร้อนกว่าจากในห้อง เมื่อดูดเข้ามาแล้ว ก็ต้องผ่านแผงคอยล์เย็น แผงคอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนและความชื้นไว้
(หวังว่าตรงนี้เข้าใจถูกนะครับ) แต่จุดนี้ผมงงว่า พอลมผ่านแผงคอยล์เย็นแล้ว จะกลายเป็นลมเย็นออกมา
แล้วพุ่งออกมาทางช่องลมเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ด้านหน้าเลยใช่ไหมครับ
ใช่ครับ พุ่งออกทางด้านหน้าส่วนล่าง โดยมันจะดูดลมในห้องผ่านทางช่องทางตามข้อ 1. เข้าไปผ่านแผงคอยร์เย็น
และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchange) และส่งลมเย็นออกทางด้านล่าง (หน้าล่าง)
ส่วนความชื้นในอากาศก็จะ condense อยู่กับคอยร์เย็น กลั่นตัวเป็นเม็ดน้ำไหลออกไปทางท่อออกนอกห้อง
3. ประเด็นนี้ก็สงสัยมาก คือคำว่า "น้ำยาแอร์" ใช้คำว่า"น้ำยา"แสดงว่าเป็นของเหลว แต่เท่าที่อ่านจากหลักการ
เหมือนกับว่ามีการอัดจากคอมเพรสเซอร์ด้วย เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแผงคอยล์เย็นมาที่คอมเพรสเซอร์ แสดงว่า
ตอนน้ำยาแอร์วิ่งจากแผงคอยล์เย็นออกมาแล้ว มันกลายเป็นแก๊สแล้วเหรอครับ
ใช่แล้วครับ น้ำยามันเป็นแก้สตั้งแต่ออกจากตู้ Compressor ข้างนอกห้องแล้ว
โดยมันเริ่มเป็น แก้ส ตั้งแต่ออกจาก Cap tube (Capillary tube) ข้างในตู้ COM
และ cap tube ก็จะต่อกับช่องทางออก (Service valve) ที่เป็นขั้วทองเหลือง ซึ่งที่จุดนี้จะ เย็น มากแล้ว
และจะต่อไปยังคอยร์เย็นในห้องเรา และผ่านการแลกเปลี่ยนความร้อน
จนแก้สเย็นน้อยลง กลับออกไปเข้าทางช่อง service valve ที่เขียนว่า Suction
4. พอน้ำยาแอร์(ไม่แน่ใจว่าเป็นของเหลวหรือแก๊สในช่วงนี้)วิ่งจากคอมเพรสเซอร์มา ก็จะมาผ่านแผงคอยล์ร้อน
คือตรงนี้พอเข้าใจว่า น้ำยาแอร์โดนอัดมา จากคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น พอผ่านแผงคอยล์ร้อน
ตรงนี้เป็นการลดอุณหภูมิ ไล่ความร้อนออกไปโดยมอเตอร์ใบพัด แต่ความดันยังคงที่ ตรงนี้พอเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่า
ช่วงนี้น้ำยาแอร์ยังเป็นของเหลวหรือเป็นแก๊ส
จากข้อบน .... เมื่อ แก้ส ผ่านจากคอยร์เย็นในห้องเข้ามาทาง Suction line แล้ว มันก็จะถูก COM อัด เข้าสู่
คอยร์ร้อน และด้วยการถูกอัดนี้เอง ทำให้ แก้ส เหล่านั้นเปลี่ยนเป็น น้ำ (น้ำยา) และพร้อมกับร้อนขึ้นด้วย
ตาม gas law ครับ การเปลี่ยนเป็นของเหลวจะเกิดขึ้นภายในท่อคอยร์ร้อน และก็ไปเจอกับ Cap tube
และ Captube จะทำการ ฉีด น้ำยาของเหลวนี้ออกไปจากรูแคบ ๆ ของมัน .... ซึ่งที่จุดนี้เอง ที่จะเกิดความเย็นมาก
ในช่วงที่ถูกฉีดออกไปครับ (วนเข้าวัฏจักรเหมือนข้อ 3.)
5. พอมาถึงแคปทิ้ว ดูจากรูปมันเป็นท่อเล็ก ทำไมช่วงนี้เขาถึงบอกว่า ความดันและอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำไมพอผ่านตัวนี้
ถึงทำให้ความดันและอุณหภูมิต่ำมากครับ (ในความรู้สึกผม พื้นที่เล็กเข้าไปอีก มันน่าจะโดนบีบโดนอัดนะ แทนที่จะเพิ่ม ความดันกลับลด)
ที่อุณหภูมิต่ำลงมาก เป็นเพราะ น้ำยา จะดึงความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ครับ
ส่วนที่ความดันต่ำลง ก็เป็นเพราะว่า Cap tube ฉีดน้ำยาออกไปจากปริมาตรเล็ก สู่ ปริมาตรที่ใหญ่กว่า
โดยการถูกดูดจาก COM ความดันจึงลดลงครับ การบีบอัดที่ จขกท.เข้าใจ เกิดขึ้นที่ท่อคอยร์ร้อนเท่านั้น
แต่หลังจาก cap tube แล้วความดันจะตกลงไป และจะเย็นจัด
การอธิบายว่า เหตุใดความดันจึงตกลงไป ก็เอาตามที่พี่ Ii'8N อธิบายข้างบนได้เลย ว่า
COM มันดูดไปตั้งแต่ปลายท่อคอยร์เย็นแล้ว ดังนั้น ความดันในท่อคอยร์เย็นทั้งหมดจึงต่ำมาก
แก้สที่ถูกฉีดออกจาก cap tube จึงเย็นได้
(อ้อ .... น้ำยาที่อัดในคอยร์ร้อน จะถูกระบายความร้อนด้วยพัดลมครับ
ทำให้น้ำยาของเหลวที่จะเข้า cap tube มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนนัก)
6. เมื่อน้ำยาแอร์ผ่านแคปทิ้วมาแล้ว ก็จะมาที่แผงคอยล์เย็น ซึ่งท่อจะกลับมาใหญ่อีกครั้ง น้ำยาแอร์ช่วงที่ออกมาจากแคปทิ้ว
จะกลายเป็นแก๊สอีกรอบหรือเปล่า ตอนอยู่ที่แผงคอยล์เย็น (คือไม่รู้ว่า น้ำยาแอร์เมื่อเจออุณหภูมิที่อุ่นขึ้นหรืออุณหภูมิปกติ
จะระเหยเหมือนแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำไหม ทำนองดึง"ความร้อนแฝง"จากรอบข้างมา จนความร้อนลดลง ความเย็นเลยเพิ่มอัตโนมัติน่ะครับ)
ใช่แล้ว น้ำยาของเหลวที่ถูกฉีดออกมาจาก cap tube ในท่อที่ใหญ่อีกครั้ง จะเป็นแก้สแล้วครับ
โดยจะเป็นแก้สที่เย็น ทำให้คอยร์เย็น เย็นได้มากถึง 5 องศา C จากแก้สที่เย็นในท่อครับ
น้ำยาเย็นได้อย่างไร ก็ตามที่อธิบายไปแล้ว คือ เมื่อมันถูกฉีดจาก cap tube แล้ว ในระบบหลังจาก cap tube นั้น
ความดันจะต่ำมากเพราะถุก COM ดูดตลอดเวลา และเมื่อระบบในท่อทางส่วนนี้มีความดันต่ำ ทำให้น้ำยาที่มีคุณสมบัติ
จุดเดือดต่ำอยู่แล้ว (ประมาณ - 20 องศา C) สามารถระเหยกลายเป็นแก้สได้ที่บริเวณหลัง cap tube เป็นต้นไปจนตลอดแนวท่อคอยร์เย็น
การระเหยนี้ คือในทางฟิสิกส์คือการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก้ส ซึ่งจะดึงความร้อนรอบ ๆ ไปเป็นความร้อนแฝง
ทำให้เกิดความเย็นตั้งแต่หลัง cap tube เป็นตันไปตลอดแนวคอยร์เย็นครับ
สรุปการอธิบายด้วยภาพครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
วันอังคาร เวลา 15:20 น.
ความคิดเห็นที่ 4
พยายามตั้งใจอ่านทุกความคิดเห็นนะครับ เลยยังไม่ได้ตอบใคร ต้องขออภัย เลยทำให้ตอบช้า
ขอบคุณทั้งสามความคิดเห็นด้วยครับ ผมตั้งใจอ่านและใช้เวลาทำความเข้าใจสักพัก อ้อ แต่ต้องขอบคุณ Ii'8N กับคุณ Partita เป็นพิเศษที่ช่วยผนึกกำลังจนผมประจักษ์ ต้องการคำตอบแบบนี้แหละครับ แต่ละคนจะมีมุมเขียนของตนเองจนทำให้คนงงๆเข้าใจได้ เช่น "ให้นึกถึงไอน้ำที่พุ่งออกมาจากหม้อหุงข้าว พอเย็นตัวก็ควบแน่นเป็นหยดน้ำ" ของคุณ Ii'8N หรือ"Cap Tube ฉีดจากปริมาตรเล็กไปสู่ปริมาตรที่ใหญ่กว่าโดยการดูดจากคอมเพรสเซอร์ ความดันเลยลดลง"ของคุณ Partita และคุณ Ii'8N อันนี้ก็อธิบายจนเข้าใจครับ
ขอถามอีกนิดนึงนะครับ
1. เรื่องความดันที่ตกลงไป ตรงนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า คอมดูดไปก็คือ ดูดแก๊สไป ก็เท่ากับพาความดันไปด้วย ทีนี้ดูดตลอดเวลา ความดันก็ไม่มีทางเพิ่มได้นั่นเอง
2. สำหรับ condensing unit ตรงคอมเพรสเซอร์ พออัดแล้ว ทีแรกผมเข้าใจว่า มันจะกลายเป็นของเหลวทันที (คือไปติดภาพที่ว่า สถานที่ปิด ถ้าเราเพิ่มความดันมากๆเข้า แก๊สที่มีจุดเดือดต่ำก็กลายเป็นของเหลวได้ เหมือนกับเราเพิ่มความเย็นให้กับแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำ แก๊สก็กลายเป็นของเหลวได้เช่นกัน) ก็เลยเข้าใจว่า พอคอมเพรสเซอร์อัดปุ๊บ ก็เป็นของเหลวปั๊บ แต่ปรากฏเพิ่งรู้ว่า จะยังไม่เป็นของเหลว แสดงว่า มีการอัด แต่ไม่แรงมากพอแหงๆ คือเอาพอให้ร้อนขึ้น แล้วพอถึงแผงคอยล์ร้อน ก็ใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เย็นตัวลง จนเกิดการควบแน่นเป็นของเหลวเอง
3. อันนี้มองไม่เห็นนะครับ แต่ถ้าอย่างนั้น แถวๆแผงคอยล์เย็นไม่เปียกหรือกลายเป็นน้ำแข็งรอบๆเลยเหรอครับ ทำไมน้ำยังไหลออกมาได้ พอดีมองไม่เห็นแถวนั้นเพราะอยู่ในเครื่อง ไม่รู้มันมีตะแกรงรองรับน้ำที่ควบแน่นใต้แผงคอยล์เย็นหรือท่ออะไรยังไง แต่สงสัยว่า แผงคอยล์เย็นไม่เกาะเป็นน้ำแข็งด้วยเหรอ (เรื่องควบแน่นตรงนี้ คงเทียบได้กับ"จุดน้ำค้าง"ของความชื้นสัมพันธ์ที่ควบแน่นเป็นน้ำ กลายเป็นหมอกของอากาศในหน้าหนาวนะ คงจะเป็นคอนเซ็ปเดียวกัน)
4. หลักการทำงานของตู้เย็นก็ไม่ต่างกันใช่ไหมครับ มีทั้งแผงคอยล์ร้อน แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ และ Cap Tube แล้วก็วนวัฏจักรเหมือนกัน
ขอบคุณทั้งสามความคิดเห็นด้วยครับ ผมตั้งใจอ่านและใช้เวลาทำความเข้าใจสักพัก อ้อ แต่ต้องขอบคุณ Ii'8N กับคุณ Partita เป็นพิเศษที่ช่วยผนึกกำลังจนผมประจักษ์ ต้องการคำตอบแบบนี้แหละครับ แต่ละคนจะมีมุมเขียนของตนเองจนทำให้คนงงๆเข้าใจได้ เช่น "ให้นึกถึงไอน้ำที่พุ่งออกมาจากหม้อหุงข้าว พอเย็นตัวก็ควบแน่นเป็นหยดน้ำ" ของคุณ Ii'8N หรือ"Cap Tube ฉีดจากปริมาตรเล็กไปสู่ปริมาตรที่ใหญ่กว่าโดยการดูดจากคอมเพรสเซอร์ ความดันเลยลดลง"ของคุณ Partita และคุณ Ii'8N อันนี้ก็อธิบายจนเข้าใจครับ
ขอถามอีกนิดนึงนะครับ
1. เรื่องความดันที่ตกลงไป ตรงนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า คอมดูดไปก็คือ ดูดแก๊สไป ก็เท่ากับพาความดันไปด้วย ทีนี้ดูดตลอดเวลา ความดันก็ไม่มีทางเพิ่มได้นั่นเอง
2. สำหรับ condensing unit ตรงคอมเพรสเซอร์ พออัดแล้ว ทีแรกผมเข้าใจว่า มันจะกลายเป็นของเหลวทันที (คือไปติดภาพที่ว่า สถานที่ปิด ถ้าเราเพิ่มความดันมากๆเข้า แก๊สที่มีจุดเดือดต่ำก็กลายเป็นของเหลวได้ เหมือนกับเราเพิ่มความเย็นให้กับแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำ แก๊สก็กลายเป็นของเหลวได้เช่นกัน) ก็เลยเข้าใจว่า พอคอมเพรสเซอร์อัดปุ๊บ ก็เป็นของเหลวปั๊บ แต่ปรากฏเพิ่งรู้ว่า จะยังไม่เป็นของเหลว แสดงว่า มีการอัด แต่ไม่แรงมากพอแหงๆ คือเอาพอให้ร้อนขึ้น แล้วพอถึงแผงคอยล์ร้อน ก็ใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เย็นตัวลง จนเกิดการควบแน่นเป็นของเหลวเอง
3. อันนี้มองไม่เห็นนะครับ แต่ถ้าอย่างนั้น แถวๆแผงคอยล์เย็นไม่เปียกหรือกลายเป็นน้ำแข็งรอบๆเลยเหรอครับ ทำไมน้ำยังไหลออกมาได้ พอดีมองไม่เห็นแถวนั้นเพราะอยู่ในเครื่อง ไม่รู้มันมีตะแกรงรองรับน้ำที่ควบแน่นใต้แผงคอยล์เย็นหรือท่ออะไรยังไง แต่สงสัยว่า แผงคอยล์เย็นไม่เกาะเป็นน้ำแข็งด้วยเหรอ (เรื่องควบแน่นตรงนี้ คงเทียบได้กับ"จุดน้ำค้าง"ของความชื้นสัมพันธ์ที่ควบแน่นเป็นน้ำ กลายเป็นหมอกของอากาศในหน้าหนาวนะ คงจะเป็นคอนเซ็ปเดียวกัน)
4. หลักการทำงานของตู้เย็นก็ไม่ต่างกันใช่ไหมครับ มีทั้งแผงคอยล์ร้อน แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ และ Cap Tube แล้วก็วนวัฏจักรเหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ 5
"เพราะเครื่องปรับอากาศที่บริษัทติดเพดานไปเลย
มองเห็นแต่ช่องที่ลมเย็นออกมาเท่านั้น แต่ช่องที่เป็นลมดูดเข้าไป
มันอยู่จุดไหน เลยงงๆ"
พวกแอร์ชิลเลอร์ ที่มักใช้ตามภาคอุตสาหกรรมหรือคลัสเตอร์ เช่น โรงแรม คอนโดบางที่ .. มันจะใช้ช่องดูดอากาศกลับแยกออกมาที่เรียกว่า air return ครับ จึงเห็นเป็นช่องเป่าแอร์ออกทางเดียว
แต่แอร์ฝังเพดานบางตัวขนาดใหญ่ก็เป็นยูนิตปกติเหมือนกัน
พวกแอร์ชิลเลอร์ ที่มักใช้ตามภาคอุตสาหกรรมหรือคลัสเตอร์ เช่น โรงแรม คอนโดบางที่ .. มันจะใช้ช่องดูดอากาศกลับแยกออกมาที่เรียกว่า air return ครับ จึงเห็นเป็นช่องเป่าแอร์ออกทางเดียว
แต่แอร์ฝังเพดานบางตัวขนาดใหญ่ก็เป็นยูนิตปกติเหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ 6
1. เรื่องความดันที่ตกลงไป ตรงนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า คอมดูดไปก็คือ ดูดแก๊สไป
ก็เท่ากับพาความดันไปด้วย ทีนี้ดูดตลอดเวลา ความดันก็ไม่มีทางเพิ่มได้นั่นเอง
ผมวาดภาพง่าย ๆ มาให้ดูอีกทีครับ เมื่อคอม ดูด แก้สที่ปลายทางของคอยร์เย็น
ทำให้ ตลอดแนว ของระบบคอยร์เย็น มีความดันต่ำ (ตามภาพ) หาก จขกท.ใช้คำว่า
พาความดันไปด้วย ก็ดูจะแปลก ๆ หน่อย ใช้คำว่าความดันลดลงจากการถูกดูด จะดีกว่าครับ
ส่วนความดันจะเพิ่มได้ ก็ต่อเมื่อมัด ถูกอัด ครับ
2. สำหรับ condensing unit ตรงคอมเพรสเซอร์ พออัดแล้ว ทีแรกผมเข้าใจว่า มันจะกลายเป็นของเหลวทันที
(คือไปติดภาพที่ว่า สถานที่ปิด ถ้าเราเพิ่มความดันมากๆเข้า แก๊สที่มีจุดเดือดต่ำก็กลายเป็นของเหลวได้
เหมือนกับเราเพิ่มความเย็นให้กับแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำ แก๊สก็กลายเป็นของเหลวได้เช่นกัน) ก็เลยเข้าใจว่า
พอคอมเพรสเซอร์อัดปุ๊บ ก็เป็นของเหลวปั๊บ แต่ปรากฏเพิ่งรู้ว่า จะยังไม่เป็นของเหลว แสดงว่า มีการอัด
แต่ไม่แรงมากพอแหงๆ คือเอาพอให้ร้อนขึ้น แล้วพอถึงแผงคอยล์ร้อน ก็ใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เย็นตัวลง จนเกิดการควบแน่นเป็นของเหลวเอง
คือการกลายเป็นของเหลวจากการถูกอัด หากเข้าไปดูในท่อ (สมมุติ) แก้สมันจะเริ่ม condense ที่ผนังท่อครับ
และจะเริ่มก่อตัวเป็นเม็ดน้ำ ของน้ำยา สะสมภายในท่อจนเต็มท่อ กลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง
และ อุณหภูมิสูง อยู่มีท่อคอยร์ร้อน และไป อั้น อยู่ที่ cap tube .... และ cap tube ก็ฉีดออกไป
โดยมี แรงดูด รออยู่ในอีกระบบนึง (คอยร์เย็น)
3. อันนี้มองไม่เห็นนะครับ แต่ถ้าอย่างนั้น แถวๆแผงคอยล์เย็นไม่เปียกหรือกลายเป็นน้ำแข็งรอบๆเลยเหรอครับ
ทำไมน้ำยังไหลออกมาได้ พอดีมองไม่เห็นแถวนั้นเพราะอยู่ในเครื่อง ไม่รู้มันมีตะแกรงรองรับน้ำที่ควบแน่นใต้แผงคอยล์เย็น
หรือท่ออะไรยังไง แต่สงสัยว่า แผงคอยล์เย็นไม่เกาะเป็นน้ำแข็งด้วยเหรอ (เรื่องควบแน่นตรงนี้ คงเทียบได้กับ"จุดน้ำค้าง"
ของความชื้นสัมพันธ์ที่ควบแน่นเป็นน้ำ กลายเป็นหมอกของอากาศในหน้าหนาวนะ คงจะเป็นคอนเซ็ปเดียวกัน)
มีครับ แอร์จะออกแบบให้มีถาดรองน้ำ condense มา และจะต่อท่อออกไปทิ้งนอกห้อง ส่วนเรื่องน้ำแข็ง ไม่มีครับ
เพราะคอยร์เย็นมันเย็นแค่ 5 องศา (ในสภาวะปกติ)
4. หลักการทำงานของตู้เย็นก็ไม่ต่างกันใช่ไหมครับ มีทั้งแผงคอยล์ร้อน
แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ และ Cap Tube แล้วก็วนวัฏจักรเหมือนกัน
ใช่แล้ว เหมือนกันเลยครับ
ก็เท่ากับพาความดันไปด้วย ทีนี้ดูดตลอดเวลา ความดันก็ไม่มีทางเพิ่มได้นั่นเอง
ผมวาดภาพง่าย ๆ มาให้ดูอีกทีครับ เมื่อคอม ดูด แก้สที่ปลายทางของคอยร์เย็น
ทำให้ ตลอดแนว ของระบบคอยร์เย็น มีความดันต่ำ (ตามภาพ) หาก จขกท.ใช้คำว่า
พาความดันไปด้วย ก็ดูจะแปลก ๆ หน่อย ใช้คำว่าความดันลดลงจากการถูกดูด จะดีกว่าครับ
ส่วนความดันจะเพิ่มได้ ก็ต่อเมื่อมัด ถูกอัด ครับ
2. สำหรับ condensing unit ตรงคอมเพรสเซอร์ พออัดแล้ว ทีแรกผมเข้าใจว่า มันจะกลายเป็นของเหลวทันที
(คือไปติดภาพที่ว่า สถานที่ปิด ถ้าเราเพิ่มความดันมากๆเข้า แก๊สที่มีจุดเดือดต่ำก็กลายเป็นของเหลวได้
เหมือนกับเราเพิ่มความเย็นให้กับแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำ แก๊สก็กลายเป็นของเหลวได้เช่นกัน) ก็เลยเข้าใจว่า
พอคอมเพรสเซอร์อัดปุ๊บ ก็เป็นของเหลวปั๊บ แต่ปรากฏเพิ่งรู้ว่า จะยังไม่เป็นของเหลว แสดงว่า มีการอัด
แต่ไม่แรงมากพอแหงๆ คือเอาพอให้ร้อนขึ้น แล้วพอถึงแผงคอยล์ร้อน ก็ใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เย็นตัวลง จนเกิดการควบแน่นเป็นของเหลวเอง
คือการกลายเป็นของเหลวจากการถูกอัด หากเข้าไปดูในท่อ (สมมุติ) แก้สมันจะเริ่ม condense ที่ผนังท่อครับ
และจะเริ่มก่อตัวเป็นเม็ดน้ำ ของน้ำยา สะสมภายในท่อจนเต็มท่อ กลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง
และ อุณหภูมิสูง อยู่มีท่อคอยร์ร้อน และไป อั้น อยู่ที่ cap tube .... และ cap tube ก็ฉีดออกไป
โดยมี แรงดูด รออยู่ในอีกระบบนึง (คอยร์เย็น)
3. อันนี้มองไม่เห็นนะครับ แต่ถ้าอย่างนั้น แถวๆแผงคอยล์เย็นไม่เปียกหรือกลายเป็นน้ำแข็งรอบๆเลยเหรอครับ
ทำไมน้ำยังไหลออกมาได้ พอดีมองไม่เห็นแถวนั้นเพราะอยู่ในเครื่อง ไม่รู้มันมีตะแกรงรองรับน้ำที่ควบแน่นใต้แผงคอยล์เย็น
หรือท่ออะไรยังไง แต่สงสัยว่า แผงคอยล์เย็นไม่เกาะเป็นน้ำแข็งด้วยเหรอ (เรื่องควบแน่นตรงนี้ คงเทียบได้กับ"จุดน้ำค้าง"
ของความชื้นสัมพันธ์ที่ควบแน่นเป็นน้ำ กลายเป็นหมอกของอากาศในหน้าหนาวนะ คงจะเป็นคอนเซ็ปเดียวกัน)
มีครับ แอร์จะออกแบบให้มีถาดรองน้ำ condense มา และจะต่อท่อออกไปทิ้งนอกห้อง ส่วนเรื่องน้ำแข็ง ไม่มีครับ
เพราะคอยร์เย็นมันเย็นแค่ 5 องศา (ในสภาวะปกติ)
4. หลักการทำงานของตู้เย็นก็ไม่ต่างกันใช่ไหมครับ มีทั้งแผงคอยล์ร้อน
แผงคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ และ Cap Tube แล้วก็วนวัฏจักรเหมือนกัน
ใช่แล้ว เหมือนกันเลยครับ
ข้อ 2 ส่วนอื่นผมคิดว่าเข้าใจถูกแล้ว แต่ตรงนี้ ต้องเข้าใจใหม่นิดนึง
"พอคอมเพรสเซอร์อัดปุ๊บ ก็เป็นของเหลวปั๊บ แต่ปรากฏเพิ่งรู้ว่า จะยังไม่เป็นของเหลว แสดงว่า มีการอัด แต่ไม่แรงมากพอแหงๆ "
ตรงนี้ไม่ใช่การอัดแต่ยังไม่แรงพอนะครับ
ระบบนี้เป็นระบบปิดนะครับ จะเห็นว่าท่อด้านอัดเป็นท่อเดียวกันตลอด ดังนั้น ต้นทางของด้าน High pressure ช่วงน้ำยาเป็นก๊าซออกจากคอมเพรสเซอร์ และปลายทาง ช่วงน้ำยาเป็นของเหลวไปเข้า cap tube ความดันจะเท่ากันทั้งหมด
จึงไม่ใช่เรื่องความดันไม่แรงพอ เป็นเรื่องสถานะของสารทำความเย็นอย่างเดียว ว่าอยู่ในสภาวะก๊าซ (เพราะเพิ่งผ่านการดูดเอาความร้อนมาหมาดๆ)
แล้วกลายเป็นของเหลว (เมื่อถูกพาความร้อนออก โดยพัดลมและจากอากาศรอบข้างนอกอาคาร)
ข้อ 3 นั้น ช่วยนอธิบายเพิ่มว่า ที่ไม่กลายเป็นน้ำแข็ง ก็เพราะการออกแบบไม่ให้เย็นเกินจนน้ำแข็งสิครับ จะทำมให้กลายเปแ็นน้ำแข็งก็ย่อมได้ แต่ตรงนั่นเราไม่ต้องการ
พูดเหมือนกำปั้นทุบดิน แต่จะเอาหลักการ คือขึ้นอยู่กับการเติมน้ำยา ให้ปริมาณพอเหมาะพอสม จึงเกิดความเย็นปริมาณพอดี หรือในทางวิทยาศาสตร์คือไม่ให้น้ำยาเดือดนานจนเลยเถิดเป็นน้ำแข็ง พอเย็นตามที่กำหนด ก็ตัดไม่ให้คอมเพรสเซอร์ทำงานดูด-และอัดต่อไงครับ
ตอนช่างแอร์เติมน้ำยา ถึงต้องมีเกจวัดความดันให้ได้ตามค่าที่ออกแบบไว้
แต่ทีนี้ถ้าแอร์ปกติ ที่เคยเย็นทำงานปกติดีๆ แต่ต่อมามีน้ำแข็งเกาะ มักจะเกิดการระบายไม่ทันของทางลม ก็คือชุดคอล์ยเย็นสกปรกฝุ่นอุดตัน หรืออีกอย่าง
เกิดน้อยกว่าแต่ก็เกิดได้ คือการรั่วจนระดับน้ำยาน้อยเกิน (รั่วไม่หมด แต่ค่อยๆ รั่วซึมออกตามรอยเชื่อม หรือข้อต่อที่ประกบไว้ไม่แน่น)
เกิดจากขั้นตอนติดตั้งไม่ดี เชื่อมไม่ดี หรือถ้าระบบไม่ใช่เชื่อม แต่ขันน๊อต ที่เกิดก็บานหน้าสัมผัสท่อทองแดง (flare) ไม่เข้าสนิทกับหัวต่อท่อ จนถึงช่างผิดพลาดขันน๊อตไม่สนิทจริง ดูรูป [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือทำดีแล้ว ที่เคยเจอ เกิดภายหลังที่มีใครไปทำอะไรกระแทกมันจนรั่วซึม (เช่น แต่งเติมบ้าน แล้วช่างก่อสร้างเผลอขนของไปกระแทกท่อ จนโยก)
ที่มา https://pantip.com/topic/36536743
จขกท.ไปตั้งอกตั้งใจกับ "นิยาม" เช่น "น้ำยา" เป็นน้ำอะไรเทือกนี้ ....พักไว้ก่อนอย่าเพิ่งลงลึก
เอาง่ายๆ ระบบเครื่องปรับอากาศ มีแค่นี้
1) คอล์ยเย็น ....นี่อยู่ในห้อง
2) คอล์ยร้อน ... อยู่ข้างนอกห้อง
3) คอมเพลสเซ่อร์ ....อยู่ตรงไหนช่างมัน ให้รู้ว่า หน้าที่คือ ปั้ม อัด "น้ำยา-แก็ส" ให้กลายเป็น "น้ำยา-เหลว" (ของเหลว)
พอเห็น 3 ตัวนี้ ก็ร้อง อ๋อ ทันที
1) ตอบได้เองว่า มัน "ดูดอากาศจากไหน" เข้า คอล์ยเย็น ออกไปเป็น "อากาศเย็น" ที่ไหน
2) คอล์ยเย็น มันใช้ "น้ำยา-เหลว" ไปเปลี่ยนสถานะให้เป็น "เป็นไอ" .....มันก็เกิด "ความเย็น"
3) คอมเพลสเซ่อร์ ก็ทำหน้าที่ของมัน ดูด "ไอ" อัดให้เป็น "ของเหลว" มันเกิดความร้อน ก็เอาไประบายทิ้งที่ "คอล์ย-ร้อน" นอกห้อง
ค่อยๆอ่าน ไม่ต้องตั้งใจมาก ไม่ต้องคิดให้ซับซ้อนมาก ไม่ต้องคอยพะวงกับ "นิยาม"
ก็จะเข้าใจเรื่องแอร์
วันอังคาร เวลา 14:03 น.