สวยต้อนรับวันแม่! น้องปีใหม่ งามอย่างไทยไหว้ แม่แอฟ สวยแพ็คคู่ราวกับนางในวรรณคดีไทย (ชมคลิปท้ายข่าว)
ต้องบอกว่าแม้ว่าจะซนแต่พอเวลาทำงาน “น้องปีใหม่ เตชะณรงค์” ลูกสาวคนสวยของ “แอฟ ทักษอร” กับ “สงกรานต์ เตชะณรงค์” ก็สวยและกิริยางดงามใช่ย่อย เมื่อถ่ายขนมไทย และแต่งหน้าโดย “น้องฉัตร ฉัตรชัย เพียงอภิชาติ” ช่างแต่งหน้าฝีแปรงเทพ ผู้แปรงโฉมคนดังพลิกลุคมาหลายคนแล้วโพสต์ถึงน้องปีใหม่และแอฟในการถ่ายแบบสุดงามและมีความกุลสตรีไทยและน่ารักแม้จะอายุน้อยแต่น้องฉัตรก็ยืนยันในไอจีว่าน้องปีใหม่ทำงานราวกับมืออาชีพเลยทีเดียว น้องฉัตร ช่างแต่งหน้าเล่าในไอจีส่วนตัวว่าได้มีโอกาสแต่งหน้าและผมให้กับแอฟและน้องปีใหม่ในการถ่ายภาพโฆษณาขนมไทย มีซีนการไหว้ที่น้องปีใหม่ก็ทำได้ดี และสวยงามตามแบบฉบับหญิงไทย สวยทั้งแม่ทั้งลูก
เรียกว่าราวกับหลุดมาจากภาพวาดกันเลยทีเดียว สำหรับฝีมือการแต่งหน้าและทำผมนั้นเป็นฝีมือของน้องฉัตรและทีมงาน ส่วนพวงมาลัยวันแม่ และขนมไทยงามๆ นั้นเป็นของ@khamwhan545 photo by @narakornphotography ชุดไทยคุณแอฟ @fullrichbride ชุดไทยน้องปีใหม่ @patchareethaifabric และเครื่องประดับ @guru.chang งามจริงสวยราวกับภาพวาดเลยจ้า
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2561 เพื่ออัญเชิญลงหนังสือวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2561 ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ความว่า ‘เมื่อเรารวมกำลังกันทั้งชาติ ย่อมสามารถช่วยไทยไขปัญหา ผนึกแรงหลอมรวมร่วมปัญญา จักนำพาชาติตนรอดพ้นภัย’
แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็น วันแม่แห่งชาติ อย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศรับรองเอาไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่เป็นส่วนงานของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง
จึงได้มอบหมายให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พุทธศักราช 2493 เป็นต้นมา อีกทั้งการจัดงานก็เป็นได้ด้วยความสำเร็จ เนื่องด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ จึงทำให้การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ซึ่งก็คือวันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ โดยได้เริ่มประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2519 เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2520 มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า … “แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม
แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล”
ความสำคัญของวันแม่
วันแม่แห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ทำให้เราต้องหวนกลับมาระลึกถึงพระคุณของ แม่ ผู้ให้กำเนิด แม่ผู้เลี้ยงดู รวมถึงแม่ของแผ่นดิน เพราะแม่เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดในชีวิต คือ บุคลลผู้ให้ชีวิต ผู้คอยคุ้มครอง ผู้มอบความอบอุ่น แม่ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่คอยปกป้องลูกๆ ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนคอยผลักดันให้ลูกเกิดความสำเร็จในทุกๆ ด้าน
ในประเทศไทย ทางราชการจะมีการจัดงานวันแม่อย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะแม่ของแผ่นดิน พร้อมกันนั้นก็ยังมีการจัดงานประกาศเกียรติคุณเพื่อมอบรางวัล แม่ดีเด่น ที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก รวมถึงแม่คนอื่นๆ ในแต่ละปีอีกด้วย
ดอกมะลิ
เป็นที่รู้กันว่า “ดอกมะลิ” เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากดอกมะลิถือเป็นดอกไม้มงคลของไทย ดั้งเดิมคนไทยนิยมนำดอกมะลิไปบูชาพระในวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา เพราะมีสีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมยาวนานออกดอกได้ตลอดทั้งปี รวมถึงการนำไปผลิตเป็นกลิ่นต่างๆ ที่มีฤทธิ์เป็นยาหอมอย่างดีของไทยเรา
ดอกมะลิเปรียบถึงความรักอันบริสุทธิ์ ที่แม่มีต่อลูก และมีอย่างยาวนานตลอดไป เสมือนสีและกลิ่นของดอกมะลิที่ขาวตลอดเวลาและหอมอบอวนตลอดทั้งวันทั้งคืน ในประเพณีไทยการไหว้มารดาจึงนิยมใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้หลัก และในบางแห่งได้มีการนำดอกมะลิทำเป็นเข็มกลัด ติดที่ปกเสื้อหรืออกเสื้อ เพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติ
พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499 นับแต่นั้นมาพระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายที่สำคัญ โดยได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปยังทุกพื้นที่ของประเทศไทย
โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่ได้ขยายเป็นวงกว้างไปยังทุกพื้นที่ในประเทศไทย คือ “โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับคนไทย พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่กับสืบไป นอกจากนั้นยังทรงดำรงตำแหน่ง
“สภานายิกาสภากาชาดไทย” ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะกุศลที่ก่อตั้งขึ้น โดยมีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระนามเดิม: หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ; พระราชสมภพ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475)
เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และโดยพระชนมายุจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช
ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ปีเดียวกันนั้น ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 (ภายหลังคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)