ธูปที่คนนิยมใช้ไหว้พระไหว้เจ้าเพื่อแสดงถึงความศรัทธานั้น อาจทำอันตรายต่อสุขภาพของเราอย่างไม่ทันคาดคิดเลยจริง ๆ จะเชื่อไหมถ้าเราจะบอกว่า พิษภัยจากควันธูป 1 ดอกนั้น ไม่ต่างกับบุหรี่ 1 มวน หรือถ้าจุดธูป 3 ดอกในบ้านที่มีการระบายอากาศไม่ดี มลพิษที่คุณจะได้รับนั้นพอ ๆ กับสี่แยกที่มีการจราจรพลุกพล่านเลย
โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข บอกให้รู้ว่า ในอดีตนั้น การผลิตธูปจะใช้ไม้เนื้อหอมมาทำ ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะไม่ระคายเคืองตาและจมูก แต่ปัจจุบัน ไม้เนื้อหอมมีราคาแพงและหายาก บางชนิดก็เป็นพืชคุ้มครอง ผู้ผลิตธูปจึงเปลี่ยนมานำขี้เลื่อยมาผสมกับกาวกั๊วก่าและกลิ่นหอมที่สกัดจากพืช หรือสารเคมี ผลิตเป็นธูปแทน
เมื่อเราจุดธูป จะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด อีกทั้งธูปบางชนิดสามารถส่งกลิ่นและควันได้นานถึง 3 วัน 3 คืนเลยทีเดียว
แน่นอนว่า สารพิษจากควันธูปนี้ เป็นตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยสารก่อมะเร็งที่สำคัญในควันธูปนั้น คือ
1. สารเบนโซเอไพรีน เป็นสารที่มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
2. สารเบนซีน อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
3. สารบิวทาไดอีน เป็นสารที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด
ทั้งนี้ นักวิจัยไทยพบว่า ในสถานที่ที่มีการจุดธูปอย่างต่อเนื่องนั้น จะมีสารเบนโซเอไพรีนสูงกว่าสถานที่ที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และยังพบด้วยว่า คนที่ทำงานในวัดนั้น มีสารก่อมะเร็งอยู่ในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็งเท่านั้น ขณะที่กรมควบคุมโรคก็เปิดเผยสถิติการรักษาของหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด ซึ่งน่าแปลกใจว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 50 ไม่ได้สูบบุหรี่ และไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ด้วย อีกทั้งยังไม่มีการได้รับสารมะเร็งจากการทำงาน แพทย์จึงคาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บุหรี่ ซึ่งควันธูปอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็นสิบ ๆ ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม ควันธูปไม่ได้มีพิษภัยแค่เป็นสารก่อมะเร็งเท่านั้น เพราะยังมีสารพิษชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อกระทบไม่น้อยเลย คือ
* ผลต่อสุขภาพ เพราะควันธูปมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา แสบจมูก หากคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ สูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเหนื่อยได้
* ผลต่อสิ่งแวดล้อม รู้ไหมว่า การเผาธูป 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 325 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป และมีการคาดว่าในปีหนึ่ง ๆ มีคนจุดธูปทั่วโลกเป็นหมื่นถึงแสนตัน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
รู้แบบนี้แล้ว ผู้ที่รู้ว่าจะต้องเจอกับควันธูปแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องป้องกันตัวเองไว้ด้วย โดยมีคำแนะนำดังนี้
- หลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเทหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตูหน้าต่าง
- ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ถ้าต้องไปสถานที่ที่มีการจุดธูปเป็นจำนวนมาก
- ใช้ธูปขนาดสั้นแทนธูปขนาดยาวเพื่อให้เกิดควันในระยะเวลาที่สั้นกว่า
- เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการพักผ่อน หรือนอนหลับ ในบริเวณที่มีการจุดธูป
- หมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้างได้
- สำหรับศาลเจ้า ควรตั้งกระถางธูปไว้นอกอาคารหรือในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และเมื่อเสร็จพิธีการควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายและเสี่ยงเกิดไฟไหม้ที่มีสาเหตุจากความประมาทได้
- เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถานควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันธูปเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง และหลังการสัมผัสควันธูปควรล้างมือ ล้างหน้าล้างตาให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับกลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมปอด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อับทึบ ชื้น มีเชื้อรา หรือฝุ่นละออง ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เด็กเกิดอาการแพ้ ดังนั้น หากเลี่ยงได้ ควรเลี่ยงจะดีที่สุด
และนอกจากการจุดธูปไหว้เจ้าแล้ว การปักธูปบนอาหารไหว้เจ้า หรือการเผากระดาษเงิน-กระดาษทอง ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึงเช่นเดียวกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-กรมควบคุมโรค
-กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข บอกให้รู้ว่า ในอดีตนั้น การผลิตธูปจะใช้ไม้เนื้อหอมมาทำ ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะไม่ระคายเคืองตาและจมูก แต่ปัจจุบัน ไม้เนื้อหอมมีราคาแพงและหายาก บางชนิดก็เป็นพืชคุ้มครอง ผู้ผลิตธูปจึงเปลี่ยนมานำขี้เลื่อยมาผสมกับกาวกั๊วก่าและกลิ่นหอมที่สกัดจากพืช หรือสารเคมี ผลิตเป็นธูปแทน
เมื่อเราจุดธูป จะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด อีกทั้งธูปบางชนิดสามารถส่งกลิ่นและควันได้นานถึง 3 วัน 3 คืนเลยทีเดียว
1. สารเบนโซเอไพรีน เป็นสารที่มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
2. สารเบนซีน อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
3. สารบิวทาไดอีน เป็นสารที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด
ทั้งนี้ นักวิจัยไทยพบว่า ในสถานที่ที่มีการจุดธูปอย่างต่อเนื่องนั้น จะมีสารเบนโซเอไพรีนสูงกว่าสถานที่ที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และยังพบด้วยว่า คนที่ทำงานในวัดนั้น มีสารก่อมะเร็งอยู่ในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็งเท่านั้น ขณะที่กรมควบคุมโรคก็เปิดเผยสถิติการรักษาของหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด ซึ่งน่าแปลกใจว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 50 ไม่ได้สูบบุหรี่ และไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ด้วย อีกทั้งยังไม่มีการได้รับสารมะเร็งจากการทำงาน แพทย์จึงคาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บุหรี่ ซึ่งควันธูปอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็นสิบ ๆ ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม ควันธูปไม่ได้มีพิษภัยแค่เป็นสารก่อมะเร็งเท่านั้น เพราะยังมีสารพิษชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อกระทบไม่น้อยเลย คือ
* ผลต่อสุขภาพ เพราะควันธูปมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา แสบจมูก หากคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ สูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเหนื่อยได้
* ผลต่อสิ่งแวดล้อม รู้ไหมว่า การเผาธูป 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 325 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป และมีการคาดว่าในปีหนึ่ง ๆ มีคนจุดธูปทั่วโลกเป็นหมื่นถึงแสนตัน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
- หลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเทหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตูหน้าต่าง
- ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ถ้าต้องไปสถานที่ที่มีการจุดธูปเป็นจำนวนมาก
- ใช้ธูปขนาดสั้นแทนธูปขนาดยาวเพื่อให้เกิดควันในระยะเวลาที่สั้นกว่า
- เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการพักผ่อน หรือนอนหลับ ในบริเวณที่มีการจุดธูป
- หมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้างได้
- สำหรับศาลเจ้า ควรตั้งกระถางธูปไว้นอกอาคารหรือในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และเมื่อเสร็จพิธีการควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายและเสี่ยงเกิดไฟไหม้ที่มีสาเหตุจากความประมาทได้
- เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถานควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันธูปเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง และหลังการสัมผัสควันธูปควรล้างมือ ล้างหน้าล้างตาให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับกลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมปอด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อับทึบ ชื้น มีเชื้อรา หรือฝุ่นละออง ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เด็กเกิดอาการแพ้ ดังนั้น หากเลี่ยงได้ ควรเลี่ยงจะดีที่สุด
และนอกจากการจุดธูปไหว้เจ้าแล้ว การปักธูปบนอาหารไหว้เจ้า หรือการเผากระดาษเงิน-กระดาษทอง ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึงเช่นเดียวกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-กรมควบคุมโรค
-กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข