Home »
Uncategories »
10 อันดับ จังหวัดที่มีคนจน มากที่สุดในประเทศไทย
10 อันดับ จังหวัดที่มีคนจน มากที่สุดในประเทศไทย
เผยผลการจัดอันดับ 10
จังหวัดที่มีคนยากจนมากที่สุดของประเทศไทย
อ้างอิงจากการนับจำนวนจากคนที่ได้รับการสำรวจว่าจน
จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
และเป็นคนที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐในแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับข้อมูลจาก
บิ๊กดาต้า ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
โดยแบ่งแยกความยากจนออกเป็น 5 มิติ คือ
1.คนจนสุขภาพ
2.คนจนความเป็นอยู่
3.คนจนการศึกษา
4.คนจนรายได้
5.คนจนการเข้าถึงบริการของภาครัฐ
โดยแต่ละคนอาจจมีปัญหาได้มากกว่า 1 มิติ มาดูกันว่าจังหวัดไหนจะมีคนจนมากที่สุดกันค่ะ
1.เชียงใหม่
2.นครราชสีมา
3.เชียงราย
4.น่าน
5.ศรีสะเกษ
6.บุรีรัมย์
7.อุบลราชธานี
8.พิษณุโลก
9.อุดรธานี
10.นครศรีธรรมราช
9 วิธีการออมเงินง่ายๆ สำหรับคนเก็บเงินไม่เก่ง
ข้าวของราคาแพง
ค่าใช้จ่ายมีแต่จะเพิ่มขึ้น สินค้าก็มีแต่ขึ้นราคา
แต่เงินเดือนไม่ยักขึ้นตาม สุดท้ายก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน
มีหนี้บัตรเครดิตพ่วงยาวเป็นวา เงินออมไม่ต้องพูดถึง
จริงๆ
แล้วการออมเงินไม่ได้เป็นเรื่องยากนะคะ บางคนเป็นหนี้อยู่ก็ยังออมเงินได้
เพียงแต่ว่าเราจะต้องตั้งใจทำนิดนึงค่ะ วันนี้เรามาดู 9
วิธ๊การออมเงินง้ายง่าย เป็นคนเก็บเงินไม่เก่งก็ทำได้
1. เก็บก่อนใช้
วิธีนี้ เป็นวิธีการเริ่มต้นง่ายๆ ของคนอยากมีเงินออมค่ะ ใครๆ ก็ทำได้ เห็นผลง่าย แต่ต้องบังคับตัวเองไม่ให้เอาเงินส่วนนี้ไปใช้นะคะ
วิธีการ:
เมื่อเงินเดือนออก แบ่ง 10% ของเงินเดือนเพื่อเป็นเงินออมทันที
และเงินก้อนนี้เพื่อการออมอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ ห้ามเอาออกมาใช้เด็ดขาด
ส่วนที่เหลือ
ก็แบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อจ่ายหนี้ จ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างๆ
และใช้จ่ายประจำวัน
วิธีการออมเงินแบบนี้เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยเราสร้างวินัยในการออมเงินได้ค่ะ
2. พกเงินน้อยลง
หากเราเป็นอีกคนที่ใช้เงินเก่ง
เก็บเงินไม่เก่ง มีเท่าไหร่ใช้ได้หมดเท่านั้น แปลว่าเราเป็นคนพกเงินเยอะ
ก็ใช้เยอะ แล้วถ้าพกเงินน้อยล่ะ?
วิธีการ:
พกเงินติดตัวจำนวนน้อยกว่าที่เคย อาจจะใช้ระบบการคำนวณค่าใช้จ่ายรายวัน
ว่าเราใช้เงินต่อสัปดาห์เท่าไหร่ แล้วพกพอดีเท่านั้น
และคอยเตือนตัวเองว่านี่คือเงินที่เราต้องใช้ทั้งสัปดาห์นะ ไม่ใช่ใช้หมดใน 1
วัน แล้วถอนเงินเป็นรายสัปดาห์แทนที่จะถอนเมื่อเงินหมด
ก็จะสามารถช่วยคุณออมเงินได้เช่นกันค่ะ
3. งดใช้บัตรเครดิต
จำกัดการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือนเท่านั้น แทนที่จะใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าค่ะ
วิธีการ:
ใช้บัตรเครดิตเพื่อการชำระค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ
ค่าโทรศัพท์ ผ่อนสินเชื่อ หรือหากต้องซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ ราคาแพง
เช่นต้องซื้อตู้เย็นใหม่ เครื่องซักผ้า ฯลฯ ถึงใช้บัตรเครดิต
ไม่ใช้บัตรเครดิตในการช็อปปิ้งสินค้าฟุ่มเฟือย
หรือสินค้าจุกจิกค่ะ เพราะแบบนั้นจะทำให้เราเผลอใช้บัตรเครดิตบ่อยมาก
ทำให้มียอดจุกจิกเต็มไปหมด แต่ยอดจุกจิกเนี่ยล่ะค่ะ รวมๆ
กันแล้วมันกลับเยอะ เผลอๆ จะจ่ายไม่ไหวเอา ก็จ่ายได้แค่ขั้นต่ำ
ทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยตามมา ใช้แต่พอดีนะคะ จะได้มีเงินออมกันค่ะ
4. เก็บแบงค์ 50 บาท
เป็นวิธีออมเงินที่ง่ายอีกอย่างที่เราสามารถทำได้วันนี้เลยนะคะ เก็บแต่แบงก์ 50 บาทค่ะ
วิธีการ:
ได้แบงก์ 50 บาทมาเมื่อไหร่ เก็บเมื่อนั้น ซุกไว้ในมุมมืดของกระเป๋าตังค์
กลับบ้านก็เอาไปหยอดใส่กระปุก หรือกระป๋องที่เราเตรียมไว้ พอกระปุกเต็ม
หรืออาจจะครบระยะเวลาที่เรากำหนด ก็นำเงินส่วนนี้ไปฝากธนาคาร ง่ายม้๊ยคะ
สมัยนี้แบงก์
50 บาทก็เรียกได้ว่ายังเป็นแบงก์ที่ได้ไม่บ่อย คนใช้ไม่เยอะ
คิดซะว่าเป็นของหายาก ต้องเก็บรักษา ถึงเดือน หรือทุก 2-3
เดือนก็เอาไปฝากธนาคาร บางคนใช้วิธีนี้เก็บเงินได้เป็นหมี่นๆ
นำเงินเก็บไปเที่ยวต่างประเทศได้เลยก็มีค่ะ
5. เปิดบัญชีฝากประจำระยะยาว
หากเราเป็นคนที่ใจอ่อนกับตัวเอง
วิธีการบังคับตัวเองให้ออมเงินอีกอย่าง
คือการเปิดบัญชีเงินฝากประจำระยะยาว อาจจะเริ่มที่ 5 ปีก่อน
แล้วค่อยขยับขยายก็ได้ค่ะ
วิธีการ:
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ เริ่มต้นที่ฝากประจำเป็นเวลา 5 ปี
แล้วฝากเงินจำนวนเท่าๆ กันในบัญชีนั้น ทุกๆ เดือน
โดยใช้ระบบการตัดยอดเงินอัตโนมัติตามจำนวน และระยะเวลาที่เราต้องการ
แล้วนำฝากเข้าบัญชีฝากประจำทุกเดือน
เพราะว่าบัญชีเงินฝากประจำเราจะไม่สามารถนำเงินออกมาได้จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา
การตั้งให้มีการตัดเงิน โอนเงินอัตโนมัติจะทำให้เราไม่ต้องคิดมาก
ไม่ต้องไปโอนเงิน หรือฝากเงินด้วยตัวเอง ไม่ต้องทำบัตร ATM ด้วยค่ะ
แค่นี้เราก็มีเงินเก็บทุกๆ เดือนแน่นอนแล้วค่ะ
6. หยอดกระปุกออมสิน
หยอดกระปุก
เรื่องเด็กๆ แต่บางคนหยอดกระปุกก็จริงแต่ก็แคะกระปุกมาใช้ตลอด
แบบนี้ก็เก็บเงินไม่อยู่เหมือนกันนะคะ จริงๆ แล้วการหยอดกระปุก จะให้ดี
เราควรทำการแบ่งกระปุกออกเป็นหลายๆ จุดประสงค์
แต่ละกระปุกก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไปค่ะ
วิธีการ:
หากระปุกออมสินมาหลายๆ ใบ
นำกระดาษเขียนจุดประสงค์การเก็บเงินของแต่ละกระปุกมาแปะไว้ที่กระปุก เช่น
สำหรับเที่ยวสงกรานต์ปี 59 ซื้อนาฬิกาใหม่ ซื้อโทรศัพท์ใหม่
ซื้อแล็บท็อปใหม่ เป็นต้น อย่าลืมแบ่ง 1 กระปุกไว้สำหรับการออมเงินด้วยนะคะ
คุณอาจจะแบ่งหยอดกระปุก
วันละ 10-20 บาทต่อกระปุก หยอดโดยแบ่งจากจำนวนเงินที่เหลือใช้รายวัน
รายสัปดาห์ก็ได้ค่ะ
ทีนี้ก็มีเงินสะสมเพื่อใช้ซื้อโน่นนี่แล้วยังมีแล้วแบ่งเงินหยอดกระปุกสำหรับการออมเงินอีกด้วยค่ะ
ได้ประโยชน์รอบตัวเลย
7. เอาชนะใจตัวเอง
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการออมเงิน
คิดว่าคงเป็นการเอาชนะใจตัวเอง ไม่ซื้อ ไม่ใช้
ไม่เอาเงินในกระปุกออกมาใช้จ่าย แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะบังคับตัวเอง
สร้างวินัยในการออมเงินใหม่ได้?
วิธีการ:
สร้างเป้าหมายระยะยาวสำหรับการออมเงินให้ตัวเอง
ว่าเราต้องการออมเงินเพื่ออะไร ซื้อบ้าน ซื้อรถ ดูแลครอบครัว ซื้อคอนโด ฯลฯ
มีเป้าหมายชัดเจนในการออมเงิน
แล้วใช้เป้าหมายนี้เตือนตัวเองว่าเราต้องออมเงินไปเพื่ออะไร
หากเรามีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการออมเงิน
ว่าเราต้องการออมเงินไปเพื่ออะไร
แม้ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการมีเงินสะสม เพื่ออนาคตที่สุขสบาย
ก็ยังเป็นเป้าหมายที่ดีค่ะ
แล้วเราก็ใช้เป้าหมายเหล่านี้แหละค่ะมาเตือนตัวเองเวลาเราคิดจะแคะกระปุกเอาเงินไปใช้
ว่าเราอุตส่าห์อดทนออมเงินเพื่ออะไรกันแน่ พอเรานึกถึงเป้าหมายแล้ว
รับรองว่าสามารถเอาชนะใจตัวเองได้แน่นอนค่ะ
8. ไม่ยึดติดแบรนด์เนม
พวกเสื้อผ้า
ของใช้ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ของแบรนด์เนมก็ได้นะคะ เลือกยี่ห้อที่ราคาดี
คุณภาพดี คุ้มค่ากับราคา ใช้งานได้นานๆ จะดีกว่าเลือกของแพงๆ
เพราะจะได้ใช้แล้วดูดีค่ะ
วิธีการ: เลือกสินค้า ของใช้ที่คุณภาพ และความเหมาะสมของคุณภาพและราคา โดยใช้จุดประสงค์ที่เราต้องการซื้อเป็นหลัก
หากเราเป็นนักธุรกิจ
อาจจะลงทุนเพื่อสั่งตัดชุดทำงานชุดเก่งสัก 2 ชุดที่ดูดี
เวลาเราต้องออกไปพบลูกค้า หรือหุ้นส่วน หรือเข้าประชุม ส่วนนอกจากนั้น
อาจจะซื้อเสื้อโปโล หรือเสื้อเชิ้ตที่ดูดี
ไม่ได้ต้องแพงใส่วันทำงานธรรมดาแทนก็ได้ค่ะ
ของแบบนี้มิกซ์แอนด์แมทช์ได้อยู่แล้ว ทีนี้ก็มีเงินเก็บได้อีกเพียบเลยค่ะ
9. ลดค่าใช้จ่าย
วันๆ
หนึ่ง คนทำงานต้องกินต้องใช้ กาแฟ ชา ขนม นม เนย ของขบเคี้ยวแก้ง่วง
ถ้าซื้อบ่อย ซื้อประจำ ก็เปลืองเงิน อะไรลดได้ก็ลดดีกว่าค่ะ
ถือซะว่าเป็นการลดน้ำหนักไปในตัวด้วยเลย
วิธีการ:
ลดการซื้อชา กาแฟ เปลี่ยนมาซื้อชาเป็นกล่อง กาแฟผงชงเอง
ลดปริมาณขนมขบเคี้ยวที่รับประทานประจำวัน วางแผนอาหารการกินของตัวเอง
จริงๆ
แล้วหากเราทำกับข้าวเองอยู่แล้ว เราก็สามารถทำกับข้าวเพิ่มตอนกลางคืน
แล้วนำที่เหลือใส่กล่องมารับประทานที่ออฟฟิศแทนก็ได้นะคะ
เป็นการลดค่าใช้จ่าย แถมได้กินคลีน กินอาหารดีๆ อีกด้วยค่ะ
แล้วก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มสิ่งที่เราทำประจำวันแต่อย่างใดเลยด้วยค่ะ
จริงๆ
แล้วคนทุกคนสามารถเก็บออมเงินได้ทุกคนนะคะ
เพียงแค่เราจะต้องตั้งใจสร้างวินัยในการออมเงินของเราให้ได้เสียก่อน
ตั้งใจว่าจะเก็บเงินจริงจัง ตั้งเป้าหมายการออมเงินให้ตัวเอง
แล้วใช้เป้าหมายนี้ล่ะค่ะในการเตือนตัวเอง
เราก็จะสามารถเก็บออมเงินได้อย่างแน่นอนค่ะ
ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับการออมเงินนะคะ มาสิขอเอาใจช่วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูล tpmap.in.th