นาทีระทึก! ตร.เร่งหาสาเหตุ ไฟไหม้ไปรษณีย์สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เสียหายนับล้าน

นาทีระทึก! ตร.เร่งหาสาเหตุ ไฟไหม้ไปรษณีย์สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เสียหายนับล้าน (ชมคลิปท้ายข่าว)


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันนี้ (5 ส.ค.) เกิดเหตุเพลิงไหม้สำนักงานไปรษณีย์สาขาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จุดต้นเพลิงเกิดขึ้นบริเวณด้านหลัง ก่อนลุกลามขึ้นเพดานหลังคา อย่างรวดเร็วจนเกิดกลุ่มควันจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ส่งรถดับเพลิงจำนวน 6 คัน เข้าฉีดน้ำดับไฟ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงควบคุมเพลิงได้

จากการตรวจสอบพบอุปกรณ์สำนักงาน โต๊ะเก้าอี้ พัดลม เพดาน เครื่องใช้ไฟฟ้า และ ช่องคัดแยกพัสดุได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 1 ล้านบาท ส่วนไปรษณีย์และพัสดุ เจ้าหน้าที่ระบุว่าไม่ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ปิดพื้นที่ไว้ รอเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้

สำหรับสาเหตุเพลิงไหม้ เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จนเกิดประกายไฟลุกไหม้ ขณะที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเพลิงไหม้ ทำให้ไปรษณีย์สันกำแพงต้องหาสถานที่เพื่อให้บริการประชาชนชั่วคราว ไม่ให้กระทบต่อการให้บริการ เนื่องจากจุดดังกล่าวเป็นจุดให้บริการรับส่งและคัดแยกพัสดุ ส่วนสถานที่เดิมต้องมีการปรับปรุงใหม่ คาดว่าน่าจะใช้เวลานานนับเดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาคารไปรษณีย์สาขาสันกำแพง ได้งบสร้างใหม่ได้ประมาณไม่เกิน 2 ปี มีชั้นเดียว ไฟไหม้เฉพาะด้านหลังเสียหายบางส่วน ส่วนเอกสารทางไปรษณีย์ไปส่งไปหมดแล้ว มีแต่ของประมาณ 5 ชื้อ ที่ถูกน้ำดับเพลิงเสียหายเล็กน้อย หลังไฟไหม้ไปรษณีย์สาขาสันกำแพง ได้มีพ่อแม่ค้ามามุงดูต่างพูดกันว่า หวยรัฐบาลไหม้ไหม ทางไปรษณีย์จะให้พ่อค้าแม่มารับในวันที่ 6 ส.ค.นี้ นอกจากนั้นผู้คนที่มามุงดู ว่าดีนะที่ไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลไปก่อน

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเสียหายไม่น้อยเลยทีเดียวดังนั้น หากมีการป้องกันหรือการเตรียมความพร้อมไว้ หรือการระงับอัคคีภัยมีดังนี้  สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ไฟจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีองค์ประกอบ 3 อย่าง เชื้อเพลิง คือ สิ่งที่ติดไฟและลุกไฟ้ได้ อาทิ กระดาษ ไม้ ผ้า ถ่าน แอลกอฮอล์ น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สหุงต้ม ฯลฯ
ความร้อน

คือ สิ่งที่ทำให้เชื้อเพลิงมีอุณหภูมิสูงจนถึงจุดติดไฟและเกิดการลุกไหม้ เมื่อมีเปลวไฟหรือประกายไฟ ออกซิเจน คือ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยไฟจะลุกไหม้ได้ดีเมื่อมีออกซิเจนประมาณร้อยละ 15 ซึ่งในอากาศจะพบออกซิเจนประมาณร้อยละ 20 จึงเอื้อต่อการติดไฟ ไฟจะติดได้เมื่อมีองค์ประกอบครบ 3 อย่าง

ทั้งนี้หากขาดองค์ประกอบของไฟชนิดใดชนิดหนึ่ง ไฟก็ไม่สามารถติดลุกได้ การป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด คือการตัดโอกาสที่องค์ประกอบทั้งสามจะเจอกัน แต่ถ้าเกิดไฟไหม้ขึ้นแล้ว เราต้องทำการกำจัดองค์ประกอบของไฟชนิดใดชนิดหนึ่งออกจากขบวนการเผาไหม้อย่างเหมาะสม อาทิ การทำให้อับอากาศ ตัดเชื้อเพลิงหรือการลดความร้อน เพื่อป้องกันการลุกลามและสามารถดับไฟได้ในที่สุด

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ได้กำหนดแบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์และระบบป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารในรูปแบบต่าง ดังนี้ 1) อาคารทั่วไป ควรมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ดังนี้

เครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง และเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเครื่องทุกระยะห่าง 45 เมตร ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น อย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง อาทิ ระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ เช่น Heat Detector หรือ Smoke Detector ระบบแจ้งเหตุแบบใช้มือ (Manual Station) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เช่น Fire Alarm Bell

ระบบไฟฟ้าสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light) ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ประตูหนีไฟทุกชั้น ทุกบาน ทั้นด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟ ด้วยอักษรขนาดไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร 2) อาคารขนาดใหญ่ เครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง และเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเครื่องทุกระยะห่าง 45 เมตร

ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น อย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง อาทิ ระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ เช่น Heat Detector หรือ Smoke Detector ระบบแจ้งเหตุแบบใช้มือ (Manual Station) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เช่น Fire Alarm Bell ระบบไฟฟ้าสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light) ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ประตูหนีไฟทุกชั้น ทุกบาน ทั้นด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟ ด้วยอักษรขนาดไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร

ตัวหัวฉีดน้ำดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์ (Fire Hose Cabinet:FHC) บันไดหนีไฟอย่างน้อย 2 บันไดมีประตูกันไฟพร้อมอุปกรณ์ปิดประตูอัตโนมัติ ติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นบริเวณโถงลิฟต์ทุกแห่ง ทุกชั้นของอาคารให้ชัดเจน โดยแสดงตำแหน่งห้องต่างๆ ทุกห้อง ตำแหน่งที่ติดอุปกรณ์ดับเพลิง และประตูหรือทางหนีไฟของชั้นนั้น
3) อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ

เครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น อาทิ ระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ เช่น Heat Detector หรือ Smoke Detector ระบบแจ้งเหตุแบบใช้มือ (Manual Station) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เช่น Fire Alarm Bell ระบบไฟฟ้าสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light) หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Generator)

ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ประตูหนีไฟทุกชั้น ทุกบาน ทั้นด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟ ติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นให้ชัดเจน โดยแสดงตำแหน่งที่ติดอุปกรณ์ดับเพลิง และประตูหรือทางหนีไฟของชั้นนั้น ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์(Fire Hose Cabinet:FHC) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น Sprinkler System

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ถังเก็บน้ำสำรอง บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีระบบระบายอากาศป้องกันควันเข้าภายในช่องบันไดและมีไฟฟ้าส่องสว่างฉุกเฉิน ลิฟต์ดับเพลิงไม่น้อยกว่า 1 ชุด ถนนโดยรอบอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
ดาดฟ้าและมีพื้นที่ว่างบนดาดฟ้าขนาดไม่น้อยกว่า 10 เมตร x 10 เมตร การใช้งานเครื่องดับเพลิง 1. ดึง วางเครื่องดับเพลิงลงบนพื้น ดึงสลักนิรภัยออกจากคันบีบ

หากดึงไม่ออกให้ใช้การบิดแล้วค่อยดึงสลักให้หลุดออกมา 2. ปลดBasic-offire_03 การปลดสายฉีดของเครื่องดับเพลิงออกควรจับบริเวณปลายสายฉีดแล้วดึงจะทำให้ง่ายกว่าจับที่บริเวณโคนสาย 3. กด กดคันบีบด้านบนเครื่องดับเพลิงเพื่อให้สารในเครื่องออกมาใช้ในการดับเพลิง 4. ส่าย การส่ายปลายสายฉีดไปมาเพื่อดับเพลิงควรส่ายหัวฉีดไปให้ทั่วบริเวณฐานของไฟหรือต้นเพลิง ระยะห่างประมาณ 3-4 เมตร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 199 ศูนย์วิทยุตำรวจนครบาล โทร 191 สายด่วน กอ.รมน. โทร 1374 สายด่วนภาครัฐ โทร 1111 ศูนย์นเรนทร โทร 1669

คลิป