อย่านิ่งนอนใจ!! อาการเท้าบวม ส่งสัญญาณ 11 โรคร้าย หากมีอาการแบบนี้ควรรีบพบแพทย์ด่วน !!

อย่านิ่งนอนใจ!! อาการเท้าบวม ส่งสัญญาณ 11 โรคร้าย หากมีอาการแบบนี้ควรรีบพบแพทย์ด่วน !!

คอยสังเกตกันค่ะว่ามีอาการแบบนี้บ้างหรือเปล่า อย่านิ่งนอนใจ

ระวัง!! “มือ เท้าบวม” ไม่ใช่แค่โรคไต หากมีอาการต้องระวัง!

เพราะร่างกายภายนอกของคนเรา สามารถส่งสัญญาณบอกเราได้ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติของสุขภาพโดยรวม และ “เท้า” ก็เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ส่วนอื่นของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติขึ้น อย่านิ่งนอนใจค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้

เท้าบวมเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

1. โรคไต เท้าบวมกดแล้วมีรอยบุ๋ม อาการบวมรอบตา บวมหน้า สังเกตได้เวลาตื่นนอนหรือช่วงบ่ายๆ หรือมีกิจกรรมในท่ายืนนานๆ สังเกตได้ว่าแหวนหรือรองเท้าที่เคยใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วกดที่มือ และเท้าจะมีรอยกดบุ๋ม เนื่องจากน้ำในร่างกายเกิน คือภาวะของโรคไตที่ไม่สามารถขับน้ำออกมาจากร่างกายได้ ควรเข้าตรวจค่าการทำงานของไตดู (BUN, Cr ) หากค่าผิดปกติอาจเป็นโรคไต ควรรีบไปพบแพทย์

2. โรคหัวใจวาย อาการหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ตอนกลางคืนต้องขึ้นมานั่งหลับ และอาการขาบวมเท้าบวม อันเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียม และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย อาจเกิดจากโรคหัวใจบางชนิด อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น รวมทั้งโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน

3. โรคตับ อาการบวมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับ มักเกิดขึ้นในระยะท้ายของโรค ร่วมกับอาการบวมน้ำที่ท้อง หรือที่เรียกว่าท้องมาน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโปรตีนต่ำในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนชนิดอัลบูมิน ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด โรคตับในระยะท้ายทุกชนิดทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ และพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ

4. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน บวมจากหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันจะบวมขาเดียว (ไม่รวมถึงผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ที่ขาข้างนั้น เพราะคนเป็นอัมพฤกษ์ข้างนั้นจะไม่ได้ขยับขาจะทำให้บวมข้างเดียวได้) จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อพิจารณารักษา หากว่าถ้าทิ้งไว้ ลิ่มเลือดที่ขาจะหลุดลอยไปอุดเส้นเลือดแดงในปอด (pulmonary embolism) เป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้

5. ความผิดปกติในการทำงานของหลอดเลือดดำ อาการปวดขา เท้าบวม อาจรู้สึกขาหนักถ่วงๆ เมื่อยล้า บวม ชา หรือร้อนวูบวาบในบางครั้ง มักเป็นตะคริวในเวลาเย็นหรือกลางคืน โดยที่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำ จนกระทั่งรบกวนความรู้สึก และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาการดังกล่าวถือเป็นอาการเริ่มต้น หรือสัญญาณเตือนของการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดดำอาจมากขึ้นจนเห็นได้ชัด เช่น เส้นเลือดขอดอักเสบ แผลเรื้อรัง อาจเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ได้ เป็นต้น

6. โรคเท้าช้าง สาเหตุเกิดจากถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวร และผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาจะบวมแดง และเมื่อเป็นนานๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้หนา และขรุขระ ขาจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ และอาการขาโต เท้าบวมที่เกิดจากการที่มีพยาธิโรคเท้าช้างตัวแก่ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ได้เข้าไปอุดตันท่อน้ำ

7. เท้าบวมจากอุบัติเหตุหรือการติดเชื้อ มักเกิดจากได้รับอุบัติเหตุ หรือเกิดมีแผลที่เท้าชัดเจน อาการจะบวมๆ แดงๆ ต้องได้ยาฆ่าเชื้อตามพิจารณาของแพทย์

8. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ มักมีอาการเท้าบวมร่วมด้วย เกิดจากผู้ที่ใช้งานข้อเท้าหนัก ยืนนานๆ ใส่รองเท้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รองเท้าส้นสูงมากๆ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเท้าพลิก รวมไปถึงการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมด้วย

9. เท้าบวมจากผลข้างเคียงของยา เช่นยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้แก่ diclofenac, brufen และตัวอื่น ๆ , ยาลดความดันโลหิตโดยเฉพาะยาในกลุ่ม calcium channel blockers ได้แก่ amlodipine, felodipine ยาแก้เวียนหัวเช่น flunarizine และยาอื่น ๆ อีกหลายตัว เป็นต้น

10. การอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง สังเกตว่าขา-เท้าบวมแต่กดไม่บุ๋ม คือ ลองเอานิ้วเราไปกดตรงส่วนที่เรารู้สึกว่าบวม (โดยมากจะเป็นบริเวณหน้าแข้ง จะชัดที่สุด กดด้วยความแรงปานกลางประมาณ 5-10 วินาที แล้วปล่อย สังเกตว่าผิวหนังบริเวณนั้นบุ๋มลงไปหรือไม่) ถ้ากดแล้วไม่บุ๋มเลย คือบวมแบบเนื้อแข็งๆ บางคนจะดูผิวเหมือนเปลือกส้มหนาๆ ขรุขระเล็กน้อย เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย แต่หากสงสัยว่าเป็นก็จำเป็นต้องไปพบแพทย์

11. อาการเท้า-มือบวม ในการตั้งครรภ์เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนแปรปรวน ซึ่งทำให้มีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง การเพิ่มขึ้นของเลือดทั้งหมดในระบบหมุนเวียนเพราะแรงกดที่มีต่อหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น ร่างกายเกิดการกักของเหลวไว้มากกว่าปกติ จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์บางคนมีอาการท้องอืด เท้าบวม ขาบวม หรือมือบวมได้ หากไม่มีอาการผิดปกติอื่นร่วมก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติและสามารถหายได้เอง

แนวทางในการรักษาและข้อควรปฏิบัติ เมื่อมีอาการเท้าบวม

1) การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเกิดความผิดปกติที่มีสาเหตุร้ายแรง หรือไม่ทราบสาเหตุควรพบแพทย์

2) ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปคั่งที่ขา การออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดแข็งแรง ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงเกินไป เช่น กระโดดสูง กระแทกเท้า

3) กินอาหารให้ครบถ้วน เน้นสารอาหารจำพวกวิตามินซี และฟลาโวนอยด์ ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย

4) ไม่กินอาหารรสจัด ลดการกินอาหารที่มีรสเค็มลงให้มาก

5) ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พอดี ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป

6) หากต้องยืนหรือนั่งนานๆ ควรขยับกล้ามเนื้อบริเวณ น่องบ่อยๆ เพื่อดันให้เลือดไหลกลับขึ้นมาด้านบน และลดอาการข้อเท้าบวม

7) ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

8) หลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าสัมผัสกับความร้อน เช่น อาบน้ำที่ร้อนเกินไป ยืนบนพื้นร้อนๆ อาบแดดนานๆ

9) สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ดีต่อสุขภาพ ในผู้หญิงไม่ควรสวมรองเท้าที่สูงเกิน 2 นิ้วขึ้นไป หากจำเป็นก็ไม่ควรสวมใส่เป็นเวลานาน

10) การสวมถุงน่องชนิดยกกระชับจะช่วยพยุง และกระชับกล้ามเนื้อขาได้ ซึ่งมีแรงบีบรีดไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตรปรอท และควรสวมตั้งแต่เท้าจนถึงเหนือเข่า

11) ช่วยให้เลือดบริเวณเท้าหมุนเวียน โดยการยกเท้าสูงประมาณ 45 องศาขณะนอนพัก จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น จึงนอนต่อในท่าปกติ

เมื่อมีอาการขา-เท้าบวม ควรสังเกตอาการและความผิดปกติเพื่อบอกเล่าให้แพทย์ทราบ จะช่วยให้การวินิจฉัยสาเหตุได้อย่างแม่นยำมากขึ้น มีข้อเสนอแนะดังนี้

1) สังเกตว่าเท้าที่บวมมีอาการปวด แดง หรือร้อน ร่วมด้วยหรือไม่ หรือลองกดดูว่าเจ็บหรือไม่

2) สังเกตว่าเท้าบวมทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว

3) สังเกตว่าบวมเฉพาะที่หลังเท้า หรือบวมเลยขึ้นมาถึงหน้าแข้ง

4) สังเกตว่าบวมเวลาใดมากเป็นพิเศษ เช่น ตอนเช้าตื่นนอนไม่ค่อยบวม ตกเย็นจะบวมมาก หรือว่าบวมเท่าๆ กันทั้งวัน

อาการเท้าบวมเกิดได้จากสาเหตุค่ะ ซึ่งจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างถูกต้องเสียก่อน จากนั้นจึงดำเนินการรักษาต่อไปตามแต่ละสาเหตุ หลักการวินิจฉัยขึ้นกับประวัติอาการเจ็บป่วยโดยละเอียด โรคประจำตัวของผู้ป่วย การตรวจร่างกายรวมทั้งอวัยวะที่เกี่ยวข้อง บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเป็นพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค เมื่อมีข้อบ่งชี้บางประการ ดังนั้นเมื่อมีอาการขา-บวมอย่างผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

ข้อมูลและภาพจาก kaijeaw