พาไปทำความรู้จักกับวัดพุทไธศวรรย์ วัดโบราณอันสำคัญยิ่งในสมัยอยุธยา
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใดในปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
ไปเที่ยวชมได้วันไหนบ้าง เราค้นหาคำตอบมาไว้ให้แล้ว
ว่ากันว่า "วัดพุทไธศวรรย์" เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยอยุธยา สร้างมายาวนานกว่า 600 ปี และปัจจุบันยังคงมีความสมบูรณ์สวยงามน่าไปเที่ยวชม ในเรื่องบุพเพสันนิวาสวัดนี้่ก็มีความสำคัญ ด้วยเป็นสถานที่ฝึกดาบฝึกอาคมของลูกศิษย์อาจารย์ชีปะขาว มีการพูดถึงในหลาย ๆ ตอนของละครเรื่องนี้ วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้ให้มากขึ้นค่ะ :)
1. ที่ตั้งวัดพุทไธศวรรย์
วัดพุทไธศวรรย์ ปัจจุบันตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันตก ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิกัด : 14.339782, 100.557519 ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ ติดกับที่ของวัดตำหนัก (ร้าง) ทิศตะวันออก ติดกับโรงเรียนพุทไธศวรรย์ และทิศตะวันตก ติดกับบ้านเรือนราษฎร
ภาพจาก Phongsak Meedaenphai / Shutterstock.com
2. พระราชอนุสรณ์แห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ตามประวัติศาสตร์กล่าวกันว่าวัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อครั้งที่ทรงอพยพมาอยู่กรุงศรีอยุธยาในช่วงก่อนที่จะมีการสถาปนา พอหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ 3 ปี แล้ว ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1896 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ รวมอายุแล้วจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2561) ก็ 665 ปี
ภาพจาก tongcom photographer / Shutterstock.com
3. วัดสำคัญยิ่งตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์
มีบันทึกเกี่ยวกับวัดพุทไธศวรรย์ในหลายช่วงตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้บอกเล่าว่าที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่เป็นสถานที่ตั้งค่าย อย่างในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ วัดพุทไธศวรรย์ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งทัพของพม่าในคราวที่ยกทัพมาล้อมกรุง เพื่อทำการรบกับกรุงศรีอยุธยา ส่วนในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ราว พ.ศ. 2243 สมเด็จกรมหลวงโยธาเทพ และสมเด็จกรมหลวงโยธาทิพ สมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวาของพระองค์ ได้ทูลลาสมเด็จพระเจ้าเสือออกจากพระราชวัง พร้อมด้วยเจ้าตรัสน้อยราชบุตร ไปตั้งนิวาสสถานอยู่ใกล้วัดพุทไธศวรรย์
ในช่วงตอนปลายสมัยอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ก็ยังได้เป็นสถานที่ประกอบการเมรุสำคัญถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ปี พ.ศ. 2258 กรมหลวงโยธาทิพทิวงคต ณ ตำหนักริม วัดพุทไธศวรรย์ ก็ได้มีการสร้างพระเมรุทองขึ้นตามราชประเพณีที่วัดแห่งนี้ ครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมเด็จกรมหลวงโยธาเทพทิวงคต ณ ตำหนักริม วัดพุทไธศวรรย์ เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้สร้างพระเมรุมาศขึ้นที่วัดแห่งนี้ตามโบราณราชพิธี
ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการบันทึกอ้างถึงวัดพุทไธศวรรย์หลายครั้ง โดยในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ก็ได้สถาปนาให้วัดนี้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
4. พระมหาธาตุและสถานที่สำคัญภายในวัด
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดพุทไธศวรรย์ก็คือ "พระมหาธาตุ" หรือปรางค์ประธานสีขาวสะอาดตา มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบปราสาทขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพทีที่รองรับไปถึงมณฑปที่อยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้อีก 2 หลัง มีบันไดขึ้น 2 ทาง คือทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก
บริเวณรอบพระปรางค์จะมีพระระเบียง ด้านนอกทึบ ด้านในมีเสารับเครื่องบนหลังคาและชายคาเป็นระยะ ๆ มีพระพุทธรูปสีทองอร่ามศิลปะแบบสุโขทัยเรียงรายอยู่อย่างสวยงาม
วิหารพระพุทไธศวรรย์ (วิหารพระนอน) ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรพลาดของวัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ในเขตพุทธาวาส ตัวอาคารนั้นปัจจุบันเหลือแต่เพียงกำแพง และองค์พระพุทธไสยาสน์ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อาทิ พระอุโบสถ, ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์, พระอนุสาวรีย์กษัตริย์ 3 พระองค์, จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น
5. ตำนานเหล็กไหล จตุคามรามเทพ และสำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์
นอกจากจะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและสำคัญแล้ว วัดพุทไธศวรรย์ยังถูกพูดถึงในแง่ที่ว่าเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปและเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ ด้านในอุโบสถเป็นสถานที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย ลักษณะศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น สมัยก่อนใครเจ็บป่วยก็มาขอหลวงพ่อดำให้หายเจ็บป่วย ขอบุตรก็จะได้บุตร และยังมีการเล่าขานกันว่าอดีตวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารก่อนที่จะออกศึกสงคราม จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ด้านอยู่ยงคงกระพัน
โดยเฉพาะในช่วงสมัยที่พระพุทไธศวรรย์วรคุณ หรือหลวงพ่อหวล ภูริภัทโท เป็นเจ้าอาวาส ก็ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหล็กไหล ใครรับไปบูชาก็รอดพ้นจากอันตราย ไม่มีใครทำร้ายได้
ส่วนองค์ท่านพ่อจตุคามรามเทพที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดนั้น มีลักษณะเป็นรูปหล่อขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนิยมมากราบไหว้ขอพรกันในช่วงวันหยุด
6. การเข้าเที่ยวชมวัดพุทไธศวรรย์
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าเที่ยวชมวัดพุทไธศวรรย์ สามารถเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
7. เส้นทางการไปวัดพุทไธศวรรย์
จากกรุงเทพฯ ขึ้นทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน ไปลงที่เชียงรากน้อยบรรจบกับถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก ขับตรงไปอีกนิดเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ตรงไปจนถึงสี่แยกวรเชษฐ์ เลี้ยวขวามาทางอยุธยาพาวิเลียน ตรงไปจนเจอไฟแดงแรก เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3469 ตรงไปอย่างเดียวจะมีป้ายบอกตลลอดทาง
ส่วนใครไม่มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถนั่งรถตู้โดยสารประจำทางไปลงได้ที่ตัวเมืองอยุธยา แล้วเช่าเหมารถตุ๊กตุ๊ก หรือสองแถวไปยังวัดพุทไธศวรรย์ หรือถ้าขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้ ก็เช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยวรอบ ๆ กรุงเก่าอยุธยาก็ได้ค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 6076
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอยุธยา, ททท., putthaijatukam.com, watboran,
ว่ากันว่า "วัดพุทไธศวรรย์" เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยอยุธยา สร้างมายาวนานกว่า 600 ปี และปัจจุบันยังคงมีความสมบูรณ์สวยงามน่าไปเที่ยวชม ในเรื่องบุพเพสันนิวาสวัดนี้่ก็มีความสำคัญ ด้วยเป็นสถานที่ฝึกดาบฝึกอาคมของลูกศิษย์อาจารย์ชีปะขาว มีการพูดถึงในหลาย ๆ ตอนของละครเรื่องนี้ วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้ให้มากขึ้นค่ะ :)
1. ที่ตั้งวัดพุทไธศวรรย์
วัดพุทไธศวรรย์ ปัจจุบันตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันตก ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิกัด : 14.339782, 100.557519 ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ ติดกับที่ของวัดตำหนัก (ร้าง) ทิศตะวันออก ติดกับโรงเรียนพุทไธศวรรย์ และทิศตะวันตก ติดกับบ้านเรือนราษฎร
ภาพจาก Phongsak Meedaenphai / Shutterstock.com
2. พระราชอนุสรณ์แห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ตามประวัติศาสตร์กล่าวกันว่าวัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อครั้งที่ทรงอพยพมาอยู่กรุงศรีอยุธยาในช่วงก่อนที่จะมีการสถาปนา พอหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ 3 ปี แล้ว ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1896 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ รวมอายุแล้วจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2561) ก็ 665 ปี
ภาพจาก tongcom photographer / Shutterstock.com
3. วัดสำคัญยิ่งตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์
มีบันทึกเกี่ยวกับวัดพุทไธศวรรย์ในหลายช่วงตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้บอกเล่าว่าที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่เป็นสถานที่ตั้งค่าย อย่างในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ วัดพุทไธศวรรย์ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งทัพของพม่าในคราวที่ยกทัพมาล้อมกรุง เพื่อทำการรบกับกรุงศรีอยุธยา ส่วนในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ราว พ.ศ. 2243 สมเด็จกรมหลวงโยธาเทพ และสมเด็จกรมหลวงโยธาทิพ สมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวาของพระองค์ ได้ทูลลาสมเด็จพระเจ้าเสือออกจากพระราชวัง พร้อมด้วยเจ้าตรัสน้อยราชบุตร ไปตั้งนิวาสสถานอยู่ใกล้วัดพุทไธศวรรย์
ในช่วงตอนปลายสมัยอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ก็ยังได้เป็นสถานที่ประกอบการเมรุสำคัญถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ปี พ.ศ. 2258 กรมหลวงโยธาทิพทิวงคต ณ ตำหนักริม วัดพุทไธศวรรย์ ก็ได้มีการสร้างพระเมรุทองขึ้นตามราชประเพณีที่วัดแห่งนี้ ครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมเด็จกรมหลวงโยธาเทพทิวงคต ณ ตำหนักริม วัดพุทไธศวรรย์ เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้สร้างพระเมรุมาศขึ้นที่วัดแห่งนี้ตามโบราณราชพิธี
ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการบันทึกอ้างถึงวัดพุทไธศวรรย์หลายครั้ง โดยในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ก็ได้สถาปนาให้วัดนี้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
4. พระมหาธาตุและสถานที่สำคัญภายในวัด
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดพุทไธศวรรย์ก็คือ "พระมหาธาตุ" หรือปรางค์ประธานสีขาวสะอาดตา มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบปราสาทขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพทีที่รองรับไปถึงมณฑปที่อยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้อีก 2 หลัง มีบันไดขึ้น 2 ทาง คือทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก
บริเวณรอบพระปรางค์จะมีพระระเบียง ด้านนอกทึบ ด้านในมีเสารับเครื่องบนหลังคาและชายคาเป็นระยะ ๆ มีพระพุทธรูปสีทองอร่ามศิลปะแบบสุโขทัยเรียงรายอยู่อย่างสวยงาม
วิหารพระพุทไธศวรรย์ (วิหารพระนอน) ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรพลาดของวัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ในเขตพุทธาวาส ตัวอาคารนั้นปัจจุบันเหลือแต่เพียงกำแพง และองค์พระพุทธไสยาสน์ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อาทิ พระอุโบสถ, ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์, พระอนุสาวรีย์กษัตริย์ 3 พระองค์, จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น
นอกจากจะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและสำคัญแล้ว วัดพุทไธศวรรย์ยังถูกพูดถึงในแง่ที่ว่าเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปและเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ ด้านในอุโบสถเป็นสถานที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย ลักษณะศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น สมัยก่อนใครเจ็บป่วยก็มาขอหลวงพ่อดำให้หายเจ็บป่วย ขอบุตรก็จะได้บุตร และยังมีการเล่าขานกันว่าอดีตวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารก่อนที่จะออกศึกสงคราม จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ด้านอยู่ยงคงกระพัน
โดยเฉพาะในช่วงสมัยที่พระพุทไธศวรรย์วรคุณ หรือหลวงพ่อหวล ภูริภัทโท เป็นเจ้าอาวาส ก็ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหล็กไหล ใครรับไปบูชาก็รอดพ้นจากอันตราย ไม่มีใครทำร้ายได้
ส่วนองค์ท่านพ่อจตุคามรามเทพที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดนั้น มีลักษณะเป็นรูปหล่อขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนิยมมากราบไหว้ขอพรกันในช่วงวันหยุด
6. การเข้าเที่ยวชมวัดพุทไธศวรรย์
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าเที่ยวชมวัดพุทไธศวรรย์ สามารถเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
7. เส้นทางการไปวัดพุทไธศวรรย์
จากกรุงเทพฯ ขึ้นทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน ไปลงที่เชียงรากน้อยบรรจบกับถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก ขับตรงไปอีกนิดเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ตรงไปจนถึงสี่แยกวรเชษฐ์ เลี้ยวขวามาทางอยุธยาพาวิเลียน ตรงไปจนเจอไฟแดงแรก เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3469 ตรงไปอย่างเดียวจะมีป้ายบอกตลลอดทาง
ส่วนใครไม่มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถนั่งรถตู้โดยสารประจำทางไปลงได้ที่ตัวเมืองอยุธยา แล้วเช่าเหมารถตุ๊กตุ๊ก หรือสองแถวไปยังวัดพุทไธศวรรย์ หรือถ้าขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้ ก็เช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยวรอบ ๆ กรุงเก่าอยุธยาก็ได้ค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 6076
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอยุธยา, ททท., putthaijatukam.com, watboran,