ทุ่งใหญ่นเรศวร ผืนป่าผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
แหล่งขุมทรัพย์ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ บ้านของเสือดำและสัตว์ป่านานาชนิด
ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ขึ้นทะเบียนเป็นผืนป่าแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2534
นับวันผืนป่าและสัตว์ป่าในประเทศไทยก็ยิ่งลดน้อยถอยลง เพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรมนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งก็มีการรุกล้ำผืนป่าเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลเรื่อยมา แม้ว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลรักษาผืนป่าแล้วก็ตาม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นหนึ่งในผืนป่าที่สำคัญของไทย เพราะนอกจากจะมีป่าไม้และสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก ๆ แล้ว ก็ยังเป็นผืนป่าผืนใหญ่ที่สุดของเมืองไทยด้วย
รู้จักทุ่งใหญ่นเรศวร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเทือกเขาตะนาวศรี มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย และยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของทั้งลำน้ำแควน้อยและลำน้ำแควใหญ่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 800-1,811 เมตร มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาใหญ่ (1,811 เมตร) ที่นี่เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม
ความยิ่งใหญ่ของทุ่งใหญ่นเรศวร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จะมีเนื้อที่ทั้งหมดราว 2,279,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัดทางภาคตะวันตกของไทย ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ถือได้ว่าเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย และด้วยความยิ่งใหญ่ของที่นี่จึงได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ที่มาของชื่อ "ทุ่งใหญ่นเรศวร"
มีการสันนิษฐานกันว่าบริเวณทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ภายในผืนป่าแห่งนี้ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อเตรียมทำศึกกับพม่าในปี พ.ศ. 1590 และ พ.ศ. 1605 เมื่อมีมติให้ดำเนินการประกาศป่าทุ่งใหญ่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงได้ตั้งชื่อว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
ก่อนจะมาเป็น "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร"
เป็นที่ทราบกันดีว่าผืนป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์และมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ในอดีตที่ยังไม่ได้จัดตั้งทุ่งใหญ่นเรศวรให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่นี่จึงเป็นที่หมายปองของนักล่าสัตว์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในปี พ.ศ. 2508 นายประเสริฐ อยู่สำราญ (ป่าไม้เขตบ้านโป่ง) จึงได้มีหนังสือขอให้กรมป่าไม้ห้ามการล่าสัตว์ป่าในบริเวณทุ่งใหญ่ กองบำรุงซึ่งดูแลด้านการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจและมีความเห็นว่าที่นี่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2515 จึงมีหนังสือกรมป่าไม้ ขอความร่วมมือจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก ระงับการอนุญาตใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อแผนการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ต่อมามีมติให้จัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 91 ตอนที่ 72 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2517
ทุ่งใหญ่นเรศวร ชนวนเหตุสำคัญ 14 ตุลาคม 2516
ในช่วงระหว่างการรอดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นภายในป่าทุ่งใหญ่ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2516 มีกระแสข่าวว่ามีคณะล่าสัตว์ป่ามาทำการล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่โดยไม่เกรงกลัวต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ และบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย เกิดการประท้วงจากประชาชนและนิสิต นักศึกษา แต่ไม่มีหลักฐานในการเอาผิดได้
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2516 มีเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการลำหนึ่งเกิดอุบัติเหตุตกพังเสียหายที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพบซากสัตว์ป่าและอุปกรณ์ล่าสัตว์จำนวนมากปะปนอยู่กับซากของเฮลิคอปเตอร์ด้วย จึงสามารถโยงไปยังเหตุการณ์การล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่ของผู้มีอิทธิพลในเมืองไทยครั้งนั้น
สื่อต่าง ๆ มีการเผยแพร่ข่าวใหญ่โต แต่รัฐบาลได้กดดันสื่อให้ยุติการทำข่าวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและนิสิต นักศึกษา เรื่องราวเริ่มบานปลายเมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ศนท. มีการจัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังมีการตีพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับทุ่งใหญ่" "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" และอื่น ๆ ซึ่งเสียดสีรัฐบาลอย่างรุนแรงในกรณีทุ่งใหญ่
จากการเสียดสีของหนังสือดังกล่าว ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงถูกไล่ออก สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอย่างมาก จึงเกิดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนน มีการปราบปรามอย่างรุนแรง ส่งผลให้นักศึกษาเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก กลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ประวัติศาสตร์ไทยไม่มีวันลืม
ภาพจาก taewafeel / Shutterstock.com
ทุ่งใหญ่นเรศวรกับ "สืบ นาคะเสถียร"
สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีบทบาทต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าในเมืองไทยมากที่สุดท่านหนึ่ง ตลอดชีวิตการทำงานของท่านได้สร้างผลงานไว้มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2531 และยังได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เขายังได้มีการตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งด้วย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่ในผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ท่านก็ได้ดูแลรักษาและป้องกันการรุกรานป่าอย่างสุดชีวิต ถือได้ว่าที่นี่เป็นสถานที่ที่ท่านผูกพันมากที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว
ผืนป่าแหล่งมรดกโลกแห่งแรกของไทย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นผืนป่าที่ยังคงอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของไทย มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนแมลงป่าอีกหลายชนิด เป็นบ้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีนกและสัตว์ท้องถิ่นอีกจำนวนมาก ผืนป่ามีทั้งทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ และป่าดงดิบเขา
ในส่วนของสัตว์ป่าก็มีหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเลียงผา, เนื้อทราย, กระซู่, แรด, สมเสร็จ, เก้งหม้อ, เสือลายเมฆ, เสือลายพาดกลอน, ลิงไอ้เงี้ยะ, เสือไฟ, เป็ดก่า, นกกาบบัว, เหยี่ยวเพเรกริน, พญาแร้ง, นกกระทุง, นกอ้ายงั่ว, ไก่ฟ้าหลังเทา, นกเงือกกรามช้าง- ปากเรียบ, นกหัวขวานใหญ่สีเทา เป็นต้น
ความอุดมสมบูรณ์ทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยจึงได้เสนอให้ที่นี่เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ และในวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ระหว่างการประชุมที่ประเทศตูนิเซีย ก็ได้มีมติให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นตามเกณฑ์การพิจารณาถึง 3 ข้อ คือ
1. มีความดีเด่นในด้านวิวัฒนาการทางชีวภาพ-ชีวาลัยเป็นพิเศษของโลก เพราะประกอบด้วยระบบนิเวศวิทยาทั้ง 4 ภูมิภาค คือภูมิภาคซุนเดอิก (Sundaic) ภูมิภาคอินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) ภูมิภาคอินโด-ไชนีส (Indo-chinese) และภูมิภาคไซโน-หิมาลายัน (Sino-himalayan)
2. เป็นแหล่งธรรมชาติพิเศษที่เป็นต้นน้ำที่สำคัญหลายสายของไทย มีป่าไม้นานาชนิดประกอบด้วยเทือกเขา เนินเขา ตลอดจนทุ่งหญ้า ลักษณะทั้งหมดจึงมีคุณค่าในด้านวิทยาศาสตร์ มีความงดงามทางธรรมชาติที่หายากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
3. เป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชและสัตว์หลากชนิด โดยมีสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ถึง 28 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด นก 9 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลานอีก 4 ชนิด
เสือดำ พระเอกแห่งทุ่งใหญ่นเรศวร
สัตว์ป่าที่โดดเด่นที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร คือ “เสือดำ” ซึ่งเป็นพันธุ์สัตว์ป่าหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวในไทย หรืออาจจะไม่มีอยู่แล้วก็ได้ อันที่จริงเสือดำเป็นเสือชนิดเดียวกับเสือดาว แต่มีความผิดปกติของเม็ดสีดำที่มีมากเกินไป (Melanism) จึงทำให้สีผิวเป็นสีดำทั้งตัว แต่ก็ไม่ได้ดำสนิท บางตัวก็ยังมีเห็นลายอยู่บ้างเวลาโดนแสงแดด มันจึงเป็นสัตว์ป่าที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะนอกจากจะมีหลงเหลือไม่มากแล้ว เสือดำยังเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอีกด้วย
ป่ากับคน
ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรจะเป็นป่าและภูเขาทั้งหมด แต่ด้านในก็ยังมีหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่หลายหมู่บ้าน บางหมู่บ้านสามารถเข้าถึงได้ด้วยถนนคอนกรีตในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางหมู่บ้านที่อยู่ในป่าลึก เข้าถึงได้ยาก อยู่กับป่ามายาวนาน พวกเขายังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และเรียนรู้ที่จะอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน หมู่บ้านที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาทิ บ้านเกาะสะเดิ่ง, บ้านจะแก, บ้านทิไล่ป้า, บ้านกองม่องทะ, บ้านหินตั้ง, บ้านเลตองคุ, บ้านแม่จันทะ, บ้านยูไนท์ เป็นต้น
ทุ่งใหญ่นเรศวรเข้าเที่ยวได้ไหม
ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก แต่ก็มีความเปราะบางอยู่มากด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นที่นี่จะไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้ง่าย ๆ เหมือนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ซึ่งจะเปิดให้เข้าท่องเที่ยวเฉพาะเดือนธันวาคม-พฤษภาคมเท่านั้น การเข้าไปเที่ยวชมด้านในก็จะต้องทำการขออนุญาตที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาล่วงหน้าก่อน 15 วัน
การเที่ยวทุ่งใหญ่นเรศวร
การเที่ยวชมทุ่งใหญ่นเรศวร จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศ โดยจะมีเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมและศึกษาธรรมชาติอยู่หลายเส้นทาง ทางฝั่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก ได้เปิดเส้นทางไว้ ดังนี้
1. เส้นทางสำนักงานเขตฯ (ทินวย) - ทิคอง - มหาราช (ซ่งไท้) - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 4 วัน 3 คืน และในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 15 คัน
2. เส้นทางสำนักงานเขตฯ (ทินวย) - ห้วยคือ - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 2 วัน 1 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 5 คัน
3. เส้นทางสะเน่พ่อง - เกาะสะเดิ่ง - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 3 วัน 2 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 10 คัน
4. เส้นทางตะเคียนทอง - น้ำตกสาละวะ - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 2 วัน 1 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 5 คัน
บริเวณสำนักงานเขตฯ ทุ่งใหญ่ (ทินวย) ก็มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวชมกัน ในเส้นทางนี้จะเป็นป่าดงดิบ เป็นที่อยู่อาศัยของสมเสร็จ หมูป่า เก้ง เก้งหม้อ กระจง เม่น พังพอนกินปู บางคราวอาจมีกระทิงแวะเวียนมา มีไก่ป่า ไก่ฟ้าหลังเทา นกแว่นสีเทา เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ นกกระเต็นลาย นกเขาเขียว นกปรอดหัวตาขาว นกเงือกสีน้ำตาล และนกอีกหลายชนิดด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก, thungyaiwest.com หรือ thungyaieast.com และโทรศัพท์ 0 3454 6671
ใครที่ชอบผจญภัยกับป่าใหญ่หรืออยากศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศในป่าที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้ ก็สามารถทำเรื่องขอเข้าชมได้กับทางกรมอุทยานโดยตรงค่ะ อ๊ะ ๆ ถ้ามีโอกาสเข้าไปเที่ยวแล้วก็อย่าลืมรักษากฎระเบียบกันด้วยนะคะ จะได้มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้อยู่กับเราไปนาน ๆ :)
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bic.moe.go.th, verdantplanet.org, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, web3.dnp.go.th , thungyai.org, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก , thungyaiwest.com และ thungyaieast.com
นับวันผืนป่าและสัตว์ป่าในประเทศไทยก็ยิ่งลดน้อยถอยลง เพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรมนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งก็มีการรุกล้ำผืนป่าเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลเรื่อยมา แม้ว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลรักษาผืนป่าแล้วก็ตาม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นหนึ่งในผืนป่าที่สำคัญของไทย เพราะนอกจากจะมีป่าไม้และสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก ๆ แล้ว ก็ยังเป็นผืนป่าผืนใหญ่ที่สุดของเมืองไทยด้วย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเทือกเขาตะนาวศรี มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย และยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของทั้งลำน้ำแควน้อยและลำน้ำแควใหญ่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 800-1,811 เมตร มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาใหญ่ (1,811 เมตร) ที่นี่เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม
ความยิ่งใหญ่ของทุ่งใหญ่นเรศวร
ภาพจาก thungyaiwest.com
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จะมีเนื้อที่ทั้งหมดราว 2,279,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัดทางภาคตะวันตกของไทย ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ถือได้ว่าเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย และด้วยความยิ่งใหญ่ของที่นี่จึงได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ที่มาของชื่อ "ทุ่งใหญ่นเรศวร"
มีการสันนิษฐานกันว่าบริเวณทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ภายในผืนป่าแห่งนี้ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อเตรียมทำศึกกับพม่าในปี พ.ศ. 1590 และ พ.ศ. 1605 เมื่อมีมติให้ดำเนินการประกาศป่าทุ่งใหญ่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงได้ตั้งชื่อว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
ก่อนจะมาเป็น "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร"
เป็นที่ทราบกันดีว่าผืนป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์และมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ในอดีตที่ยังไม่ได้จัดตั้งทุ่งใหญ่นเรศวรให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่นี่จึงเป็นที่หมายปองของนักล่าสัตว์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในปี พ.ศ. 2508 นายประเสริฐ อยู่สำราญ (ป่าไม้เขตบ้านโป่ง) จึงได้มีหนังสือขอให้กรมป่าไม้ห้ามการล่าสัตว์ป่าในบริเวณทุ่งใหญ่ กองบำรุงซึ่งดูแลด้านการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจและมีความเห็นว่าที่นี่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2515 จึงมีหนังสือกรมป่าไม้ ขอความร่วมมือจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก ระงับการอนุญาตใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อแผนการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ต่อมามีมติให้จัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 91 ตอนที่ 72 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2517
ทุ่งใหญ่นเรศวร ชนวนเหตุสำคัญ 14 ตุลาคม 2516
ในช่วงระหว่างการรอดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นภายในป่าทุ่งใหญ่ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2516 มีกระแสข่าวว่ามีคณะล่าสัตว์ป่ามาทำการล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่โดยไม่เกรงกลัวต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ และบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศไทย เกิดการประท้วงจากประชาชนและนิสิต นักศึกษา แต่ไม่มีหลักฐานในการเอาผิดได้
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2516 มีเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการลำหนึ่งเกิดอุบัติเหตุตกพังเสียหายที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพบซากสัตว์ป่าและอุปกรณ์ล่าสัตว์จำนวนมากปะปนอยู่กับซากของเฮลิคอปเตอร์ด้วย จึงสามารถโยงไปยังเหตุการณ์การล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่ของผู้มีอิทธิพลในเมืองไทยครั้งนั้น
สื่อต่าง ๆ มีการเผยแพร่ข่าวใหญ่โต แต่รัฐบาลได้กดดันสื่อให้ยุติการทำข่าวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและนิสิต นักศึกษา เรื่องราวเริ่มบานปลายเมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ศนท. มีการจัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังมีการตีพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับทุ่งใหญ่" "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" และอื่น ๆ ซึ่งเสียดสีรัฐบาลอย่างรุนแรงในกรณีทุ่งใหญ่
จากการเสียดสีของหนังสือดังกล่าว ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงถูกไล่ออก สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอย่างมาก จึงเกิดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนน มีการปราบปรามอย่างรุนแรง ส่งผลให้นักศึกษาเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก กลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ประวัติศาสตร์ไทยไม่มีวันลืม
ภาพจาก taewafeel / Shutterstock.com
ทุ่งใหญ่นเรศวรกับ "สืบ นาคะเสถียร"
สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีบทบาทต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าในเมืองไทยมากที่สุดท่านหนึ่ง ตลอดชีวิตการทำงานของท่านได้สร้างผลงานไว้มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2531 และยังได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เขายังได้มีการตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งด้วย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่ในผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ท่านก็ได้ดูแลรักษาและป้องกันการรุกรานป่าอย่างสุดชีวิต ถือได้ว่าที่นี่เป็นสถานที่ที่ท่านผูกพันมากที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว
ผืนป่าแหล่งมรดกโลกแห่งแรกของไทย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นผืนป่าที่ยังคงอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของไทย มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนแมลงป่าอีกหลายชนิด เป็นบ้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีนกและสัตว์ท้องถิ่นอีกจำนวนมาก ผืนป่ามีทั้งทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ และป่าดงดิบเขา
ในส่วนของสัตว์ป่าก็มีหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเลียงผา, เนื้อทราย, กระซู่, แรด, สมเสร็จ, เก้งหม้อ, เสือลายเมฆ, เสือลายพาดกลอน, ลิงไอ้เงี้ยะ, เสือไฟ, เป็ดก่า, นกกาบบัว, เหยี่ยวเพเรกริน, พญาแร้ง, นกกระทุง, นกอ้ายงั่ว, ไก่ฟ้าหลังเทา, นกเงือกกรามช้าง- ปากเรียบ, นกหัวขวานใหญ่สีเทา เป็นต้น
ความอุดมสมบูรณ์ทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยจึงได้เสนอให้ที่นี่เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ และในวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ระหว่างการประชุมที่ประเทศตูนิเซีย ก็ได้มีมติให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นตามเกณฑ์การพิจารณาถึง 3 ข้อ คือ
1. มีความดีเด่นในด้านวิวัฒนาการทางชีวภาพ-ชีวาลัยเป็นพิเศษของโลก เพราะประกอบด้วยระบบนิเวศวิทยาทั้ง 4 ภูมิภาค คือภูมิภาคซุนเดอิก (Sundaic) ภูมิภาคอินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) ภูมิภาคอินโด-ไชนีส (Indo-chinese) และภูมิภาคไซโน-หิมาลายัน (Sino-himalayan)
2. เป็นแหล่งธรรมชาติพิเศษที่เป็นต้นน้ำที่สำคัญหลายสายของไทย มีป่าไม้นานาชนิดประกอบด้วยเทือกเขา เนินเขา ตลอดจนทุ่งหญ้า ลักษณะทั้งหมดจึงมีคุณค่าในด้านวิทยาศาสตร์ มีความงดงามทางธรรมชาติที่หายากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
3. เป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชและสัตว์หลากชนิด โดยมีสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ถึง 28 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด นก 9 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลานอีก 4 ชนิด
เสือดำ พระเอกแห่งทุ่งใหญ่นเรศวร
สัตว์ป่าที่โดดเด่นที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร คือ “เสือดำ” ซึ่งเป็นพันธุ์สัตว์ป่าหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวในไทย หรืออาจจะไม่มีอยู่แล้วก็ได้ อันที่จริงเสือดำเป็นเสือชนิดเดียวกับเสือดาว แต่มีความผิดปกติของเม็ดสีดำที่มีมากเกินไป (Melanism) จึงทำให้สีผิวเป็นสีดำทั้งตัว แต่ก็ไม่ได้ดำสนิท บางตัวก็ยังมีเห็นลายอยู่บ้างเวลาโดนแสงแดด มันจึงเป็นสัตว์ป่าที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะนอกจากจะมีหลงเหลือไม่มากแล้ว เสือดำยังเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอีกด้วย
ป่ากับคน
ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรจะเป็นป่าและภูเขาทั้งหมด แต่ด้านในก็ยังมีหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่หลายหมู่บ้าน บางหมู่บ้านสามารถเข้าถึงได้ด้วยถนนคอนกรีตในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางหมู่บ้านที่อยู่ในป่าลึก เข้าถึงได้ยาก อยู่กับป่ามายาวนาน พวกเขายังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และเรียนรู้ที่จะอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน หมู่บ้านที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาทิ บ้านเกาะสะเดิ่ง, บ้านจะแก, บ้านทิไล่ป้า, บ้านกองม่องทะ, บ้านหินตั้ง, บ้านเลตองคุ, บ้านแม่จันทะ, บ้านยูไนท์ เป็นต้น
ทุ่งใหญ่นเรศวรเข้าเที่ยวได้ไหม
ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก แต่ก็มีความเปราะบางอยู่มากด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นที่นี่จะไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้ง่าย ๆ เหมือนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ซึ่งจะเปิดให้เข้าท่องเที่ยวเฉพาะเดือนธันวาคม-พฤษภาคมเท่านั้น การเข้าไปเที่ยวชมด้านในก็จะต้องทำการขออนุญาตที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาล่วงหน้าก่อน 15 วัน
การเที่ยวทุ่งใหญ่นเรศวร
การเที่ยวชมทุ่งใหญ่นเรศวร จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศ โดยจะมีเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมและศึกษาธรรมชาติอยู่หลายเส้นทาง ทางฝั่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก ได้เปิดเส้นทางไว้ ดังนี้
1. เส้นทางสำนักงานเขตฯ (ทินวย) - ทิคอง - มหาราช (ซ่งไท้) - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 4 วัน 3 คืน และในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 15 คัน
2. เส้นทางสำนักงานเขตฯ (ทินวย) - ห้วยคือ - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 2 วัน 1 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 5 คัน
3. เส้นทางสะเน่พ่อง - เกาะสะเดิ่ง - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 3 วัน 2 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 10 คัน
4. เส้นทางตะเคียนทอง - น้ำตกสาละวะ - กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติ และเดินทางไป-กลับ ไม่เกิน 2 วัน 1 คืน ในแต่ละวันจะอนุญาตให้มีรถยนต์ใช้เส้นทางได้ไม่เกิน 5 คัน
บริเวณสำนักงานเขตฯ ทุ่งใหญ่ (ทินวย) ก็มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวชมกัน ในเส้นทางนี้จะเป็นป่าดงดิบ เป็นที่อยู่อาศัยของสมเสร็จ หมูป่า เก้ง เก้งหม้อ กระจง เม่น พังพอนกินปู บางคราวอาจมีกระทิงแวะเวียนมา มีไก่ป่า ไก่ฟ้าหลังเทา นกแว่นสีเทา เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ นกกระเต็นลาย นกเขาเขียว นกปรอดหัวตาขาว นกเงือกสีน้ำตาล และนกอีกหลายชนิดด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก, thungyaiwest.com หรือ thungyaieast.com และโทรศัพท์ 0 3454 6671
ใครที่ชอบผจญภัยกับป่าใหญ่หรืออยากศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศในป่าที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้ ก็สามารถทำเรื่องขอเข้าชมได้กับทางกรมอุทยานโดยตรงค่ะ อ๊ะ ๆ ถ้ามีโอกาสเข้าไปเที่ยวแล้วก็อย่าลืมรักษากฎระเบียบกันด้วยนะคะ จะได้มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้อยู่กับเราไปนาน ๆ :)
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bic.moe.go.th, verdantplanet.org, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, web3.dnp.go.th , thungyai.org, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก , thungyaiwest.com และ thungyaieast.com