คนอิสาน มาจากไหน ศึกษาประวัติความเป็นมา อันยาวนานกว่า 1,000 ปี

ไทยอิสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทยลาว หรือภาษาอิสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้าน วัฒนธรรมภาคอิสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่มบนที่ดอน เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า โนน ยึดทำเลเพื่อการทำนาเป็นอาชีพสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป เรื่องถิ่นเดิมของคนลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ

1. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่ภาคอิสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน

ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียง คือ ลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียง มากกว่า 5,600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5,600 ปีกว่า คนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือน อยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่า นอกจากลาวจะอยู่อิสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปทวีปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง

พระธาตุพนม

2. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่ภาคอิสาน และมีมาจากที่อื่นด้วย

แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอิสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า อิสาน หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า ได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่า ลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมิ นับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามา พอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิ ก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวา  รวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้ อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่ เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียง และเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโค ตรบูร ได้แก่ บรรดาชาวข่า ที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโค ตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

ชาวบ้านเมืองหนองหาน ภาพถ่ายอิสานโบราณ สตรีในวงศ์เจ้าเมืองนครพนม ถ่ายภาพที่สกลนคร มณฑลอุดร ปี ค.ศ. 1907

จากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์ เรียกว่า คนอิสาน นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มปะปนกันอยู่ และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มลาวอยู่ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากงานเขียน ของนักวิชาการบางคนที่กล่าวว่า หลังจากพวกละว้า หรือพวกข่า หมดอำนาจลง ดินแดนอิสานก็ถูกครอบครองโดยขอม และอ้าย  ลาว ต่อมาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ดินแดนส่วนนี้จึงถูกครอบครอง โดยอ้าย  ลาวมาจนถึงปัจจุบัน

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์

การรักษาด้วยความรู้ ความเชื่อในท้องถิ่น หลวงพระบาง

ถ้าเป็นอย่างนี้จริงจึงสรุปได้ว่า อ้าย  ลาว ก็คือกลุ่มลาวนั่นเอง อ้าย  ลาวเป็นสาขาหนึ่งของมองโกลเดิม อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง และแม่น้ำเหลือง ปัจจุบันมีชาวจ้วง ในมณฑลกวางสีราว 18 ล้านคน ที่มีสำเนียงภาษาพูด คล้ายคลึงกับคนไทยอิสานมาก ก่อนที่จะอพยพเข้าครอบครองอิสานนั้น ได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำคัญขึ้น 3 เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา

ต่อมากลุ่ม อ้าย ลาวเกิดพิพาทกับจีน สาเหตุเพราะจีนมาแย่งดินแดน อ้าย  ลาวสู้จีนไม่ได้จึงอพยพลงใต้ ถอยร่นลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณยูนานในปัจจุบัน ยูนานเป็นส่วนหนึ่งของอุษาคเนย์ ทั้งภูมิประเทศและอากาศทางใต้ของยูนานคล้ายลาว ไทย พม่า และเวียดนามมากกว่าจีน คนพื้นเมืองก็คล้ายๆ คนอิสาน รวมไปถึงภาษาพูดก็มีส่วนคล้ายกัน มีเมืองแถนเป็นศูนย์กลางสำคัญ แต่ก็ยังถูกรุกร าน แย่งชิงจากจีนไม่หยุดหย่อน

อ้าย  ลาวจึงอพยพลงมาตั้งอาณาจักรใหม่อีก คือ อาณาจักรหนองแส มีขุนบรมวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอ้าย  ลาว เป็นผู้ปกครองขุนบรม ขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1272 ได้รวบรวมผู้คนเป็นปึกแผ่น และส่งลูกหลานไปครองเมืองต่าง ๆ ในบริเวณนั้นลูกหลานที่ส่งไปครองเมืองมี 7 คน คือ

1. ขุนลอ ครองเมืองชวา คือ หลวงพระบาง

2. ขุนยีผาลาน ครองเมืองหอแต หรือสิบสองพันนา

3. ขุนสามจูสง ครองเมืองปะกัน หรือหัวพันทั้งห้าทั้งหก

4. ขุนไขสง ครองเมืองสุวรรณโดมคำ

5. ขุนงัวอิน ครองเมืองอโยธยา สุโขทัย

6. ขุนลกกลม ครองเมืองมอญ คือ หงสาวดี

7. ขุนเจ็ดเจือง ครองเมืองเชียงขวางหรือเมืองพวน

พี่น้องอ้ายลาวทั้ง 7 ปกครองบ้านเมืองแบบเมืองพี่ เมืองน้อง มีอะไรก็ช่วยเหลือเจือจุนกัน โดยยึดมั่นในคำสาบาน ที่คำสัตย์ปฏิญาณร่วมกันว่า ไผร บราแย่งแผ่นดินกัน ขอให้ฟ้าลงมัน สำหรับกลุ่มอ้าย ลาวนี้ น่าจะเกี่ยวโยงเป็นกลุ่มเดียวกับคนชาติลาวในอิสาน น่าจะเป็นกลุ่มลาวเชียงและลาวเวียง คือ กลุ่มจากอาณาจักรล้านนา ลาวเชียง และกลุ่มจากอาณาจักร ล้านช้าง ลาวเวียง ในพุทธศตวรรษที่ 17–18 เริ่มตั้งแต่สร้างเมืองชวาหรือเมืองหลวงพระบาง มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 22 องค์

กษัตริย์องค์หนึ่งคือพระเจ้าเงี้ยว ได้กำเนิดลูกชาย คือพระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าฟ้างุ้ม เกิดมามีฟันเต็มปาก เสนาอำมาตย์ในราชสำนักเห็นเป็นลางไม่ดี จึงทูลให้พระบิดานำไป ล่องโขง คือลอยแพไปตามลำน้ำโขง มีพระเขมรรูปหนึ่งพบเข้า เกิดเมตตาเอาพระเจ้าฟ้างุ้มไปชุบเลี้ยงจนเติบใหญ่ แล้วถวายตัวในราชสำนักเขมร พระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการศึกษาอบรมอย่างองค์ชายเขมร และทรงเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรด้วย เมื่อพระเจ้าฟ้าเงี้ยวสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าคำเสียวผู้เป็นน้องชาย ขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพจากเขมร ทวงราชสมบัติของบิดาคืน สามารถโจมตีเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าฟ้าคำเลียวเสียทีแก่หลานสู้ไม่ได้ น้อยใจจึงคิดสั้น

เจ้าฟ้างุ้มจึงขึ้นครองเมืองหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 1896 ทรงพระนามว่า พระยาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นกษัตริย์ ที่มีพระปรีชาสามารถมาก เป็นนักรบผู้กล้าหาญชาญฉลาด ในช่วงนั้นอาณาจักรสุโขทัย มีพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นกษัตริย์ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอำนาจแผ่ไปถึงญวน ลงมาถึงส่วนหนึ่งของเขมรตอนล่าง และเข้ามาสู่ดินแดนอิสาน ได้อพยพผู้คนจากเวียงจันทน์ มาอยู่บริเวณเมืองหนองหาน และหนองหานน้อยประมาณ 10,000 คน

พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์ และแผ่แสนย านุภาพเรื่อยมา จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าฟ้างุ้มคิดแผ่แสนย านุภาพ เข้าครอบครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้พระเจ้าอู่ทอง ต้องเจรจาหย่าศึกโดยอ้างความเป็นญาติ ร่วมวงศ์ขุนบรมเดียวกันว่า เฮาหากแมนอ้ายน้องกันมาแต่ขุนบรมพุ้น หากเจ้าเป็นลูกหลานขุนบรมจริง เฮาอย่ามารานรอนกันเลย ดินแดนส่วนที่อยู่เลยดงสามเส้า ดงพญาไฟ ไปจดภูพระยายฝอ และแดนเมืองนครไทยให้เป็นของเจ้า ส่วนที่อยู่เลยดงพญาไฟลงมา ให้เป็นของข้อย แล้วจัดส่งลูกสาวไปจัดที่อยู่ที่นอนให้

พระเจ้าอู่ทองยัง ได้ส่งช้างพลาย 51 เชือก ช้างพัง 50 เชือก เงินสองหมื่น นอแร ดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่น ๆ อีกอย่างละ 100 ให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม จากหลักฐานนี้อาณาจักรลานช้าง จึงมีอำนาจครอบครองดินแดนอิสาน ยกเว้นเมืองนครราชสีมาที่ยังคงเป็นอิสระอยู่ เพราะในหนังสือ King of Laos ระบุว่า ในปี ค.ศ. 1385 อาณาเขตกรุงล้านช้าง ทางทิศตะวันตกติดต่อ กับโคราชนครราชสีมา

ดินแดนอิสานส่วนใหญ่ ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าฟ้างุ้มเรื่อยมา จนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2091–2114 ได้ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบาง มาอยู่เวียงจันทน์ พระองค์ได้ทำสัญญาพันธมิตร กับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา และทั้งสองได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักร กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างวัดองค์ดื้อ และศาสนสถานต่าง ๆ ในเขต เมืองหนองคาย และบูรณะพระธาตุพนมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช สนใจดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง มากกว่าสมัยก่อน ๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2250 เกิดการแก่งแย่งอำนาจขึ้นในลาว ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร มีหลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลาง และในปี พ.ศ. 2256 อาณาเขตเวียงจันทน์ทางใต้ ได้ถูกแบ่งแยกโดย เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าหน่อกษัตริย์ มีเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเมืองหลวง ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ส่งจารย์แก้ว เจ้าแก้วมงคล มาเป็นเจ้าเมืองท่ง หรือเมืองทุ่ง ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นับว่านครจำปาศักดิ์ ได้ขยายอำนาจเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำมูล ชี ตอนกลาง

ที่พักรับรองสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะเสด็จตรวจราชการ หัวเมืองอิสาน ณ เมืองอุดร

เวลาต่อมา ลูกหลานเจ้าเมืองท่ง หรือเมืองสุวรรณภูมิ ได้สร้างเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอิสานมากกว่า 15 เมือง เช่น สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชนบทขอนแก่น ฯลฯ ต่อมาเกิดความ ไม่ลงรอยกัน ระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ลาว ผู้คนได้อพยพหนีภัยการเมือง จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้าสู่อิสานเหนือ กลุ่มสำคัญได้แก่

กลุ่มเจ้าผ้าขาว โสมพะมิตร

กลุ่มนี้อพยพผู้คนมาตั้งอยู่ริ่มน้ำปาว คือ บ้านแก่งส้มโฮง สำโรง เจ้าโสมพะมิตรได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี และเนื่องจากมีกำลังคนถึง 4,000 คน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ยกบ้านแก่งส้มโฮง เป็นเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และเจ้าโสมพะมิตรได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

กลุ่มพระวอพระตา

พระวอพระตาเป็นเสนาบดีลาว เกิดขัดใจกษัตริย์เวียงจันทน์ อพยพผู้คนข้ามโขงมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภู ซึ่งเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว ตั้งชื่อเมืองว่า นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน แต่ได้ถูกกอง ทัพลาวตามมา จนพระตาสิ้นใจ ส่วนพระวอได้พาบริวารไพร่ พลหนีลงไปตามลำแม่น้ำโขง จนถึงดอนมดแดง และต่อมาลูกหลานของพระวอได้ขอตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร

กลุ่มท้าวแล

ท้าวแลและสมัครพรรคพวก ได้อพยพจากเวียงจันทน์ มาอยู่ในท้องที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายไปทางตอนเหนือ แล้วขอตั้งเป็นเมืองชัยภูมิ ท้าวแลได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ว่า พระภักดีชุมพล ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาภักดีชุมพล การตั้งบ้านเมืองในดินแดนอิสาน ตั้งแต่พุทธศตวรรษ 24-25 หรือตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 100 เมือง มีแบบแผนการปกครองตามแบบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์คือมีตำแหน่งอาชญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ส่วนเมืองในเขตอิสานใต้คือนครราชสีมา และหัวเมืองเขมรป่าดง ได้ใช้แบบแผนการปกครองแบบกรุงเทพ ฯ คือมีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมือง

จากหลักฐานของลาวสามารถกล่าวได้ ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอิสานมานานแล้ว จึงสรุปได้ว่า คนในท้องถิ่นอิสาน หรือบริเวณนี้เป็นเชื้อสายลาว ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน สืบทอดสายธารทางประวัติศาสตร์ อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคตอีกนานเท่านาน

ภาพถ่ายชาวไทยอิสานโบราณ

ภาพถ่ายชาวไทยอิสานโบราณ

ภาพถ่ายชาวไทยอิสานโบราณ

วิถีชีวิตชาวอิสาน

วิถีชีวิตชาวอิสาน

ที่มา https://www.ntbdays.com/witeebanna/9052