ค้นพบ “รอยพระพุทธบาท” เเห่งใหม่ กึ่งกลางฝ่าเท้าเป็นรูปธรรมจักร ที่เทือกเขาภูพาน จ.อุดรธานี

เมื่อไม่น่ามานี้ ได้มีการค้นพบ “รอยพระพุทธบาท” เเห่งใหม่ ซึ่งกึ่งกลางฝ่าเท้าเป็นรูปธรรมจักร พบที่เทือกเขาภูพาน จ.อุดรธานี เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ชาวเน็ตให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ได้เผยแพร่เรื่องราวการค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อุดรธานี โดยได้โพตระบุข้อความว่า…

“ตามรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ดินแดนอุดรธานี ซึ่งโรงเรียนภูพระบาทวิทยา ได้ดั้นด้นปีนขึ้นสู่ภูเขือน้ำ เทือกภูพานตะวันตก ที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านใหม่ ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ไปทางทิศเหนือ

ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ออกตามหารอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ ที่พึ่งถูกค้นพบเมื่อปีก่อนโดยชาวบ้านในท้องถิ่น ที่ยังไม่ถูกบันทึกไว้ในระบบข้อมูลโบราณวัตถุของหน่วยงานแต่อย่างไร ซึ่งลักษณะรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบนี้ ตรงกึ่งกลางฝ่าเท้าเป็นรูปธรรมจักร โดยแกะสลักรอยหิน เป็นรูปแกนล้อมด้วยกลีบบัว ประมาณ 17-18 กลีบ แล้วมีวงกลมล้อมอีกรอบ

และถัดออกมาอีกจะแกะเป็นขาธรรมจักร 8 ขา ล้อมรอบด้วยวงกลมด้านนอกสุด และสลักรูปธรรมจักรบนหัวนิ้วเท้าทั้งห้า .. และตรงข้อนิ้วเป็นรูปลายข้าวหลามตัดเว้นระยะไว้เป็นช่องๆ

ด้านข้างรอยพะพุทธบาท จะมีร่องรอยการเจาะเป็นร่องรูหินกะจายเป็นจุดๆ สันนิษฐานว่า… เป็นที่ตั้งของเสาไม้มุงหลังคา ที่ผุพังไปตากาลเวลารอยนี้จะแตกต่างกับรอยพระพุทธบาทบัวบกที่ตรงกลางพระพุทธบาทจะเป็นลักษณะกลีบบัวบาน

และรอยพระพุทธบาทหลังเต่าตรงกลางจะเป็นกลีบบัวเล็กเรียวกว่า..เมื่อเดินไปถึงจุดหมาย น้องๆ ทีมงานช่วยกันวิดน้ำฝนที่ท่วมขัง และกวาดขี้โคลนออกจากรอยพระพุทธบาทจนสะอาดตา สภาพเดิมเมื่อค้นพบใหม่ๆ จะมีทรายปิดทับรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นหินสีธรรมชาติ

และต่อมาชาวบ้านได้นำสีทองมาทาทับไว้และห่างออกไปราว 50 เมตร บนโขลดหินด้านบนขึ้นไปอีก ปรากฏว่า มีร่องหินคล้ายรอยเท้า แต่ไม่มีการสลักหินเป็นรูปบนฝ่า และมีขนาดเล็กกว่ารอยแรกที่พบอย่างชัดเจน

โดยก่อนจะเดินขึ้นมาถึงจุดที่รอยพระพุทธบาทประทับอยู ประมาณ 200 เมตร จะเห็นภาพเขียนสีรูปกนหอยสีแดง เขียนวนออกด้านนอกเป็นรัศมีคล้ายพระอาทิตย์ส่องประกายแสงอยู่หลายวง บนหน้าผาโขลดหิน คล้ายกับภาพเขียนที่ถ้ำคน ถ้ำวัว และกลุ่มภาพเขียนสีแดง

รูปลายเลขาคณิตที่กระจัดกระจายอยู่บนพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และคล้ายกับภาพเขียนสีลายก้นหอยสีแดง ที่แหล่งโบราณสถานบ้านเชียง ที่มีอายุราว 2,500-1,800 ปีก่อนประวัติศาสตร์ ที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ประมาณ 100 กิโลเมตร

ส่วนเรื่องอายุของรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบนี้ จะมีอายุเท่าไหร่และอยู่ในยุคสมัยใด คงต้องรอการพิสูจน์หลักฐานทางโบราณคดีกันต่อไป โรงเรียนภูพระบาทวิทยา โครงการศึกษาข้อมูลรายงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี”

สำหรับใครที่มีโอกาสได้กราบไหว้รอยพระพุทธบาท ถือว่า เป็นบุญที่มีอานิสงส์มาก มีผู้ที่ขึ้นมากราบไหว้และขอพรกลับไป มีผู้สมปรารถนาก็มากมาย

 

แหล่งที่มา: สมชัย คำเพราะ, Anucha_Lakawe , สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1