มาค่ะวันนี้เรามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “ยาคูลท์”
กันหน่อยดีกว่าเคยมีใครสงสัยมั้ยว่า “ยาคูลท์” ทำไมถึงขวดเล็ก
ทำไมเค้าไม่ทำขวดใหญ่มาบ้าง
ส่วนมาเราก็จะเห็นมีแต่นมเปรี้ยวที่มีแต่ขวดใหญ่
วันนี้แหละเรามีความจริงมาบอกกันเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า
“ยาคูลท์ทำไมถึงมีขวดเล็ก”
ใครที่สงสัยต้องรีบมาอ่านไปเรียกเพื่อนเรียกแฟนมาอ่านด้วย
และจะรู้เลยว่าความจริงมันเป็นยังไง รับรองว่างงกันเป็นแถบๆ
ถ้าใครพร้อมแล้วลองไปดูรายละเอียดด้านล่างเลยค่ะ
ยาคูลท์ มีแต่ขนาด 80 cc เป็นเพราะว่า ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu ร่วมกับ Stroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย และหมักในทางเดินอาหาร ในส่วนที่ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 cc. ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส โดยสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0 x 10 ( ยกกำลัง 9)
ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดใหญ่พอๆ กับยาคูลท์ 6 ขวดเล็กรวมกันคงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 cc. ขึ้นมาจริงๆ แล้ว ลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้ แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย
และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษได้ ทานวันละขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่ว่าอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกต เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยาคูลท์ คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวด และเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะทำงานให้เราได้ทันที
ยาคูลท์ มีแต่ขนาด 80 cc เป็นเพราะว่า ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu ร่วมกับ Stroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย และหมักในทางเดินอาหาร ในส่วนที่ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 cc. ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส โดยสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0 x 10 ( ยกกำลัง 9)
ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดใหญ่พอๆ กับยาคูลท์ 6 ขวดเล็กรวมกันคงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 cc. ขึ้นมาจริงๆ แล้ว ลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้ แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย
และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษได้ ทานวันละขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่ว่าอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกต เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยาคูลท์ คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวด และเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะทำงานให้เราได้ทันที