Home »
Uncategories »
“อิติปิโสแปดทิศ” คาถาโบราณของ “หลวงปู่ศุข” ใช้ป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาในชีวิต
“อิติปิโสแปดทิศ” คาถาโบราณของ “หลวงปู่ศุข” ใช้ป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาในชีวิต
วันนี้เราขอนำเสนอคาถาโบราณ “อิติปิโสแปดทิศ” ป้องกันคุณไสย
มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กระทู้เจ็ดแบกอิติปิโส ๘
ทิศเป็นคาถาใช้ประจำตัวได้ผลดียิ่งนัก
อิระชาคะตะระสาอิ
ติหังจะโตโรถินังติ ปิสัมระโลปุตสัตพุทปิ โสมานะกริถาโธโส ภะสัมสัมวิสะเทภะ
คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโธโนอะมะมะวา อะวิสุนุสานุสติอะ กัณหะเนหะหะกัณเนกัณ
กันด้วยนโมพุทธายะ
ป้องกันคุณไสย วิญญาณ ภูติ ผีทั้งปวง
เสกทรายสาดไล่ภูติผี เสกหินวางไว้ ๘ ทิศ เป็นอาคมปกป้องตัวเรา
เป็นคาถาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ถ่ายทอดให้หลวงพ่อทวีศักดิ์วัดหนองแขม
ท่านอนุญาตให้เผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
ก่อนจะใช้นึกถึงบารมีหลวงปู่ศุขแล้วท่านจะคุ้มครอง
รากฐานของไสยเวทก็คือพระคาถาพื้นๆ
ที่เรามักลืมกันไป บางคนเสาะแสวงหาพระคาถาวิเศษแปลกๆ เร้นลับอัศจรรย์
แล้วก็ปกปิดหวงกันสุดชีวิต จนลืมไปว่าพระคาถาวิเศษที่ใครๆ ก็รู้จักนั้น
ตัวเราสามารถฝึกให้ใช้ได้ผลจริงครบตามอุปเท่ห์แล้วหรือยัง
อิติปิโสคือพระพุทธนามคือพระพุทธคุณเป็นของกลางไม่ผูกขาดสำนักไหนแต่ว่าสำเร็จยาก
ครูบาอาจารย์ท่านมักบอกว่าคาถานี้ “เป็นยาก”
ฝึกนานแต่เสถียรคือเสื่อมยากเช่นกัน
ถ้าสำเร็จวันใดใช้คาถานี้บทเดียวก็ไปได้ทั่วไม่ต้องกลัวใคร
อิระชาคะตะระสา
บทนี้ชื่อกระทู้เจ็ดแบก ประจำอยู่ทิศบูรพา ติหังจะโตโรถินัง
บทนี้ชื่อฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเนย์ ปิสัมระโลปุสัตพุท
บทนี้ชื่อนารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ โสมาณะกะริถาโธ
บทนี้ชื่อนารายณ์ถอดจักร ประจำอยู่ทิศหรดี ภะสัมสัมวิสะเทภะ
บทนี้ชื่อนารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม
คะพุทปันทูธัมวะคะ บทนี้ชื่อนารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ
วาโธโนอะมะมะวา บทนี้ชื่อตวาดฟ้าป่าพระหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร
อะวิชสุนุตสานุสติ บทนี้ชื่อนารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน
สิทธิการิยะ
ฝอยของพระอิติปิโส แปดด้านแปดทิศ มีฤทธิ์อเนกประการ ป้องกันสรรพภัย
คุ้มครองได้ดังบัญหาร อุปเท่ห์ของอาจารย์ เหลือประมาณท่วมหลังช้าง
แม้นจะยาตราไป ณ ทิศใดทุกถิ่นทาง จงสวดคาถาอ้าง ตามทิศาทางจะครรไล
หรือไม่ก็เสกน้ำ
คาถาร่ำอย่านอนใจ น้ำมนต์นั่นแลไซร้
ประพรมให้ทั่วกายา ทั้งสัตว์พาหนะ ก็ควรประให้จึงคลา กันเหตุเภทภัยยา
ไม่มีมาและผ้องพาน คุ้มได้สารพัด ทั้งสรรพสัตว์แลชนพาล บ่อาจมารุกราน
ให้รำคาญแลเคืองใจ ถึงหากถูกผีหลวง สิ้นทั้งปวงไม่เป็นไร ไปค้ามีกำไร
คงจะไม่ขาดทุนเอย
บทหนึ่งชื่อกระทู้เจ็ดแบก
อาจารย์จำแนกไว้บูชา เสกข้าวกินทุกวัน อาจป้องกันเครื่องศาสตรา
อนึ่งเล่าภาวนา แล้วหันหน้าสู่คชสาร อาจเข้าหักงวงคชา ด้วยพลาอันห้าวหาญ
มีกำลังเหลือประมาณ ยิ่งช้างสารอันตกมัน พระฤๅษีทั้งเจ็ดองค์
ท่านดำรงอยู่ทิศนั้น เมื่อจักอภิวันท์ หันพักตร์นั้นทางทิศบูรพา
อาคเนย์ฝนแสนห่า ใช้ภาวนาคราเดินทาง ถึงเดินสิ้นทั้งวัน
เรื่องน้ำนั้นอย่าระคาง เสกหมากกินไปพลาง สิบห้าคำอ้างกินเรื่อยไป
แม้นใคร่ให้มีฝน อย่าร้อนรนจงเย็นใจ ให้เสกไส้เทียนชัย เสกให้ได้แสนเก้าพัน
แล้วให้นึกถึงเทเวศร์ ผู้เรืองเดชในสวรรค์ อินทร์พรหมสิ้นด้วยกัน
ตลอดถึงชั้นอกนิษฐ์
ฝนก็จะตกหนัก เพราะอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ แม้นเกิดโรคอันวิปริต
จงพินิจภาวนา เอาน้ำทำน้ำมนต์ แล้วพร่ำบ่นพระคาถา เสกพ่นสักเจ็ดครา
มิทันช้าก็จักหาย อาคเนย์นามทิศา จงหันหน้าไปโดยหมาย เคารพครูบรรยาย
แล้วจึงร่ายคาถาเอย
นารายณ์กลืนสมุทร
ฤทธิรุธทิศทักษิณ เรื่องฝีเกลื่อนหายสิ้น ไม่ต้องกินเสกพริกไทย
เจ็ดเม็ดเสกเจ็ดหน แล้วจงพ่นลงทันใด สามคราก็จักหาย สมดังใจที่จำนง
อนึ่งใช้เสกปูน สำหรับสูญหัวฝีลง มิช้าฝีก็คง ยุบย่อลงในทันใด
ภาวนาลงกระดาษ อย่าประมาทจงตั้งใจ ฟั่นเทียนเอาทำไส้
เทียนนั้นไซร้บาทหนึ่งหนา
ลงคาถาล้อมให้รอบ ตามระบอบอย่ากังขา เท่ากำลังเทวดา ตามชันษาผู้เป็นไข้
แล้วจุดบูชาพระ อย่าได้ละภาวนาไป มิช้าไข้นั้นไซร้ จักเสื่อมคลายสูญหายเอย
หรดีพึงสำเหนียก
มีชื่อเรียกเป็นสองอย่าง คือนารายณ์คลายจักรอ้าง กับอีกอย่างพลิกแผ่นดิน
มีฤทธิ์และศักดา ทั้งเดชาดังโกสินทร์ ภาวนาเป็นอาจิณ ยำเกรงสิ้นเหล่าศัตรู
รำลึกแต่ในใจ ข้าศึกไซร้ไม่ขืนสู้ หย่อนกำลังพรั่งพรู ไม่คิดสู้เราต่อไป
มาตรแม้นคนใจกล้า พอเห็นหน้าก็อ่อนไป ครูเฒ่าท่านสอนไว้
แม้สิ่งใดมีประสงค์
สิ่งนั้นพลันต้องได้ สมดังใจคิดจำนง เพราะคาถาเป็นมั่นคง อย่างวยงงจงบูชา
คุณครูผู้บรรยาย ท่านเร่ย้ายหรดีทิศา เมื่อจะภาวนา จงหันหน้าทิศนั้นเอย
ทิศประจิมนามประหลาด
ชื่อตวาดหิมพานต์ มีเดชอันห้าวหาญ ดุจช้างสารไม่กลัวตาย พบช้างแลปะเสือ
ที่ดุเหลือทั้งโคควาย อีกทั้งโจรดุร้าย ก็อย่าได้นึกกลัวมัน จงนิ่งภาวนา
พระคาถาไปฉับพลัน เปนมหาจังงังอัน วิเศษยิ่งอย่ากริ่งใจ สัตว์ร้ายแลคนพาล
มิอาจหาญเข้ามาใกล้ ให้แคล้วให้คลาดไป จงท่องไว้ทั้งเช้าค่ำ
อนึ่งเมื่อภาวนา จงหันหน้าอย่าถลำ ทิศประจิมจงกระทำ เคารพคำทิศนั้นเอย
พายัพอีกนามทิศ
มหิทธิฤทธินั้นมากหลาย ชื่อนารายณ์กลืนจักร มีฤทธิ์ศักดิ์นั้นย้อนยอก
ครูเฒ่าท่านกล่าวมา หากแม้นลูกไม่ออก เอาน้ำใส่ขันจอก แล้วเปล่งออกซึ่งวาจา
เสกน้ำทำน้ำมนต์ ร้อยแปดหนด้วยคาถา ให้กินอย่ารอช้า พรมกายาตลอดศีรษ์
บุตรน้อยจะค่อยเคลื่อน ขยับเขยื้อนเคลื่อนอินทรีย์ สะเดาะเสกวารี
หากไม่มีน้ำกระสาย จงเป่าด้วยคาถา ไม่ทันช้าหลุดกระจาย ครูประสิทธิบรรยาย
ท่านเร่ย้ายอยู่พายัพ เพื่อเป็นการคำนับตามตำรับอาจารย์เอย
นารายณ์ขว้างจักรเลิศลบ
อีกนามหนึ่งตรึงไตรภพ สองชื่อย่อมลือจบ ทั่วพิภพเรืองเดชา ภาวนาสูดลมไซร้
ว่าให้ได้สักสามครา คอยดูที่ฉายา ถ้าเห็นว่าเงาหายไป ครานั้นจงชื่นชม
ทั่วนิคมหาเห็นไม่ บังตาหายตัวไป ครูกล่าวไว้เร่งบูชา ตามบทพระคาถา
ที่กล่าวมาแต่ต้นเอย
อีสานนามแถลง นารายณ์แปลงรูปโดยหมาย
ภาวนาอย่าระคาย ศัตรูร้ายแปลกเราไป เมื่อจะสะเดาะแล้วไซร้
เสกให้ได้ร้อยแปดคาบ ตั้งใจให้แน่วแน่ ครั้นถ้วนแท้เป่ากระหนาบ
ต้องหลุดอย่างราบคาบ ได้เคยปราบเห็นประจักษ์ ถ้าชอบทางเสน่ห์
ทำเป็นเล่ห์ให้เขารัก น้ำหอมอย่างหอมนัก
จงรู้จักที่อย่างดี
แล้วเสกให้บ่อยๆ อย่างน้อยๆ ร้อยแปดที แล้วเก็บไว้ให้ดี
ถึงคราวที่จะต้องใช้ เสกอีกสักเจ็ดหน ประกายตนแล้วจึงไป เป็นเสน่หาอาลัย
ทั้งหญิงชายทุกภาษา ไม่ว่าชนชั้นใด แต่พอได้เห็นพักตรา ให้รักด้วยเมตตา
ประหนึ่งว่าเปนลูกหลาน แคล้วคลาดเหล่าศัตรู สิ้นทั้งหมู่อันธพาล
ครูอยู่ทิศอีสาน จงนมัสการแลบูชา อนึ่งจงตั้งใจ หันหน้าไปสู่ทิศา
อีสานแล้วภาวนา พระคาถาบทนี้เอย
ต้นฉบับพระคาถานี้โดยเป็นบันทึกของพระยากสิการบัญชาท่านว่าตระกูลท่านเป็นนักรบมาหลายชั่วคนและพระคาถานี้ได้สั่งสอนสืบทอดกันมาในตระกูลของท่าน
แต่จากการค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่าผู้ที่คิดปริศนาพระคาถาอิติปิโสแปดทิศนี้คือพระอาจารย์วัดพนัญเชิงกรุงเก่าผู้เป็นอาจารย์ของพระเจ้าสายน้ำผึ้งแห่งอาณาจักรศรีรามเทพนคร
ซึ่งเกิดก่อนอาณาจักรกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาหลายศตวรรษ
พระอาจารย์องค์นี้แหละที่ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติกล่าวว่า
พระเจ้าสายน้ำผึ้งจะยกพลไปขุดบางเตย
พระอาจารย์ห้ามไว้ว่าน้ำเค็มนักยังไม่ถึงพุทธทำนายสร้างไม่ได้
เชื่อว่าพระคาถาบทนี้เกิดขึ้นที่วัดพนัญเชิงก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา
พระคาถาโบราณที่กล่าวมาข้างต้น เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานคะ
แหล่งที่มา: sportringside