Home »
Uncategories »
“ว่านงาช้าง” สมุนไพรไทย บ้านไหนยังไม่มีรีบไปหามาปลูกด่วน โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้หญิง!
“ว่านงาช้าง” สมุนไพรไทย บ้านไหนยังไม่มีรีบไปหามาปลูกด่วน โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้หญิง!

“ว่านงาช้าง” เป็นไม้ล้มลุก ถิ่นอาศัยพืชบก ชนิดของลำต้น ลำต้นไต้ดิน
เหง้า เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะขรุขระ มียางสีขาว ใบเดี่ยว สีเขียว
ขนาดใบกว้าง 5 ซ.ม. ยาว 50 ซ.ม. ลักษณะพิเศษของใบเป็นทรงกระบอกอวบน้ำ
ปลายใบแหลม โคนใบตัด ชนิดช่อดอก ดอกช่อ ช่อเชิงลด
ตำแหน่งที่ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงเชื่อกับกลีบดอก สีเขียว
กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน สีขาว
เกสรเพศเมีย 1 อัน สีขาว ไม่มี

เป็นยาบำรุงโลหิตใช้ตำโขลกหรือหั่นเป็นแว่นๆผสมกับสุรารับประทานแก้เลือดตีขึ้นในโรคบาดทะยักปากมดลูกในเรือนไฟจะดองสุราหรือต้มกินก็ได้น้ำคั้นจากรากใช้เป็นยาเบื่อพยาธิและรักษาริดสีดวงงอกได้ดี
-ใช้รากสด 5-10 กรัมนำมาล้างให้สะอาด โขลกให้ละเอียดอาจผสมเหล้าโรง คั้นเอาแต่น้ำจิบ
-ผู้ที่มีใบหน้าเป็นสิว ฝ้าหน้าตกกระ จะช่วยฟอกโลหิตให้ใบหน้าหายจากสิวฝ้า เกลี้ยงเกลาผิวพรรณผุดผ่อง
-นำใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหู แก้ปวดในหู
-คั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม
-เป็นยาสำหรับสตรีกินหลังคลอดบุตร ช่วยขับโลหิตเสียโลหิตเป็นพิษ
ตำผสมเหล้า หั่นเป็นแว่นๆ หรือโขลกกับเหล้าโรง หรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม
วันละ 2-3 ครั้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกหุ้มด้านนอกสีส้ม เนื้อภายในมีสีเหลืองอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว แทงออกมาจากเหง้าและตาโผล่เหนือพื้นดินคล้ายลำต้นเทียม
รูปทรงกระบอก ปลายแหลม สีเขียวตลอดทั้งใบ
มีแถบสีเขียวเข้มพาดตามขวางสม่ำเสมอ ร่องตื้นพาดตามความยาวของใบ
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อ จากเหง้า ยาว 40-60 เซนติเมตร มีกาบหุ้มก้านช่อดอก
ดอกย่อยเรียงเวียนรอบก้านช่อดอก ดอกสีขาวอมเหลือง
โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแยก 5 แฉก
ม้วนงอไปด้านหลัง

ข้อมูลทั่วไป
“ว่านงาช้าง” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูง ต้องการน้ำปานกลาง แดดรำไร
การขยายพันธุ์
แยกหัว แยกกอ
การใช้ประโยชน์
ปลูกประดับสวน หรือไม้ดัด เป็นไม้มงคล มีสรรพคุณทางยา
สรรพคุณทางยา
เหง้าหรือหัว และใบหรือลำต้นเทียมนำมาต้มน้ำดื่ม มีรสขมเล็กน้อย
1.เป็นยาบำรุงโลหิต
2.ใช้ขับพยาธิ
3.รักษาโรคริดสีดวง
4.ช่วยการอยู่ไฟของสตรีหลังคลอด ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
5.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
6.ใช้รักษาอาการใบหน้าเป็นฝ้าหน้าตกกระ
ใบหรือลำต้นเทียมนำมาตำใช้ทาภายนอก
-ใช้ทาหน้ารักษาสิว
-ใช้ทาหน้าลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยให้หน้าเต่งตึง
-ใช้ทารักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ช่วยให้แผลแห้ง และหายเร็ว
-ใช้ทารักษาอาการผดผื่นตามผิวหนัง
สูตรวิธีการใช้ตามภูมิปัญญา
สูตรที่ 1 : บำรุงโลหิตได้ดี โดยเอาใบว่านงาช้างเขียวประมาณ 1 กำมือ
ดองกับเหล้าขาวหรือเหล้าโรง 1 ขวด ดองไว้ประมาณ 1 เดือน
แล้วเอามาดื่มเพียงครั้งละค่อนถ้วยตะไล เวลาเย็นวันละ 1 ครั้ง
หรือจะดื่มเช้าและเย็นก็ได้ ก่อนอาหาร หากว่าไม่ชอบดื่มเป็นเหล้า
ให้เอามาต้มเป็นยาต้มก็ได้ ให้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็นวันละ 2 เวลา
ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล จะทำให้มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง
สูตรที่ 2 : รักษาอาการใบหน้าเป็นฝ้าหน้าตกกระ
โดยเอาใบของว่านงาช้างมาล้างให้สะอาด แล้วเอามาตัดเป็นท่อนสั้นๆ
โขลกหรือทุบให้แตกออกมากๆ เอาไปต้มกับน้ำสะอาด เอาน้ำยาที่ได้มาดื่มครั้งละ
1 ถ้วยตะไล เช้าเย็นอย่างละครั้ง
สูตรที่ 3 : ใช้ขับโลหิตเสีย โลหิตเป็นพิษหลังคลอด
โดยให้เอาใบของว่านงาช้างเขียวมาล้างให้สะอาด ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
โขลกให้ละเอียดเสียก่อน เอามาต้มสัก 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมขึ้นมาพอสมควร
ต้มไปสัก 15 นาที ยกเอาลงมาให้เย็นลงตามปกติ พออุ่นๆก็รินเอาดื่มครั้งละ 1
ถ้วยตะไล เช้าและเย็น ก่อนอาหาร ทุกวัน
สูตรที่ 4 : แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาถ่ายพยาธิ โดยใช้รากสด 5-10 กรัม
นำมาล้างให้สะอาดโขลกให้ละเอียดอาจจะผสมเหล้าโรงเล็กน้อยก็ได้
คั้นเอาแต่น้ำจิบ
สูตรที่ 5 : แก้อาการปวดในหู เอามาเผา แล้วคั้นเอาน้ำออกมา เอาไปหยอดรูหู แก้อาการปวดในหู หูอักเสบ เจ็บปวด หูน้ำหนวกก็ใช้ได้
สูตรที่ 6 : รักษารากผม น้ำคั้นจากว่านมาชโลมเส้นผม รักษารากผมให้สมบูรณ์แข็งแรง เส้นผมดกดำเป็นเงางาม ไม่ร่วงหล่น
สูตรที่ 7 : ลำต้นนำมาตำหรือหั่นเป็นแว่นผสมสุรา กินแก้ลมตีขึ้น
เรียบเรียงโดย : .item2day.com