Home »
Uncategories »
เริ่มแล้ว ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีที่มีการรับโอนเกิน 3,000ครั้งต่อปี ให้สรรพากร
เริ่มแล้ว ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีที่มีการรับโอนเกิน 3,000ครั้งต่อปี ให้สรรพากร
ทุกวันนี้การค้าขายออนไลน์ถือว่าเป็นอีกอาชีพที่มีการโอนเงินและการทำธุรกรรมต่างๆ
จำนวนมากในแต่ละปี หรือว่าอาชีพอื่นๆ
ที่มีการจ่ายเงินทางบัญชีโอนเข้าหรือว่ารับเงิน ได้มีกฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์
เริ่มบังคับใช้แล้ว
มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรม รับโอนผ่านบัญชี
3,000 ครั้งต่อปี
ล่าสุด ทางด้านเพจ TaxBugnoms ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยระบุเป็นข้อๆ ว่า...
เริ่มต้นทำความเข้าใจก่อนว่า
การถูกส่งข้อมูลไม่ใช่การเก็บภาษี การถูกส่งข้อมูลไม่ใช่ถูกเรียกตรวจทันที
การถูกส่งข้อมูลคือการถูกส่งข้อมูลเฉยๆ
1 คนที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลให้สรรพากร
มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ สถาบันการเงิน กับ ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิคส์
หรือพูดสรุปง่ายๆ คือ ธนาคาร กับ ผู้ให้บริการ E wallet นั่นแหละ
2 ทั้งสองกลุ่มนี้
มีหน้าที่ส่งข้อมูลให้ เมื่อรายการเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ไม่ได้เชื่อมโยงกัน
แยกข้อมูลของใครของมัน แต่ดูทุกบัญชีในธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น
เพื่อนำมารวบรวมตรวจสอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขไหม เงื่อนไขที่ว่า คือ
ยอดเงินเข้าบัญชี (ไม่ใช่ยอดเงินออก)
และจำนวนเงินที่เข้าบัญชีทั้งหมดของบุคคล
โดยการนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่ว่านี้ จะนับเป็นรายปี
(นับทั้งปีว่าเข้าเงื่อนไขไหม) ถ้าเข้าเงื่อนไข ถึงจะส่งข้อมูลให้สรรพากร
โดยส่งภายในวันที่31 มีนาคมของทุกปี
3 โดยเงื่อนไขที่จะส่ง มี 2 เงื่อนไข
คือ จำนวนครั้งที่เงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 3000 ครั้งขึ้นไป
ถูกส่งทันทีโดยที่ไม่ต้องสนใจจำนวนเงินรวม และอีกกรณีหนึ่ง คือ
จำนวนครั้งที่เงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป
และจำนวนเงินรวมบัญชีทุกบัญชีรวมกัน ต้องถึง 2 ล้านบาทด้วย โดยทั้ง 2
เงื่อนไขในกรณีนี้ต้องมาพร้อมกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งถึงก็ไม่ถูกส่งข้อมูล
การนับจำนวนครั้งที่ว่า นับเงินเข้าบัญชีทุกกรณี
ไม่ว่าจะโอนเข้าบัญชีตัวเองธนาคารเดียวกัน
ไม่ว่าจะโอนข้ามบัญชีผ่านต่างธนาคาร หลักการสำคัญ คือ ถ้ามียอดเข้า
เท่ากับการนับว่านี่คือ 1 ครั้ง
4 สิ่งที่ทุกคนกังวลใจ คือ
ธนาคารจะเริ่มต้นนับข้อมูลเมื่อไรกันแน่ เพราะกฎหมายเรื่องนี้บังคับใช้
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ข่าวดี คือ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
มีกฎหมายลูกออกมาบอกว่า การนับข้อมูลในปี 2562 จะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่
24 ธันวาคม 2562 นั่นคือ ในปี 2562 นี้ จะนับเพียงแค่ 8 วันจนถึงสิ้นปี
ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขตามที่ว่ามา ก็ไม่มีใครถูกส่งข้อมูลให้กับสรรพากร หรือ
ถ้าให้พูดง่ายๆ กฎหมายออกมาแบบนี้ คือการบอกว่าเริ่มต้นในปี 2563
เต็มปีนั่นแหละ ดังนั้น คนที่กังวลอยู่ สบายใจได้
แต่อย่าลืมจัดการตัวเองให้เรียบร้อยละกัน
5 สำหรับข้อมูลที่ส่งให้สรรพากรนั้น จะเป็นข้อมูลสรุปทั้งหมด ไม่ใช่รายละเอียด คือ
1 เลขประจำตัวประชาชน เลขนิติบุคคล
2 ชื่อ นามสกุล ชือห้างหุ้นส่วนสามัญ ชื่อคณะบุคคล ชื่อนิติบุคคล
3 จำนวนครั้งของการฝาก หรือ รับโอนเงิน ทุกบัญชีรวมกัน
4 จำนวนเงินของการฝาก หรือ รับโอนเงิน ทุกบัญชีรวมกัน
5 เลขที่บัญชีทุกบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน
6 ทีนี้สิ่งที่ต้องทำความเข้่าใจ
คืออะไร พรี่หนอมเกริ่นไปแล้วแต่ขอย้ำอีกทีละกัน การส่งข้อมูล
ไม่ใช่การเรียกเก็บภาษี แต่เป็นการส่งข้อมูลไปให้พี่สรรพากรวิเคราะห์
ดังนั้น การไม่ถูกส่งข้อมูล ก็ไม่ได้แปลว่าจะรอด
ถ้าหากสรรพากรตรวจสอบพบความผิดก็หนักอยู่ดี
สองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกันที่ต้องทำความเข้าใจ
และสิ่งที่เราต้องมีจริงๆ คือ ข้อมูลของเราเองต่างหาก
หลายคนกลัวว่าจะถูกตรวจสอบ คำตอบที่ต้องตอบก่อนคือ
เรามีข้อมูลพิสูจน์หรือยัง ถ้าเราพิสูจน์ว่ายอดเงินนั้นไม่ใช่รายได้
มันก็จบว่าเราไม่ต้องเสียภาษีได้ทันที นี่คือสิ่งสำคัญที่ควรสนใจสุดครับ
เป็นเรื่องที่หลายคนควรรู้ไว้ คนที่ทำธุรกรรมทางการเงินเยอะๆ
โอนรับถ้าเกินอัตราที่กำหนดจะต้องจ่ายภาษี
ศึกษาเอาไว้ใครที่รับโอนเงินเยอะๆ
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก TaxBugnoms