ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือเด็กๆ
รวมไปทั้งหน่วยซีลที่ได้ดำน้ำเข้าไปในถ้ำเพื่อสำรวจเเละค้นหาเด็กทั้ง 13
คนจนเจอ
และหลังจากที่ได้พบเด็กๆทีมหมูป่าและโค้ชเมื่อคืนที่ผ่านมาตอนนี้เชื่อว่าหลายคนกำลังใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่เจ้าหน้าที่จะเคลื่อนย้าย
ทั้ง13ชีวิตออกมาจากถ้ำสักที
ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้เปิดเผย 8 ขั้นตอนที่จะปฏิบัติ หลังจากนำทั้ง 13 ชีวิตออกมาถึงปากถ้ำได้แล้ว ดังนี้
1. หน่วยเตรียมขนส่งนำผู้ประสบภัย ให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง พร้อมประเมินอาการตอบสนองเบื้องต้น ก่อนลำเลียงออกจากปากถ้ำไปที่รถพยาบาล
2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น ประเมินอาการผู้ประสบภัย หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะพาออกมาหน้าถ้ำเพื่อขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากอยู่ในอาการวิกฤติต้องทำการปฐมพยาบาลก่อน
3. ลำเลียงผู้ป่วยทั้งหมดไปยังโรงพยาบาลสนาม ใกล้ปากทางเข้าถ้ำ
4. หน่วย Triage and Resuscitation จะทำการวิเคราะห์อาการตามความรุนแรง และความเร่งด่วนให้การรักษา พร้อมตัดสินใจในการส่งตัวต่อ โดยหากมีอาการเร่งด่วนจริง ก็จะทำการรักษาที่โรงพยาบาลสนามทันที เนื่องจากมีความพร้อม รวมถึงสามารถทำการผ่าตัดได้
5. หน่วยขนส่งลำเลียงผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน ก่อนเร่งลำเลียงไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
6. หน่วยดูแลผู้ป่วย นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล โดยจะมี Sky Doctor 2 คน ทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยเป็นทีมจากโรงพยาบาลตำรวจ และทีมทหาร
7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย ดูแลผู้ประสบภัยจากสนามบินเก่าไปยัง รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 นาที
8. หน่วยดูแลผู้ป่วยของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งทางโรงพยาบาลเตรียมพร้อมไว้ทั้งหมด 13 ทีมเพื่อประเมินอาการ พร้อมนำข้อมูลจากแพทย์สนามมาดู เพื่อเตรียมการรักษาภายใน 30 นาที ตามสภาพอาการของแต่ละคน
ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้เปิดเผย 8 ขั้นตอนที่จะปฏิบัติ หลังจากนำทั้ง 13 ชีวิตออกมาถึงปากถ้ำได้แล้ว ดังนี้
1. หน่วยเตรียมขนส่งนำผู้ประสบภัย ให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง พร้อมประเมินอาการตอบสนองเบื้องต้น ก่อนลำเลียงออกจากปากถ้ำไปที่รถพยาบาล
2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น ประเมินอาการผู้ประสบภัย หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะพาออกมาหน้าถ้ำเพื่อขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากอยู่ในอาการวิกฤติต้องทำการปฐมพยาบาลก่อน
3. ลำเลียงผู้ป่วยทั้งหมดไปยังโรงพยาบาลสนาม ใกล้ปากทางเข้าถ้ำ
4. หน่วย Triage and Resuscitation จะทำการวิเคราะห์อาการตามความรุนแรง และความเร่งด่วนให้การรักษา พร้อมตัดสินใจในการส่งตัวต่อ โดยหากมีอาการเร่งด่วนจริง ก็จะทำการรักษาที่โรงพยาบาลสนามทันที เนื่องจากมีความพร้อม รวมถึงสามารถทำการผ่าตัดได้
5. หน่วยขนส่งลำเลียงผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน ก่อนเร่งลำเลียงไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
6. หน่วยดูแลผู้ป่วย นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล โดยจะมี Sky Doctor 2 คน ทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยเป็นทีมจากโรงพยาบาลตำรวจ และทีมทหาร
7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย ดูแลผู้ประสบภัยจากสนามบินเก่าไปยัง รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 นาที
8. หน่วยดูแลผู้ป่วยของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งทางโรงพยาบาลเตรียมพร้อมไว้ทั้งหมด 13 ทีมเพื่อประเมินอาการ พร้อมนำข้อมูลจากแพทย์สนามมาดู เพื่อเตรียมการรักษาภายใน 30 นาที ตามสภาพอาการของแต่ละคน