แฉต่อเนื่อง! อาหารกลางวันเด็กที่ขอนแก่น เมนู “ข้าวคลุกวิญญาณไก่” ผู้ว่าฯสั่งสอบด่วน
จากกรณีที่ผู้ปกครองของโรงเรียนอนุบาลขอนแก่นเข้าร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.ขอนแก่น เพื่อขอความเป็นธรรม และต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการอาหารกลางวัน ที่มีการจัดสรรอาหารให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นที่มีลักษณะที่ไม่ถูกหลักอนามัย ไม่เป็นไปตามหลักโภชนาการ และอาหารบางอย่างนั้น รับประทานไม่ได้ ตามข่าวมี่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นความคืบหน้าในเรื่องนี้ นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว โดยมี น.ส.เบญจวรรณ สุดจริง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียนการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน โรวเรียนอนุบาลขอนแก่น
นายฉัตรชัย อุ่นเจริญ นายอำเภอเมืองขอนแก่น เป็นกรรมการ และ น.ส.พัชลี เชาว์พลกรัง ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคำสั่งระบุว่า ให้คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน และเสนอผลการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนบ้านท่าใหม่ ม.17 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ฯ (เด็กโตน้ำแกงหมูสับ)” ในคลิปเผยให้เห็นภาพเด็กเล็กใส่เสื้อกั๊ก บางรายก็มีลักษณะเหมือนขนมจีนราดแกงแต่ก็มองไม่ขัดว่าเป็นน้ำแกงอะไร ทำให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียสกันเป็นจำนวนมาก ว่า เกิดการทุจริตในโครงการอาหารกลางวัน
แต่บางรายก็ให้ข้อคิดว่าอาจเป็นเพราะเด็กรับประทานเผ็ดไม่ได้ จึงต้องราดน้ำปลา บางรายรับประทานเผ็ดได้ก็ราดน้ำแกง เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 1 มิ.ย. ที่สำนักงานพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขตที่ 2 นายจักรรินทร์ อภิสมัย รอง.ผอ.ฝ่ายบริหารงานบุคคล รักษาการผู้อำนวยการ เปิดเผยว่า ยังไม่เห็นคลิปดังกล่าว แต่ทราบเรื่องข้อพิพาทแล้วและตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว
เนื่องจากวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีผู้ปกครองและนักเรียนจำนวนหนึ่งรวมตัวประท้วงการปฏิบัติงานโดยมิชอบของนายสมเชาว์ สิทธิเชนทร์ ผอ.โรงเรียนบ้านท่าใหม่ โดยในวันนั้นทาง นายวิสูตร อินทรกำเนิด นายอำเภอท่าชนะได้ส่งปลัดอำเภอเข้ารับเรื่องจากชาวบ้าน และนายจักริน อักษรสม นิติกรชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 ได้ลงตรวจสอบในวันเดียวกัน
ซึ่งชาวบ้านได้ยื่นข้อร้องเรียนในการปฏิบัติหน้าจำนวน 10 ข้อ แนบรายชื่อผู้ปกครองจำนวน 193 ราย ซึ่งข้อร้องเรียนทั้ง 10 ข้อ ระบุว่า 1.มีการทุจริตโครงการอาหารกลางวัน 2.ทุจริตการก่อสร้างอาคารที่ผู้รับเหมาเป็นคนใกล้ตัวและอาคารที่สร้างไม่ได้มาตรฐานตามงบประมาณ 3.ทุจริตซ่อมแซมบ้านพักครู 4.ผอ.ซื้อน้ำอัดลมขายในโรงเรียน
5.ทุจริตการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าเนื่องจากไม่ทำตามแบบพัสดุ 6.ทุจริตเงินค่าปาล์มน้ำมันของโรงเรียน 7.ทุจริตก่อสร้างถนนหน้าอาคารเรียน 8.ทุจริตโครงการเลี้ยงปลาดุก 9.ทุจริตเลีเยงไก่พันธุ์ไข่ และ10.ปูกระเบื้องอาคารเรียน ทั้งนี้ ได้ออกหนังสือคำสั่งให้ นายสมเชาว์ สิทธิเชนทร์ ผอ.โรงเรียน ออกจากพื้นที่ และให้เข้าช่วยราชการประจำสำนักงานเขตฯ
ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.61โดยหลังจากนี้ทางสำนักงานพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขตที่ 2 จะดำเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนทั้ง 10 ข้อ ภายใน 30 วัน ตามระเบียบ และจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้อาหารกลางวันโรงเรียน เป็นเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาช้านาน ว่า
ควรจะมีการเพิ่มค่าอาหารรายหัวให้เด็กได้กินอาหารอย่างมีคุณภาพเพียงพอ โดยที่ผ่านมา พบว่า งบประมาณรายหัวอาหารกลางวันเด็กนักเรียน บางแห่งไปถึง 20 หรือ น้อยกว่า 15 บาทด้วยซ้ำ ทำให้เด็กได้รับอาหารกลางวันที่ไร้คุณค่าทางอาหาร ล่าสุด เพจสุราษฎร์ธานี ได้แชร์คลิประหว่างมื้ออาหารกลางวัน โดยพบว่า อาหารที่อยู่ในถาดหลุมเป็นขนมจีนเปล่าๆ
โดยมีเสียงผู้ถ่ายคลิปบรรยายว่า อาหารกลางวันคือ ขนมจีนกับน้ำปลา โดยพบว่าเด็กบางคนมีน้ำราด คล้ายกับน้ำพริกน้ำยา พร้อมกับแตงกวา 1-2 ชิ้น เท่านั้น โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “31/พ.ค./61 ขนมจีนกับน้ำปลา คือ อาหารกลางวันเด็ก ของ #โรงเรียนบ้านท่าใหม่ หมู่ที่17 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี (เด็กโต =น้ำแกงหมูสับ)”
เดี๋ยวเรามาดูความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อเด็กกันเลยดีกว่าค่ะ โภชนาการที่ดีย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ แต่จากการสำรวจเด็กไทยทั่วประเทศ 2.29 ล้านคน ในปี 2557 พบว่า
มีเด็กไทยมีปัญหาโภชนาการทั้งขาดและเกิน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดบริการให้แก่นักเรียนมีคุณภาพต่ำ แม้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 จากวันละ 13 บาทต่อคน เพิ่มเป็นวันละ 20 บาทต่อคน
รวมงบประมาณเกือบ 25,000 ล้านบาท โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บริหารจัดการงบอาหารกลางวันดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้การจัดการอาหารดีขึ้น แต่ยังขาดสารอาหารที่จำเป็นและอาจยังไม่เพียงพอ เพราะต้องยอมรับว่า การควบคุมคุณภาพอาหารให้ได้มาตรฐานนั้น ทำได้ยาก โดยเฉพาะโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สังกัด อปท.ขนาดเล็ก
ยังขาดความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการที่ถูกต้อง นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยให้ความสำคัญกับโภชนาการเด็กเป็นอันดับต้นๆ โดยได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันนักเรียนตั้งแต่ พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน
โดยเฉพาะเรื่องการจัดบริการอาหารที่ได้มาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย โดยงบอาหารกลางวันที่ ครม.มีมติเพิ่มเป็น 20 บาทนั้น จะส่งผลให้นักเรียนทั่วประเทศเกือบ 6 ล้านคนได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากจะให้งบประมาณเหล่านี้เกิดประโยชน์สูงสุด อปท.ที่จะรับไปบริหารจัดการต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก
ทั้งนี้ จากการติดตามของกรมอนามัยพบว่า มีโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับการโอนเงินค่าอาหารกลางวันนักเรียนมื้อละ 20 บาท จาก อปท.หรือโอนเงินล่าช้ามาก ทำให้นักเรียนขาดโอกาส ไม่ได้กินอาหารที่มีคุณภาพ หรือบางแห่งยังจัดบริการอาหารกลางวันที่ไม่ได้คุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น ความพร้อมของแม่ครัว
ระบบการจ้างเหมาที่โรงเรียนไม่สามารถควบคุมคุณภาพและวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารได้ หรือครูผู้ดูแลยังไม่มีความรู้การจัดการอาหารที่ดีพอ ทั้งเรื่องคุณค่าอาหารและปริมาณที่เพียงพอ ทำให้อาหารไม่ได้คุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนอันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตต่อพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้าน เพราะการจัดอาหารเด็กไม่ใช่ให้ได้รับอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพียงอย่างเดียว
ยังต้องจัดการในด้านปริมาณที่เหมาะสมของสารอาหารแต่ละประเภท เช่น แคลเซียมช่วยในการเติบโตด้านความสูง วิตามินเอช่วยบำรุงผิวพรรณและการมองเห็น และธาตุเหล็กช่วยพัฒนาสมองด้านความจำและการเรียนรู้ และสถิติที่พบยังมีเด็กที่มีภาวะเตี้ยมากถึงร้อยละ 35.9 สะท้อนถึงการจัดอาหารที่ขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินเอ ดังนั้นต้องเพิ่มผัก ตับ และเนื้อสัตว์
“กรมอนามัยได้ค้นพบรูปแบบในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการอาหารกลางวันให้มีประสิทธิผล คือการมีครัวกลาง หรือครัวประจำท้องถิ่นที่มีแม่ครัวและนักโภชนาการประจำอยู่ โดยนำงบประมาณทั้งหมดมารวมกันและควบคุมคุณภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว เมื่อปรุงอาหารเสร็จก็จัดส่งไปตามโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป
เช่น อบต.เมืองแก จ.สุรินทร์ ที่ได้ตั้งครัวกลางขึ้นจนประสบความสำเร็จไปแล้ว” อาหารกลางวันเด็กจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับนโยบายของ อปท.ว่าจะมีวิธีการบริหารอย่างไรให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์และคุณภาพทางโภชนาการเต็มวงเงินคนละ 20 บาทต่อมื้อ ตามที่รัฐบาลจัดสรรให้