อยากเก็บของกินได้นาน มาล้างตู้เย็นกันเถอะ! สเต็ปล้างตู้เย็นขั้นเทพ…สะอาด ไร้กลิ่นเนิ่นนาน
ถ้าใครอยากรู้วิธีทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดทุกซอกทุกมุม งานนี้ไม่ยากอีกต่ไปค่ะ ถ้าไม่เชื่อลองมาลุยทำตามวิธีล้างตู้เย็นกันจ้า
ปัญหาของเสีย เก็บได้ตู้เย็นไม่กี่วันก็เน่า อาจเป็นเพราะตู้เย็นของคุณสกปรกเกินไปก็เป็นได้!
ตู้เย็นบ้านไหนมีสภาพรกไปด้วยของกินมากมายจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แถมยังเริ่มจะส่งกลิ่นเหม็นตุ ๆ ออกมาแล้วอีกต่างหาก มาเร่งทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดทุกตารางนิ้วตามสเต็ปต่อไปนี้กันเลยเถอะ
1. ทำตู้เย็นให้โล่ง
ก่อนจะล้างตู้เย็นเราต้องเคลียร์พื้นที่ตู้เย็นให้สะดวกกับการทำความสะอาด โดยเริ่มแรกให้ถอดปลั๊กตู้เย็นออกก่อนเพื่อความปลอดภัย แล้วจึงค่อยขนย้ายของที่แช่อยู่ในตู้เย็นออกมาให้หมดทุกชิ้น เปิดทางให้ตู้เย็นโล่งและง่ายต่อการเช็ดถู
2. คัดผู้เข้ารอบ
อาหารและของที่ย้ายออกมาจากตู้เย็น ต้องมีชิ้นที่เน่าเสียและใช้ไม่ได้แล้วปะปนอยู่ไม่มากก็น้อยฉะนั้นถึงคราวที่เราต้องมาคัดแยกของเก่าเน่าเสียออกไป คงเหลือไว้แต่อาหารที่สดใหม่ ไร้เชื้อราให้อยู่ต่อ อ้อ ! แล้วอาหารที่เปื้อนคราบน้ำและดูมอมแมมก็อย่าลืมล้างทำความสะอาดก่อนด้วยนะจ๊ะ
3. ถอดชิ้นส่วนประกอบ
ภายในตู้เย็นจะมีชิ้นส่วนประกอบ เช่น ถาดรอง ชั้นวางของตามข้างประตูตู้เย็น ซึ่งก็คงเปรอะเปื้อนด้วยคราบสกปรกอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นเราก็ควรถอดออกมาให้หมดทุกชิ้น แล้วนำมาล้างทำความสะอาดให้หมดจด
4. ล้างซะให้หมดจด
หลังจากเคลียร์พื้นที่ตู้เย็นจนโล่งแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาทำความสะอาดตู้เย็นแล้วล่ะค่ะ โดยเริ่มจากนำชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ถอดออกไว้มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วนำไปผึ่งลมไว้ให้หมาดน้ำ ต่อด้วยใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจานผสมน้ำค่อย ๆ เช็ดไปตามพื้นที่ในตู้เย็นทุกซอกทุกมุม เสร็จแล้วใช้ฟองน้ำชุบน้ำสะอาดเช็ดฟองจากน้ำยาล้างจานออกให้หมด ซึ่งขั้นตอนนี้อาจต้องทำซ้ำกันหลายครั้งหน่อย
แต่สำหรับคราบสกปรกฝังแน่นที่น้ำยาล้างจานเอาไม่อยู่ ลองผสมน้ำอุ่นกับแอมโมเนียในอัตรา น้ำ 4 ส่วนต่อแอมโมเนีย 1 ส่วน จากนั้นนำชิ้นส่วนที่ฝังแน่นมาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงขัดด้วยฟองน้ำตามปกติ ทั้งนี้สำหรับพื้นที่ภายในตู้เย็นและชิ้นส่วนประกอบที่ไม่ติดคราบฝังแน่นก็ให้ล้างด้วยน้ำอุณหภูมิปกติผสมน้ำยาล้างจานก็พอค่ะ
5. กำจัดกลิ่นเหม็นให้หายเกลี้ยง
แม้จะทำความสะอาดตู้เย็นแล้วแต่ก็ยังได้กลิ่นเหม็นตุ ๆ ภายในตู้เย็นอยู่ อย่างนี้ต้องผสมเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำร้อน ¼ ถ้วยตวง นำมาล้างพื้นที่ภายในตู้เย็น เบกกิ้งโซดาจะช่วยดูดกลิ่นเหม็นที่ตกค้างพร้อมทั้งกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียทั้งหลายอย่างอยู่หมัด
6. อย่าลืมขอบประตูตู้เย็น
หลายคนล้างตู้เย็นค่อนข้างบ่อย แต่ก็ยังแปลกใจว่าทำไมตู้เย็นถึงยังมีเชื้อราเหมือนสะอาดไม่จริงอยู่อีก หรือนั่นจะเป็นเพราะว่าคุณหลงลืมพื้นที่บริเวณขอบประตูตู้เย็นไปซะเฉย ๆ ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าล้างตู้เย็นครั้งนี้ก็นำผ้าชุบเบกกิ้งโซดาผสมน้ำมาเช็ดตามขอบประตูตู้เย็น และบริเวณซอกมุมของประตูตู้เย็นทุกตารางนิ้วเลยดีกว่า แค่นี้ตู้เย็นก็สะอาดหมดจดเหมือนเพิ่งถอยออกมาใหม่ ๆ แล้วล่ะ
7. ประกอบชิ้นส่วนชั้นวางของ
เมื่อแน่ใจว่าทำความสะอาดตู้เย็นหมดจดทุกซอกมุมแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาประกอบชิ้นส่วนชั้นวางของที่เราถอดออกมาทำความสะอาดสักที แต่ก่อนประกอบกลับเข้าที่เดิม ลองเช็กความสะอาดอีกสักรอบก็ดีเหมือนกันนะคะ
8. ทยอยเก็บของเข้าตู้เย็น
อาหารและของที่รื้อออกมาจากตู้ในตอนแรก ให้ทยอยนำกลับเข้าไปแช่ในตู้เย็น โดยทางที่ดีให้คุณจัดวางอย่างเป็นระบบ ด้วยการคัดแยกเป็นหมวดหมู่ ลำดับอาหารที่เก็บไว้ได้นานอยู่ด้านใน ส่วนของสดก็จัดไว้ด้านนอก เพื่อที่เราจะได้เห็นได้ชัดเจนและนำมาปรุงรับประทานก่อน ส่วนกล่องอาหารที่ปิดฝามิดชิด อาจจะนำโพสต์อิทมาแปะบอกไว้ว่าของในกล่องเป็นอะไร สมาชิกในบ้านจะได้รู้ ไม่ต้องรื้อค้นตู้เย็นจนรกอีก
9. วางกับดักกลิ่นเหม็น
ของสดอัดแน่นอยู่ในตู้เย็นมากขนาดนี้ แน่นอนว่าปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จะตามมาในไม่ช้า ฉะนั้นเพื่อป้องกันกลิ่นอับในตู้เย็น เราควรวางกับดักเอาไว้ก่อน โดยอาจจะวางถ่านดับกลิ่น, ผงกาแฟสด หรือเบกกิ้งโซดาใส่แก้ววางทิ้งไว้ด้านในตู้เย็น เพื่อให้ดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายในตู้เย็นออกไป ทั้งนี้ควรเปลี่ยนที่ดับกลิ่นทุกเดือนด้วยนะคะ
10. เพิ่มกลิ่นหอมในตู้เย็น
แค่กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์อาจไม่พอ ใครอยากให้ตู้เย็นมีกลิ่นหอมทุกครั้งที่เปิดตู้อาจชุบสำลีกับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นวานิลลา, กลิ่นส้ม, กลิ่นเลมอน หรือกลิ่นอื่น ๆ ที่คุณปลื้ม แล้วนำไปวางทิ้งไว้ในตู้เย็น จนกลิ่นเริ่มจางแล้วค่อยเปลี่ยนสำลีอีกสักรอบ ส่วนในช่องผักสดด้านล่าง แนะนำให้ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงสีน้ำตาลวางทิ้งไว้ในช่องผักสด กระดาษเหล่านี้จะช่วยดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยให้ผักมีความสดใหม่ได้นานกว่าเดิมอย่างน่าทึ่งเชียวล่ะ
จัดการทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดเหมือนใหม่และเข้าที่เข้าทางแล้ว คราวนี้ก็เสียบปลั๊กตู้เย็นให้ทำงานได้ตามปกติแล้วจ้า
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก home.kapook.com
ถ้าใครอยากรู้วิธีทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดทุกซอกทุกมุม งานนี้ไม่ยากอีกต่ไปค่ะ ถ้าไม่เชื่อลองมาลุยทำตามวิธีล้างตู้เย็นกันจ้า
ปัญหาของเสีย เก็บได้ตู้เย็นไม่กี่วันก็เน่า อาจเป็นเพราะตู้เย็นของคุณสกปรกเกินไปก็เป็นได้!
ตู้เย็นบ้านไหนมีสภาพรกไปด้วยของกินมากมายจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แถมยังเริ่มจะส่งกลิ่นเหม็นตุ ๆ ออกมาแล้วอีกต่างหาก มาเร่งทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดทุกตารางนิ้วตามสเต็ปต่อไปนี้กันเลยเถอะ
1. ทำตู้เย็นให้โล่ง
ก่อนจะล้างตู้เย็นเราต้องเคลียร์พื้นที่ตู้เย็นให้สะดวกกับการทำความสะอาด โดยเริ่มแรกให้ถอดปลั๊กตู้เย็นออกก่อนเพื่อความปลอดภัย แล้วจึงค่อยขนย้ายของที่แช่อยู่ในตู้เย็นออกมาให้หมดทุกชิ้น เปิดทางให้ตู้เย็นโล่งและง่ายต่อการเช็ดถู
2. คัดผู้เข้ารอบ
อาหารและของที่ย้ายออกมาจากตู้เย็น ต้องมีชิ้นที่เน่าเสียและใช้ไม่ได้แล้วปะปนอยู่ไม่มากก็น้อยฉะนั้นถึงคราวที่เราต้องมาคัดแยกของเก่าเน่าเสียออกไป คงเหลือไว้แต่อาหารที่สดใหม่ ไร้เชื้อราให้อยู่ต่อ อ้อ ! แล้วอาหารที่เปื้อนคราบน้ำและดูมอมแมมก็อย่าลืมล้างทำความสะอาดก่อนด้วยนะจ๊ะ
3. ถอดชิ้นส่วนประกอบ
ภายในตู้เย็นจะมีชิ้นส่วนประกอบ เช่น ถาดรอง ชั้นวางของตามข้างประตูตู้เย็น ซึ่งก็คงเปรอะเปื้อนด้วยคราบสกปรกอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นเราก็ควรถอดออกมาให้หมดทุกชิ้น แล้วนำมาล้างทำความสะอาดให้หมดจด
4. ล้างซะให้หมดจด
หลังจากเคลียร์พื้นที่ตู้เย็นจนโล่งแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาทำความสะอาดตู้เย็นแล้วล่ะค่ะ โดยเริ่มจากนำชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ถอดออกไว้มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วนำไปผึ่งลมไว้ให้หมาดน้ำ ต่อด้วยใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจานผสมน้ำค่อย ๆ เช็ดไปตามพื้นที่ในตู้เย็นทุกซอกทุกมุม เสร็จแล้วใช้ฟองน้ำชุบน้ำสะอาดเช็ดฟองจากน้ำยาล้างจานออกให้หมด ซึ่งขั้นตอนนี้อาจต้องทำซ้ำกันหลายครั้งหน่อย
แต่สำหรับคราบสกปรกฝังแน่นที่น้ำยาล้างจานเอาไม่อยู่ ลองผสมน้ำอุ่นกับแอมโมเนียในอัตรา น้ำ 4 ส่วนต่อแอมโมเนีย 1 ส่วน จากนั้นนำชิ้นส่วนที่ฝังแน่นมาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงขัดด้วยฟองน้ำตามปกติ ทั้งนี้สำหรับพื้นที่ภายในตู้เย็นและชิ้นส่วนประกอบที่ไม่ติดคราบฝังแน่นก็ให้ล้างด้วยน้ำอุณหภูมิปกติผสมน้ำยาล้างจานก็พอค่ะ
5. กำจัดกลิ่นเหม็นให้หายเกลี้ยง
แม้จะทำความสะอาดตู้เย็นแล้วแต่ก็ยังได้กลิ่นเหม็นตุ ๆ ภายในตู้เย็นอยู่ อย่างนี้ต้องผสมเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำร้อน ¼ ถ้วยตวง นำมาล้างพื้นที่ภายในตู้เย็น เบกกิ้งโซดาจะช่วยดูดกลิ่นเหม็นที่ตกค้างพร้อมทั้งกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียทั้งหลายอย่างอยู่หมัด
6. อย่าลืมขอบประตูตู้เย็น
หลายคนล้างตู้เย็นค่อนข้างบ่อย แต่ก็ยังแปลกใจว่าทำไมตู้เย็นถึงยังมีเชื้อราเหมือนสะอาดไม่จริงอยู่อีก หรือนั่นจะเป็นเพราะว่าคุณหลงลืมพื้นที่บริเวณขอบประตูตู้เย็นไปซะเฉย ๆ ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าล้างตู้เย็นครั้งนี้ก็นำผ้าชุบเบกกิ้งโซดาผสมน้ำมาเช็ดตามขอบประตูตู้เย็น และบริเวณซอกมุมของประตูตู้เย็นทุกตารางนิ้วเลยดีกว่า แค่นี้ตู้เย็นก็สะอาดหมดจดเหมือนเพิ่งถอยออกมาใหม่ ๆ แล้วล่ะ
7. ประกอบชิ้นส่วนชั้นวางของ
เมื่อแน่ใจว่าทำความสะอาดตู้เย็นหมดจดทุกซอกมุมแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาประกอบชิ้นส่วนชั้นวางของที่เราถอดออกมาทำความสะอาดสักที แต่ก่อนประกอบกลับเข้าที่เดิม ลองเช็กความสะอาดอีกสักรอบก็ดีเหมือนกันนะคะ
8. ทยอยเก็บของเข้าตู้เย็น
อาหารและของที่รื้อออกมาจากตู้ในตอนแรก ให้ทยอยนำกลับเข้าไปแช่ในตู้เย็น โดยทางที่ดีให้คุณจัดวางอย่างเป็นระบบ ด้วยการคัดแยกเป็นหมวดหมู่ ลำดับอาหารที่เก็บไว้ได้นานอยู่ด้านใน ส่วนของสดก็จัดไว้ด้านนอก เพื่อที่เราจะได้เห็นได้ชัดเจนและนำมาปรุงรับประทานก่อน ส่วนกล่องอาหารที่ปิดฝามิดชิด อาจจะนำโพสต์อิทมาแปะบอกไว้ว่าของในกล่องเป็นอะไร สมาชิกในบ้านจะได้รู้ ไม่ต้องรื้อค้นตู้เย็นจนรกอีก
9. วางกับดักกลิ่นเหม็น
ของสดอัดแน่นอยู่ในตู้เย็นมากขนาดนี้ แน่นอนว่าปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จะตามมาในไม่ช้า ฉะนั้นเพื่อป้องกันกลิ่นอับในตู้เย็น เราควรวางกับดักเอาไว้ก่อน โดยอาจจะวางถ่านดับกลิ่น, ผงกาแฟสด หรือเบกกิ้งโซดาใส่แก้ววางทิ้งไว้ด้านในตู้เย็น เพื่อให้ดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายในตู้เย็นออกไป ทั้งนี้ควรเปลี่ยนที่ดับกลิ่นทุกเดือนด้วยนะคะ
10. เพิ่มกลิ่นหอมในตู้เย็น
แค่กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์อาจไม่พอ ใครอยากให้ตู้เย็นมีกลิ่นหอมทุกครั้งที่เปิดตู้อาจชุบสำลีกับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นวานิลลา, กลิ่นส้ม, กลิ่นเลมอน หรือกลิ่นอื่น ๆ ที่คุณปลื้ม แล้วนำไปวางทิ้งไว้ในตู้เย็น จนกลิ่นเริ่มจางแล้วค่อยเปลี่ยนสำลีอีกสักรอบ ส่วนในช่องผักสดด้านล่าง แนะนำให้ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงสีน้ำตาลวางทิ้งไว้ในช่องผักสด กระดาษเหล่านี้จะช่วยดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยให้ผักมีความสดใหม่ได้นานกว่าเดิมอย่างน่าทึ่งเชียวล่ะ
จัดการทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจดเหมือนใหม่และเข้าที่เข้าทางแล้ว คราวนี้ก็เสียบปลั๊กตู้เย็นให้ทำงานได้ตามปกติแล้วจ้า
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก home.kapook.com