สัตว์ป่าคุ้มครอง มีกี่ชนิด
รู้ไหม ในจำนวนนี้มี "เสือ" อยู่ 5 ชนิด ที่ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
และใกล้จะสูญพันธุ์ ลองมาดูว่าเรารู้จักพวกมันมากน้อยแค่ไหน
ทุกวันนี้มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่ถูกมนุษย์ไล่ล่าและคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างหนักจนใกล้จะสูญพันธุ์ นั่นจึงทำให้มีการกำหนด "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535" ขึ้น เพื่ออนุรักษ์และปกป้องสัตว์ป่าเหล่านี้ ซึ่งในส่วนของสัตว์ป่าคุ้มครองจะแบ่งสัตว์ออกเป็น 7 ประเภทคือ
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด
- นก 952 ชนิด
- สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด
- ปลา 14 ชนิด
- แมลง 20 ชนิด
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด
รวมทั้งหมด 1,302 ชนิด
ในจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองนับพันชนิดนี้... "เสือ" นักล่าแห่งป่าเป็นสัตว์ตระกูลหนึ่งที่ถูกมนุษย์ตามล่า เพื่อเอาหนัง และอวัยวะไปทำยาบำรุงกำลังตามความเชื่อของคนบางกลุ่มดังที่ปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ทำให้วันนี้ จำนวนประชากรเสือลดลงอย่างน่าตกใจ และอยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ กระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวม "เสือ" 5 ชนิด ที่ขึ้นบัญชี "สัตว์ป่าคุ้มครอง" มาให้เราได้รู้จักก่อนที่นักล่าแห่งพงไพรจะเหลือเพียงแค่ชื่อ หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาการรุกผืนป่าและปราบปรามการล่าสัตว์ป่าได้
เสือโคร่ง
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera tigris
เสือโคร่งเป็นสัตว์ประเภทเสือที่เราน่าจะรู้จักกันมากที่สุด เพราะมีเอกลักษณ์เป็นลายพาดกลอน และมีรูปร่างสง่างาม ร่างกายแข็งแรง จึงถูกยกย่องให้เป็นจ้าวป่า
เสือโคร่งแบ่งออกเป็น 9 สายพันธุ์ คือ เบงกอล, แคสเปียน, ไซบีเรีย, ชวา, จีนใต้, บาหลี, สุมาตรา, อินโดจีน และมลายู แต่ทว่าปัจจุบันมีเสือโคร่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์แคสเปียน, พันธุ์ชวา และพันธุ์บาหลี
ขณะที่สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ก็มีจำนวนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนน่าห่วงว่าจะสูญพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์จีนใต้, พันธุ์สุมาตรา และไซบีเรีย ซึ่งจัดเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุด คือมีน้ำหนักได้มากกว่า 300 กิโลกรัม
ปัจจุบันพบเสือโคร่งอาศัยอยู่ใน 13 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย (สุมาตรา), ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทย สำหรับในประเทศไทยเอง เสือโคร่งที่อาศัยอยู่เป็นสายพันธุ์อินโดจีนทั้งหมด โดยคาดว่าจะเหลืออยู่ประมาณ 200-250 ตัว อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณใกล้ลำห้วย เพราะเป็นป่าที่มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ที่มีประชากรเสือมากที่สุด รวมทั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ทับลาน เขาใหญ่ ฯลฯ
ด้วยสถานการณ์เสือโคร่งที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้มีการกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์เสือโคร่งสากล" (International Tiger Day) หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก" (Global Tiger Day) เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนเสือควบคู่ไปกับการป้องกันและปราบปรามการล่าเสือโคร่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนเสือโคร่งลดลง
เสือดาว หรือ เสือดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Leopard หรือ Panther
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera pardus
เสือดาวเป็นเสือที่มีขนาดใหญ่รองมาจากเสือโคร่ง มีจุดเด่นตรงที่มีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง และมีลายดอกสีดำอยู่ทั่วตัว แต่บริเวณกลางตัวจะมีจุดดำเรียงกันเป็นวงเล็ก ๆ มีช่องว่างตรงกลาง เรียกว่า "ลายขยุ้มตีนหมา" แต่หากเสือดาวมีความผิดปกติของเม็ดสีที่เรียกว่า "เมลานิซึม" จะทำให้ลำตัวมีสีดำ คนจึงเรียกเสือดาวชนิดนี้ว่า "เสือดำ" แต่จริง ๆ สีของมันยังไม่ถึงกับดำสนิท เพราะถ้าอยู่ท่ามกลางแสงแดดก็ยังเห็นว่ามีลายเช่นเดียวกับเสือดาวอยู่
เสือดาว และเสือดำ พบได้ในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียตอนใต้ มีถิ่นที่อยู่อาศัยหลากหลาย เพราะอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า พื้นที่โล่ง สำหรับประเทศไทยพบมากในแถบภาคใต้ อย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวก็เช่นในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โดยเสือดำพบได้ยากกว่าเสือดาว และมีความดุร้ายมากกว่า
ปัจจุบัน เสือดาวจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 182 เนื่องจากอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะยังคงมีกลุ่มลักลอบค้าสัตว์พยายามล่าเสือดำและเสือดาว ด้วยหวังจะเอาหนังไปทำเครื่องประดับ หรือใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเอาเครื่องในและกระดูกไปทำยาจีน
- เสือดำ สัตว์นักล่าแห่งพงไพร สะท้อนความสมบูรณ์ของป่า ผู้ล่า-ครอบครอง มีความผิด
เสือปลา
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Fishing Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Felis viverrina
เสือปลามักถูกเข้าใจผิดว่าคือ "แมวเบงกอล" เพราะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมว คือมีหน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้น ๆ เรียงเป็นแนวตามตัว แต่จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าแมวบ้านและดุกว่า มักพบในพื้นที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างในประเทศไทยจะพบเสือปลาตามป่าที่ราบต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร เพราะอาหารหลักของเสือปลาคือ ปลา ปู กบ เขียด นก หนู และหอย เสือปลาจึงมีความสามารถในการว่ายน้ำและดำน้ำ แต่ปกติแล้วมักจะไม่ชอบลงน้ำ แต่จะใช้วิธียืนรออยู่ตามโขดหินให้ปลาว่ายเข้ามาใกล้ ๆ ซะมากกว่า
ปัจจุบันสถานการณ์เสือปลาทั่วโลกอยู่ในขั้นใกล้จะสูญพันธุ์เต็มทีแล้ว
เนื่องจากถูกมนุษย์รุกล้ำพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและออกหากินของเสือปลา
ทำให้เสือปลาขาดแคลนอาหารและไม่มีที่อยู่อาศัย
บางครั้งเสือปลาต้องออกจากป่าไปจับสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านกิน
สุดท้ายเสือปลาก็ถูกชาวบ้านฆ่าตาย
นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสือปลาลดจำนวนลงจนใกล้สูญพันธุ์
- เสือปลา นักล่าผู้สง่างามแห่งหนองน้ำ แมวป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จากโลกนี้
เสือไฟ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Asian Golden Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Felis temminckii
เสือไฟมีลักษณะลำตัวเป็นสีพื้นน้ำตาลแดง แต่บางตัวอาจมีสีดำหรือเทา มีลักษณะเด่นคือ มีแต้มสีขาวกับขีดสีดำบริเวณแก้ม และมีเส้นจากหัวตาไปถึงกระหม่อม ด้านล่างลำตัวและขาด้านในมีสีขาว ปลายหางด้านล่างสีขาว หูสั้นกลม หลังหูสีดำและมีจุดขาวอยู่กลางหลังหู ตามักมีสีเขียวอมเทาหรือสีเหลืองอำพัน ขนาดลำตัวไม่ใหญ่มากนัก มักอาศัยอยู่ตามป่าฝนในเขตศูนย์สูตร ตั้งแต่เนปาล ลงไปจนถึงสุมาตรา
อุปนิสัยของเสือไฟมักหากินในเวลากลางคืน โดยจับสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น กระต่าย นก หนู ไก่ สัตว์เลื้อยคลานกินเป็นอาหาร ปัจจุบันพบเสือไฟได้น้อย เพราะเจอภัยคุกคามหลายด้าน ทั้งการบุกรุกป่าทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัย รวมทั้งการล่าเอาหนัง และบ่อยครั้งที่ได้ยินข่าวชาวบ้านฆ่าเสือไฟที่เข้ามากินสัตว์เลี้ยงในบ้าน ยิ่งทำให้เสือไฟมีแนวโน้มสูญพันธุ์ได้ง่ายขึ้น
เสือลายเมฆ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Clouded Leopard
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neofelis nebulosa
เสือลายเมฆมีลักษณะคล้ายเสือดาวแต่ตัวเล็กกว่า และรูปร่างเตี้ยป้อม จัดว่าเป็นเสือที่มีขนาดเล็กที่สุด ลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว และมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆทั่วตัว มีหางยาวมากและฟู มีลายเป็นปล้องตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่
เสือลายเมฆชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าทึบหรือป่าดิบในเขตร้อนชื้น เพราะปีนต้นไม้เก่ง สามารถห้อยโหนกิ่งไม้ด้วยขาหลังเพียงอย่างเดียวและปล่อยให้หัวห้อยลงมาได้ แต่กลับไม่ถนัดในการจับเหยื่อบนต้นไม้ จึงมักออกล่าเหยื่อตามพื้นดิน เช่น พวกกระรอก นก ลิง เก้ง กวาง สัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ
และเพราะหนังเสือลายเมฆมีความสวยงาม จึงทำให้เสือลายเมฆถูกล่าเอาหนังไปทำผลิตภัณฑ์จากขนสัตว์ เป็นเหตุให้พบเสือลายเมฆในธรรมชาติได้น้อยมาก จึงจัดเป็นสัตว์ป่าที่ต้องคุ้มครองอีกชนิด
ทั้งนี้ การกำหนดให้สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ได้มีการกำหนดโทษไว้เพื่อปราบปราบผู้กระทำผิด โดยตามมาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง และมาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 16 มาตรา 19 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ต้องยอมรับว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์มาจากน้ำมือมนุษย์ที่บุกรุกพื้นที่ป่า ทำลายบ้านของสัตว์เหล่านี้ จนเป็นเหตุให้สัตว์หลายชนิดต้องออกจากป่ามาหาอาหารเพื่อความอยู่รอด แต่ถึงกระนั้นก็ยังถูกคนฆ่าด้วยเกรงอันตราย รวมทั้งถูกล่าจากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ดังนั้น หากไม่มีการปราบปรามปัญหาเหล่านี้อย่างเอาจริงเอาจัง อีกไม่นานสัตว์ป่าบางชนิดคงเหลือแต่เพียงชื่อไว้ให้ลูกหลานได้ท่องจำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, โลกสีเขียว, สวนสัตว์ดุสิต, ไทยพีบีเอส
ทุกวันนี้มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่ถูกมนุษย์ไล่ล่าและคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างหนักจนใกล้จะสูญพันธุ์ นั่นจึงทำให้มีการกำหนด "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535" ขึ้น เพื่ออนุรักษ์และปกป้องสัตว์ป่าเหล่านี้ ซึ่งในส่วนของสัตว์ป่าคุ้มครองจะแบ่งสัตว์ออกเป็น 7 ประเภทคือ
- นก 952 ชนิด
- สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด
- ปลา 14 ชนิด
- แมลง 20 ชนิด
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด
รวมทั้งหมด 1,302 ชนิด
ในจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองนับพันชนิดนี้... "เสือ" นักล่าแห่งป่าเป็นสัตว์ตระกูลหนึ่งที่ถูกมนุษย์ตามล่า เพื่อเอาหนัง และอวัยวะไปทำยาบำรุงกำลังตามความเชื่อของคนบางกลุ่มดังที่ปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ทำให้วันนี้ จำนวนประชากรเสือลดลงอย่างน่าตกใจ และอยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ กระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวม "เสือ" 5 ชนิด ที่ขึ้นบัญชี "สัตว์ป่าคุ้มครอง" มาให้เราได้รู้จักก่อนที่นักล่าแห่งพงไพรจะเหลือเพียงแค่ชื่อ หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาการรุกผืนป่าและปราบปรามการล่าสัตว์ป่าได้
เสือโคร่ง
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera tigris
เสือโคร่งเป็นสัตว์ประเภทเสือที่เราน่าจะรู้จักกันมากที่สุด เพราะมีเอกลักษณ์เป็นลายพาดกลอน และมีรูปร่างสง่างาม ร่างกายแข็งแรง จึงถูกยกย่องให้เป็นจ้าวป่า
เสือโคร่งแบ่งออกเป็น 9 สายพันธุ์ คือ เบงกอล, แคสเปียน, ไซบีเรีย, ชวา, จีนใต้, บาหลี, สุมาตรา, อินโดจีน และมลายู แต่ทว่าปัจจุบันมีเสือโคร่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์แคสเปียน, พันธุ์ชวา และพันธุ์บาหลี
ขณะที่สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ก็มีจำนวนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนน่าห่วงว่าจะสูญพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์จีนใต้, พันธุ์สุมาตรา และไซบีเรีย ซึ่งจัดเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุด คือมีน้ำหนักได้มากกว่า 300 กิโลกรัม
ปัจจุบันพบเสือโคร่งอาศัยอยู่ใน 13 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย (สุมาตรา), ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทย สำหรับในประเทศไทยเอง เสือโคร่งที่อาศัยอยู่เป็นสายพันธุ์อินโดจีนทั้งหมด โดยคาดว่าจะเหลืออยู่ประมาณ 200-250 ตัว อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณใกล้ลำห้วย เพราะเป็นป่าที่มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ที่มีประชากรเสือมากที่สุด รวมทั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ทับลาน เขาใหญ่ ฯลฯ
ด้วยสถานการณ์เสือโคร่งที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้มีการกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์เสือโคร่งสากล" (International Tiger Day) หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก" (Global Tiger Day) เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนเสือควบคู่ไปกับการป้องกันและปราบปรามการล่าเสือโคร่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนเสือโคร่งลดลง
เสือดาว หรือ เสือดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Leopard หรือ Panther
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera pardus
เสือดาวเป็นเสือที่มีขนาดใหญ่รองมาจากเสือโคร่ง มีจุดเด่นตรงที่มีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง และมีลายดอกสีดำอยู่ทั่วตัว แต่บริเวณกลางตัวจะมีจุดดำเรียงกันเป็นวงเล็ก ๆ มีช่องว่างตรงกลาง เรียกว่า "ลายขยุ้มตีนหมา" แต่หากเสือดาวมีความผิดปกติของเม็ดสีที่เรียกว่า "เมลานิซึม" จะทำให้ลำตัวมีสีดำ คนจึงเรียกเสือดาวชนิดนี้ว่า "เสือดำ" แต่จริง ๆ สีของมันยังไม่ถึงกับดำสนิท เพราะถ้าอยู่ท่ามกลางแสงแดดก็ยังเห็นว่ามีลายเช่นเดียวกับเสือดาวอยู่
เสือดาว และเสือดำ พบได้ในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียตอนใต้ มีถิ่นที่อยู่อาศัยหลากหลาย เพราะอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า พื้นที่โล่ง สำหรับประเทศไทยพบมากในแถบภาคใต้ อย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวก็เช่นในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โดยเสือดำพบได้ยากกว่าเสือดาว และมีความดุร้ายมากกว่า
ปัจจุบัน เสือดาวจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 182 เนื่องจากอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะยังคงมีกลุ่มลักลอบค้าสัตว์พยายามล่าเสือดำและเสือดาว ด้วยหวังจะเอาหนังไปทำเครื่องประดับ หรือใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเอาเครื่องในและกระดูกไปทำยาจีน
- เสือดำ สัตว์นักล่าแห่งพงไพร สะท้อนความสมบูรณ์ของป่า ผู้ล่า-ครอบครอง มีความผิด
เสือปลา
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Fishing Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Felis viverrina
เสือปลามักถูกเข้าใจผิดว่าคือ "แมวเบงกอล" เพราะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมว คือมีหน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้น ๆ เรียงเป็นแนวตามตัว แต่จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าแมวบ้านและดุกว่า มักพบในพื้นที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างในประเทศไทยจะพบเสือปลาตามป่าที่ราบต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร เพราะอาหารหลักของเสือปลาคือ ปลา ปู กบ เขียด นก หนู และหอย เสือปลาจึงมีความสามารถในการว่ายน้ำและดำน้ำ แต่ปกติแล้วมักจะไม่ชอบลงน้ำ แต่จะใช้วิธียืนรออยู่ตามโขดหินให้ปลาว่ายเข้ามาใกล้ ๆ ซะมากกว่า
- เสือปลา นักล่าผู้สง่างามแห่งหนองน้ำ แมวป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จากโลกนี้
เสือไฟ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Asian Golden Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Felis temminckii
เสือไฟมีลักษณะลำตัวเป็นสีพื้นน้ำตาลแดง แต่บางตัวอาจมีสีดำหรือเทา มีลักษณะเด่นคือ มีแต้มสีขาวกับขีดสีดำบริเวณแก้ม และมีเส้นจากหัวตาไปถึงกระหม่อม ด้านล่างลำตัวและขาด้านในมีสีขาว ปลายหางด้านล่างสีขาว หูสั้นกลม หลังหูสีดำและมีจุดขาวอยู่กลางหลังหู ตามักมีสีเขียวอมเทาหรือสีเหลืองอำพัน ขนาดลำตัวไม่ใหญ่มากนัก มักอาศัยอยู่ตามป่าฝนในเขตศูนย์สูตร ตั้งแต่เนปาล ลงไปจนถึงสุมาตรา
อุปนิสัยของเสือไฟมักหากินในเวลากลางคืน โดยจับสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น กระต่าย นก หนู ไก่ สัตว์เลื้อยคลานกินเป็นอาหาร ปัจจุบันพบเสือไฟได้น้อย เพราะเจอภัยคุกคามหลายด้าน ทั้งการบุกรุกป่าทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัย รวมทั้งการล่าเอาหนัง และบ่อยครั้งที่ได้ยินข่าวชาวบ้านฆ่าเสือไฟที่เข้ามากินสัตว์เลี้ยงในบ้าน ยิ่งทำให้เสือไฟมีแนวโน้มสูญพันธุ์ได้ง่ายขึ้น
เสือลายเมฆ
ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อสามัญ : Clouded Leopard
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neofelis nebulosa
เสือลายเมฆมีลักษณะคล้ายเสือดาวแต่ตัวเล็กกว่า และรูปร่างเตี้ยป้อม จัดว่าเป็นเสือที่มีขนาดเล็กที่สุด ลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว และมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆทั่วตัว มีหางยาวมากและฟู มีลายเป็นปล้องตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่
เสือลายเมฆชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าทึบหรือป่าดิบในเขตร้อนชื้น เพราะปีนต้นไม้เก่ง สามารถห้อยโหนกิ่งไม้ด้วยขาหลังเพียงอย่างเดียวและปล่อยให้หัวห้อยลงมาได้ แต่กลับไม่ถนัดในการจับเหยื่อบนต้นไม้ จึงมักออกล่าเหยื่อตามพื้นดิน เช่น พวกกระรอก นก ลิง เก้ง กวาง สัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ
และเพราะหนังเสือลายเมฆมีความสวยงาม จึงทำให้เสือลายเมฆถูกล่าเอาหนังไปทำผลิตภัณฑ์จากขนสัตว์ เป็นเหตุให้พบเสือลายเมฆในธรรมชาติได้น้อยมาก จึงจัดเป็นสัตว์ป่าที่ต้องคุ้มครองอีกชนิด
ทั้งนี้ การกำหนดให้สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ได้มีการกำหนดโทษไว้เพื่อปราบปราบผู้กระทำผิด โดยตามมาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง และมาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 16 มาตรา 19 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ต้องยอมรับว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์มาจากน้ำมือมนุษย์ที่บุกรุกพื้นที่ป่า ทำลายบ้านของสัตว์เหล่านี้ จนเป็นเหตุให้สัตว์หลายชนิดต้องออกจากป่ามาหาอาหารเพื่อความอยู่รอด แต่ถึงกระนั้นก็ยังถูกคนฆ่าด้วยเกรงอันตราย รวมทั้งถูกล่าจากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ดังนั้น หากไม่มีการปราบปรามปัญหาเหล่านี้อย่างเอาจริงเอาจัง อีกไม่นานสัตว์ป่าบางชนิดคงเหลือแต่เพียงชื่อไว้ให้ลูกหลานได้ท่องจำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, โลกสีเขียว, สวนสัตว์ดุสิต, ไทยพีบีเอส