กษัตริย์มาเลเซีย เสนอขอลดเงินเดือนตัวเองลง 10% จนถึงปี 2021 ทรงห่วงปัญหาหนี้ของปท.จำนวนมาก

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซียรายงานว่า สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 กษัตริย์มาเลเซีย ผู้ทรงมีความห่วงใยในปัญหาหนี้สินของประเทศที่มีอยู่จำนวนมหาศาล ทรงได้เสนอลดเงินเดือนและเงินรายได้ส่วนพระองค์ลง 10 เปอร์เซ็นต์ในตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งมาเลเซียของพระองค์จนถึงปีค.ศ.2021

นายวัน อาห์หมัด ดาห์ลัน อับ อาซิซ เจ้าพนักงานตรวจสอบการเงินการบัญชีประจำสำนักพระราชวังมาเลเซีย เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 ทรงมีความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อภาวะหนี้สินและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ พระองค์ยังทรงรู้สึกซาบซึ้่งและขอบคุณประชาชนชาวมาเลเซียที่พร้อมใจกันบริจาคเงินสมทบกองทุนทาบัง ฮาราปัน มาเลเซีย ที่ตั้งขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เพื่อปลดหนี้ประเทศ

นอกจากนี้สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 ยังทรงมีพระราชกฤษฎีกาให้สำนักพระราชวังไม่ต้องจัดงานอีดิลฟิตรีประจำปีเพื่อที่จะนำเงินงบประมาณในส่วนนี้ไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสแทน ทั้งนี้หลังนำพรรคการเมืองพันธมิตรคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของมาเลเซียเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียสมัย 2 ในวัย 92 ปี ประกาศว่า

ประเทศมาเลเซียถูกทำให้มีหนี้สินท่วมตัวมากกว่า 1 ล้านล้านริงกิต หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาท โดยกล่าวโทษว่าเป็นผลงานของรัฐบาลชุดที่แล้วนำโดยนาจิบ ราซัก อดีตนายกรัฐมนตรีที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาหนักในคดีทุจริตเงินกองทุน1เอ็มดีบีอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ในวันที่ 23 พฤษภาคม นายมหาธีร์ประกาศลดเงินเดือนคณะรัฐมนตรีลง 10 เปอร์เซ็นต์และให้มีผลทันทีในการช่วยลดหนี้ชาติ

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวมาเลเซีย!! เมื่อ ‘สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5’ กษัตริย์มาเลเซีย ทรงมีความห่วงใยในปัญหาหนี้สินของประเทศที่มีอยู่จำนวนมหาศาล เสนอขอลดเงินเดือนส่วนพระองค์ลง 10% ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งมาเลเซียของพระองค์จนถึงปี ค.ศ.2021 เพื่อช่วยปลดหนี้ชาติ!!

สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซียรายงานการให้สัมภาษณ์ นายวัน อาห์หมัด ดาห์ลัน อับ อาซิซ เจ้าพนักงานตรวจสอบการเงินการบัญชีประจำสำนักพระราชวังมาเลเซีย ซึ่งเปิดเผยว่า สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 ทรงมีความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อภาวะหนี้สินและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ทรงได้เสนอลดเงินเดือนและเงินรายได้ส่วนพระองค์ลง10เปอร์เซ็นต์

ในตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งมาเลเซียของพระองค์จนถึงปี ค.ศ.2021 นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรู้สึกซาบซึ่งและขอบคุณประชาชนชาวมาเลเซียที่พร้อมใจกันบริจาคเงินสมทบกองทุนทาบัง ฮาราปัน มาเลเซีย ที่ตั้งขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อปลดหนี้ประเทศ อนึ่ง สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 ยังทรงมีพระราชกฤษฎีกาให้สำนักพระราชวังไม่ต้องจัดงานอีดิลฟิตรีประจำปี เพื่อที่จะนำเงินงบประมาณในส่วนนี้ไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสแทน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศว่า ประเทศมาเลเซียถูกทำให้มีหนี้สินท่วมตัวมากกว่า1ล้านล้านริงกิตหรือประมาณ8ล้านล้านบาท โดยกล่าวโทษว่าเป็นผลงานของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งนำโดย นาจิบ ราซัก อดีตนายกรัฐมนตรีที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาหนักในคดีทุจริตเงินกองทุน 1 เอ็มดีบีอยู่ในขณะนี้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายมหาธีร์ประกาศลดเงินเดือนคณะรัฐมนตรีลง 10 เปอร์เซ็นต์และให้มีผลทันทีในการช่วยลดหนี้ชาติ *หมายเหตุ กษัตริย์แห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจของมาเลเซียมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ที่เน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ มาเลเซียยังได้วางนโยบายเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020 คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ (National Vision Policy: NVP)

ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น “ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน (resilient and competitive nation)” โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและไม่มีประสิทธิภาพลง และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม (total factor productivity)

โดยจะเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าและวิจัย (R&D) และเทคโนโลยีสูง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) กระตุ้นและเพิ่มพลวัตรของภาคการเกษตร การผลิต และการบริการโดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการ เพิ่มการมีส่วนร่วมของภูมิบุตร ในภาคเศรษฐกิจชั้นนำ และปรับให้มีการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society)

นอกจากนี้มาเลเซีย ยังมีนโยบายทางเศรษฐกิจดังต่อไปนี้

1. เปิดรับการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ค.ศ. 2020 (vision 2020) ตามที่ ดร.มหาธีร์ ได้วางเป้าหมายไว้

2. ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ

3. ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป

ในช่วงที่ผ่านมามาเลเซียมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองที่ไม่ราบรื่นนัก กับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศตะวันตกมองว่ารัฐบาลมาเลเซียมักใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน (Internal Security Act – ISA) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และละเมิดสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกันมาเลเซียเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศ และประเทศตะวันตกมักใช้ Double standard ในการดำเนินนโยบายกับประเทศต่าง ๆ

ทั้งนี้ วิกฤตการณ์ด้านการเงินและการคลังที่เกิดขึ้น ในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปิดเสรีด้านการเงินและการคลัง ซึ่งประเทศตะวันตกผลักดันอย่างแข็งขัน อย่างไรก็ดี ในด้านเศรษฐกิจมาเลเซียมีการติดต่อการค้า การลงทุน การศึกษา ที่ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความผูกพันในสมัยอาณานิคม ซึ่งส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

แม้ ว่ารัฐบาลมาเลเซียจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2545 ภายใต้ความสำเร็จดังกล่าวยังคงแฝงไว้ซึ่งอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียโดยรวมได้ อาทิ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่หากโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ก็จะส่งผลกระทบอย่างมาก

เช่นกันต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อาทิ โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้งานไม่ถึงครึ่งของขีดความสามารถ และยังไม่สามารถดึงดูดสายการบินหลัก ๆ ให้บินมาลงที่สนามบิน โครงการก่อสร้างเมืองราชการที่ปุตราจายา ซึ่งยังไม่สามารถดึงคนและภาคธุรกิจเข้าไปร่วมอย่างเต็มที่ โครงการ Cyberjaya ซึ่งไม่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำของโลกให้เข้ามาลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้ง ไว้

สภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราการเติบโต GDP เฉลี่ยร้อยละ 6 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2551) ในปี 2552 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ -2.4 แต่รัฐบาลคาดหวังว่าหลังจากการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2551-2552 แล้ว ประเทศมาเลเซียจะกลับมาเติบโตในอัตราเดิมได้ต่อไป โดยสถาบันด้านเศรษฐกิจคาดว่า ปี 2553 เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 – 4.2

ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน ป่าไม้ ทองแดง และแก๊ซธรรมชาติ

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเลคทรอนิกส์ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่งและโลหะ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไทย