เปิดภาพล่าสุด! สาว ป.ตรี ลาออกมาขาย ‘ยาคูลท์’ กระแสดังในโลกโซเชียล หลังถอดเครื่องแบบสวยไม่ธรรมดา ! (ชมภาพ)
ล่าสุดสาวยาคูลย์ได้โพสต์ภาพหลังถอดแบบตอนไม่ได้เป็นสาวยาคูลท์เธอสวยปังมาก อดีตกับกระแสที่โด่งดังในโลกโซเชียล สาวอดีตพนักงานออฟฟิตคนหนึ่ง ได้โพสท์แชร์เรื่องของตนเองที่ได้ไปเจอเพื่อนสมัยเรียน ป.ตรี แล้วเพื่อนถามว่า “อายมั้ยจบป.ตรีมาเป็นสาวยาคูลท์” เธอจึงตอบไปด้วยไมตรี แต่คำตอบของเธอเล่นเอาพนักงานออฟฟิตหลายๆคนที่กำลังนั่งทำงานในห้องแอร์เย็นฉ่ำถึงกับเหงื่อตกเลยทีเดียว โดยคุณ นันทวัน ฟักทอง ได้เล่าว่า
————————————————————————————————-
เจอเพื่อนสมัยเรียน ป.ตรีด้วยกันที่ธนาคาร เรากำลังเดินส่งยาคูลท์ คุยกันสักพัก เพื่อนถาม เพื่อน: อายมั้ยจบป.ตรีมาเป็นสาวยาคูลท์
เรา:ยิ้ม ทำไมอ่า เราแต่งตัวไม่สวยหรอ ไม่ได้อยู่ในห้องแอร์เย็นๆเหมือนเพื่อนคนอื่นใช่มั้ย เมื่อก่อนเราก็เคยเป็นพนักงานบัญชี อยู่ในออฟฟิศแต่งตัวสวยใส่กระโปรงนั่งห้องแอร์ แต่รู้มั้ยเรามีแต่หนี้ ค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเยอะมาก ไหนจะรองเท้า ไหนจะกระเป๋าถือ ไหนจะเครื่องสำอางค์ ไหนจะโน่นนี่นั่น ก็เป็นเพราะเราเองที่ไม่ประมาณตนในการใช้ชีวิตเลยมีแต่หนี้
แต่ตอนนี้เรามาเป็นสาวยาคูลท์สิ่งที่เปลืองที่สุดคือครีมกันแดด 555 รายได้เริ่มเยอะขึ้น เพราะรายจ่ายฟุ่มเฟือยเริ่มหายไป ไม่ต้องแต่งตัวสวยแข่งใคร ชุดฟอร์มเดียวกันหมด ตอนนี้เรายิ้มได้กว้างกว่าตอนนั้นอีกนร้า 5555 วันๆได้แต่แจกยิ้มนี่แหละ 555 อายทำไมถ้าทำให้เราไม่มีหนี้
#จบวุฒิอะไรมาไม่สำคัญเท่ากับคุณมีความสุขกับสิ่งที่ทำหรือเปล่าหลายๆคนคงสงสัยว่ารายได้ของสาวยาคูลท์เนี่ย ได้เดือนๆเท่าไรกันเชียว เราไปดูข้อมูลจากชาวเน็ตกัน คุณ Churruen ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า
#ฉันรักยาคูลท์
#ฉันจะปลดหนี้ทั้งหมดด้วยอาชีพนี้
#อายทำไมฉันมีงานทำ
ผมเคยเปิดศูนย์จัดจำหน่ายนมเปรี้ยวยี้ห้อหนึ่ง (คู่แข่งยาคูลย์) พนักงาน ไม่มีเงินเดือน แต่จะได้ % จากการขายต่อขวด พนักงานของผมจะได้ขวดละ .85 บาทต่อขวด สาวยาคูลย์ได้ .75 บาทต่อขวด ซึ่งพนักงานของผมจะขายอยู่เฉลี่ยวันละ 600 ขวดต่อวัน ตกรายได้วันละ 510 บาท 1 เดือนทำงาน 26 วัน จะมีรายได้ต่อเดือน 13,260 บวกโบนัสรายเดือนประมาณ 2,000 บาท ก็จะตกอยู่ประมาณเดือนละ 15,000 บาท
สาวยาคูลย์ ซึ่งเป็นเจ้าตลาด จะขายไม่ต่ำกว่าวันละ 800 ขวดต่อวัน (ต่ำสุด) ได้ขวดละ .75 บาท รายได้เท่ากับ 680 บาทต่อวัน 1 เดือนทำงาน 26 วันจะมีรายได้ 17,680 บาท รวมโบนัสประมาณ เดือนละ 3,000 บาท เดือนหนึ่งก็ตกประมาณ 20,000 กว่าบาทได้ นี่ยังไม่รวมโบนัสรายไตรมาส รายปี และโปโมชั่นรายเดือนอีกนะ
คุณ iammj ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า รายได้ที่ตามความเห็นข้างต้นผิดค่ะ ต่อขวดได้มากกว่านั้นจร้า ยอดต่อวันก็1000+/-ไม่เกิน50 พิเศษทุก3เดือน/ปีละ4ครั้ง โบนัสทุก6เดือน/ปีละ2ครั้ง(เกือบๆ50000) เป็นรายได้แน่นอนเพราะอาศัยลูกค้าที่ส่งทุกวันไม่มีเหลือค้าง
รับแน่ๆไม่ต่ำ25000ไม่รวมอย่างอื่นในกรุงเทพไม่มีเขตขายไม่ดีค่ะ ขนาดตจวยังไม่พอขาย สังเกตุดูว่าจะไม่มีวางตามห้างเลย รายได้ดีมากๆสำหรับคนที่จบแค่ม.3 รับขั้นต่ำที่ม.3 แต่คุณต้องทำงานก่อน7โมงจัดของเอง ขับรถ ส่งลูกค้า ทักทายบอกประโยชน์(บังคับ) เก็บเงิน ทำบัญชี เก็บล้างถัง ซื้อถุง หลอด น้ำแข็ง น้ำมัน รถมอเตอร์ไซด์ บำรุงรักษาเอง จ่ายเงินเองในกรณีเก็บเงินลูกค้าไม่ได้ เก็บได้ช้า บลาๆๆ
ถ้าโอเครับได้ตามนี้ไปเลย อ้อลืมบอก ก่อนทำงานต้องไปอบรม+สอบให้ผ่านก่อนจ๊ะ สอบทั้งข้อเขียน และพรีเซ้นท์ ประโยชน์สินค้า ถามตอบสด ให้ผ่านด้วย โชคดีนะคะ คุณ เพียวคุง ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ถ้าจำไม่ผิด เงินเดือนไม่สูงมาก แต่ได้ % จากขวดที่ขายด้วย ( ผิดไป ขออภัย )ปีที่แล้วถามพนักงานส่งที่สนิท ๆ กัน บอกว่ากำลังจะไปเที่ยวญี่ปุ่น เพราะได้ยอด
เปิดเบื้องหลัง “ยาคูลท์” นมเปรี้ยวขวดจิ๋วทรงพลัง ด้วยระบบขาย “Door to Door สาวยาคูลท์” ต้นกำเนิด “ยาคูลท์” นมเปรี้ยวแบรนด์แรกของญี่ปุ่น “ยาคูลท์” เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวแบรนด์แรกของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นโดย “ดร.มิโนรุ ชิโรต้า” (Minoru Shirota, M.D., Ph.D.) ผู้ให้กำเนิดยาคูลท์ ที่ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกดื่มนมเปรี้ยวขวดจิ๋วนี้ มากกว่า 35 ล้านขวดต่อวัน
เส้นทางกว่าจะมาเป็น “ยาคูลท์” แบรนด์ในขวดจิ๋ว ที่ทรงพลังมหาศาลดังเช่นทุกวันนี้ เริ่มต้นจาก “ดร.มิโนรุ ชิโรต้า” เมื่อครั้งเข้าเรียนสาขาแพทย์ มหาวิทยาลัยเกียวโตในช่วงปี 1921 ได้เลือกเรียนเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในร่างกายคนเรา โดยเฉพาะให้ความสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับโรคบิด และโรคท้องร่วงในเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในเวลานั้น
แม้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว แต่ “ดร.มิโนรุ” ยังคงค้นคว้า “จุลินทรีย์กรดนม” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์ กระทั่งในปี 1930 ประสบความสำเร็จกับการนำจุลินทรีย์กรดนมของคนเรา ออกมาเพาะเลี้ยงให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทนต่อสภาวะกรดและด่างในร่างกายคนเราได้ โดยอาจารย์ของ “ดร.มิโนรุ” ได้ตั้งชื่อจุลินทรีย์ชนิดนี้ว่า “แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า”
(Lactobacillus Casei Shirota Strain) หรือ “จุลินทรีย์ชิโรต้า” ต่อมา “ดร.มิโนรุ” ได้ทดลองนำจุลินทรีย์สายพันธุ์ชิโรต้า มาทำเป็นเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้คนได้ดื่มจุลินทรีย์ที่ดีนี้ กลับเข้าสู่ร่างกาย ในที่สุดสามารถพัฒนาออกมาเป็น “ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว” พร้อมตั้งชื่อว่า “ยาคูลท์” ซึ่งเป็นภาษา Esperanto มีความหมายเช่นเดียวกับโยเกิร์ต ที่แปลว่ามีอายุยืนยาว
พร้อมทั้งเริ่มผลิตและจำหน่ายครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อปี 1935 ในราคาที่ทุกคนสามารถซื้อได้ เนื่องจากขณะนั้นญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับภาวะสงครามโลก ความเป็นอยู่ของคนในประเทศจึงขาดแคลนทั้งเงิน และอาหารที่มีประโยชน์ แม้ต่อมาญี่ปุ่น พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้บ้านเมือง และชีวิตผู้คนสูญเสียมากมาย รวมถึง “ยาคูลท์” เช่นกัน แต่ “ดร.มิโนรุ” ได้ฟื้นฟูยาคูลท์กลับขึ้นมาใหม่
และได้ตั้งบริษัท พร้อมสำนักงานใหญ่ที่โตเกียว เพื่อยกระดับสินค้าให้แพร่หลายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะกลายเป็น Global Brand ดังเช่นทุกวันนี้ กุญแจสำคัญที่ทำให้ “ยาคูลท์” ประสบความสำเร็จในตลาดโลก มาจาก1. ผลิตภัณฑ์ ที่ขายได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องโฆษณามากนัก 2. การพัฒนาพัฒนาระบบการขาย “Door to Door” หรือ “Direct Sale” ผ่านหน่วยขายที่ทรงพลังมหาศาลอย่าง “สาวยาคูลท์” (Yakult Ladies)
ถือเป็น “เอกลักษณ์” ของยาคูลท์โดยเฉพาะ เพื่อการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ปัจจุบันมี “สาวยาคูลท์” มากกว่า 80,000 คนทั่วโลก ทำหน้าที่สร้าง Engagement กับผู้บริโภค ทั้งการส่งสินค้าตรงถึงมือผู้บริโภค การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้คน ด้วยอัธยาศัยยิ้มแย้ม และยังทำหน้าที่ขยายฐานลูกค้าใหม่ด้วยเช่นกัน
เจาะลึก “ยาคูลท์” ในไทย ต้นแบบ “Direct Sale ตลาดนมไทย” ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร (nfi) เผยผลสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (Drinking Yogurt) และโยเกิร์ตถ้วยในประเทศไทยของปี 2016 จัดทำขึ้นโดย Euromonitor International ได้ฉายภาพตลาดแบ่งเป็น 3 เซ็กเมนต์ ได้แก่
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร (nfi) เผยผลสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (Drinking Yogurt) และโยเกิร์ตถ้วยในประเทศไทยของปี 2016 จัดทำขึ้นโดย Euromonitor International ได้ฉายภาพตลาดแบ่งเป็น 3 เซ็กเมนต์
อย่างไรก็ตาม ถ้าเจาะลึกเฉพาะตลาดนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยังแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ นมเปรี้ยวที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้ และ นมเปรี้ยวที่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้ ในส่วนตลาด “นมเปรี้ยวที่ไม่มีส่วนผสมน้ำผลไม้” หรือ “นมเปรี้ยวแลตโตบาซิลัส” (Culture Yogurt) มีผู้เล่นหลัก 3 ราย นำตลาดโดย “ยาคูลท์” ตามมาด้วย “บีทาเก้น” และ “ไพเก้น” (ซีพี-เมจิ)
“ยาคูลท์” เข้าสู่ตลาดไทยเมื่อประมาณ 48 – 49 ปีที่แล้ว โดย “คุณประพันธ์ เหตระกูล” ผู้ก่อตั้งบริษัท ยาคูลท์ ประเทศไทย และถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดนมเปรี้ยวแลตโตบาซิลัสในไทย ซึ่งปัจจุบันมี “คุณกนกพรรณ เหตระกูล” สืบทอดธุรกิจต่อจากรุ่นพ่อ
ความได้เปรียบที่ทำให้ “ยาคูลท์” ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของตลาดนมเปรี้ยวแลคโตบาซิลลัส และครองใจมหาชนชาวไทย มาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ – การเป็นแบรนด์แรกที่เปิดตลาดนมเปรี้ยวแลคโตบาซิลลัสในไทย ทำให้คนไทย “คุ้นเคย” กับรสชาติ และ “ผูกพัน” กับแบรนด์ ขณะเดียวกันถึงแม้ยาคูลท์ไม่ได้โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ มากนัก แต่ได้จัดกิจกรรมเข้าไปยังโรงเรียนต่างๆ
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ดี และเป็นการสร้าง Engagement กับผู้บริโภคกลุ่มเด็ก – การยกโมเดลขายตรงสาวยาคูลท์จากญี่ปุ่น มาปรับใช้ในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบตั้งตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดต่างๆ ควบคู่กับบริษัท ยาคูลท์ เซลล์ (กรุงเทพฯ) จากส่วนกลาง เข้าไปตั้งสำนักงานในบางจังหวัด
เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่ายสาวยาคูลท์ในแต่ละจังหวัด ซึ่งการมีเครือข่ายสาวยาคูลท์ ตอบโจทย์ทั้งในด้านสร้างความรู้ความเข้าใจในตัวสินค้าเป็นอย่างดี เพราะเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว “ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว” ถือเป็นสิ่งใหม่สำหรับสังคมไทย จำเป็นอย่างยิ่งต้อง Educate ผู้บริโภคไทย