บอกลาปลั๊กพ่วงแบบเดิมๆ มาทำรางปลั๊กไฟคุณภาพสูงไว้ใช้เองกันเถอะ

หลายปัญหาที่เกิดจากปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน มักจะสร้างความรำคาญและก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ นั่นเป็นเพราะโดยทั่วไปแล้ว ปลั๊กพ่วงที่วางขายมักจะใช้วัสดุคุณภาพต่ำและมีระบบป้องกันน้อยมาก ซึ่งสวนกระแสกับชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากมาย จนในบางครั้งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไปจนปลั๊กพ่วงรับความร้อนไม่ไหว ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าพังไปเลยก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ
หลายปัญหานั้นจะหมดไป หากมีการพิจารณาเลือกปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ หรือหากไม่มั่นใจ ก็ทำปลั๊กพ่วงไว้ใช้เองซะเลย! คราวนี้ในบ้านมี diy เจ๋งๆ จากคุณ KanichiKoong มาฝากกันครับ โดยจะเป็นวิธีทำรางปลั๊กไฟไว้ใช้เอง ซึ่งเราจะได้ปลั๊กไฟคุณภาพสูงไว้ใช้งานกัน อีกทั้งยังปลอดภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วยนะ
เตรียมเครื่องมือให้พร้อม แล้วแต่สะดวกจะใช้อะไร ก็เตรียมมาครับ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ อาจจะดัดแปลงตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ครับ

สายไฟ
ผมเลือกใช้สาย VCT ชนิด 3 แกน ยี่ห้อ BCC (บางกอกเคเบิ้ล) ส่วนตัวชอบ BCC มากกว่า YAZAKI เพราะ YAZAKI ฉนวนเหนียวบ้าบอคอแตก ปอกแล้วเจ็บมือ มีดจะหัก เนื้อทองแดงก็เหมือนๆ กัน ของ BCC ฉนวนกำลังดีไม่หนาไม่อ่อนเกินไป
ขนาดที่ใช้เป็นสาย 3 แกน ขนาด1.5sq.mm. ซึ่งสายขนาด1.5sq.mm.จะทนกระแสได้ที่15-17A
แผงไม้ ขนาด 6×12 นิ้วจำนวน 2 อัน เอามาไว้ทำแผงวางเต้ารับและฝาปิดด้านหลัง
ฝาพลาสติกหน้ากากสำหรับเต้ารับยี่ห้อ Panasonic รุ่นFULL-COLOR ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นยอดนิยม และราคาถูกที่สุดของ Panasonic เหมาะที่จะเอามาทำรางปลั๊กพ่วง
เซฟตี้เบรกเกอร์ (SB) Panasonic ขนาด15A IC1500A ขนาดกระแสของเบรกเกอร์ต้องเป็นขนาดที่สัมพันธ์กันกับขนาดสายไฟ ห้ามใช้เกินพิกัดของสายไฟ เพราะกรณีคุณใช้ไฟเกิน มันจะไม่ตัดไฟ สายไฟอาจจะร้อน
หน้ากากเบรกเกอร์แบบฝัง
เต้ารับ-สวิตซ์ รุ่น Panasonic รุ่น FULL-COLOR (กล่องสีน้ำเงิน-ขาว) ส่วนกล่องสีฟ้า-ขาวซึ่งเป็นเต้ารับ และในแพ๊คซึ่งเป็นสวิตซ์ยี่ห้อ MUTSUKAMI ราคาถูกกว่า Panasonic รุ่น FULL-COLOR เกินครึ่ง รูปแบบจะคล้ายกันมาก สามารถใส่ด้วยกันได้ทั้งหน้ากากและสวิตซ์ หากไม่ต้องการของเกรดดีเลิศ หรืออยากจะประหยัดงบ ลองหันมามองของเกรดรองลงมาได้ครับ
เต้าเสียบ
ผมเลือกใช้เต้าเสียบแบบมาตรฐานเยอรมัน (ทนกระแสได้สูงสุด16A) เพราะว่าที่บ้านติดเต้ารับเยอรมันไว้บนผนังแทบทุกจุด เพราะส่วนตัวชอบระบบของเต้ารับเต้าเสียบแบบเยอรมัน เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ป้องกันมือสัมผัสโดนกับขาเต้าเสียบขณะเสียบ และยังเสียบได้แน่น ไม่หลุดง่าย เต้าเสียบมีระบบสายดินที่เป็นแผ่นโลหะอยู่ข้างๆ ทำให้สามารถใช้กับเต้ารับแบบ 2 ตาได้ และเมื่อต่อเต้าเสียบเข้ากับเต้ารับแบบเยอรมันที่มีการต่อกราวด์ไว้เรียบร้อย รางปลั๊กพ่วงอันนี้ก็จะต่อลงดินโดยอัตโนมัติ แต่ใครที่ไม่เอาระบบสายดิน จะใช้เต้าเสียบ 2 ขาก็ได้ หรือจะใช้เต้าเสียบแบบ 3 ขาก็ไม่เป็นไร แต่เต้าเสียบแบบ 3 จะมีข้อจำกัดในการใช้ได้กับเต้ารับ 3 ตาเท่านั้น
เต้ารับเยอรมันของ bticino ทนกระแสได้สูงสุด 16A ติดไว้บนรางปลั๊กพ่วง เพื่อรองรับเต้าเสียบแบบเยอรมันของเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวก เตารีด คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว ฯลฯ
เต้ารับคู่+กราวด์ (ปลั๊กกราวด์คู่) ของ VENA ทนกระแสได้สูงสุด16A เต้ารับคู่+กราวด์ VENA คุณภาพพอๆ กับ Panasonic รุ่นFULL-COLOR และราคาถูกกว่าด้วย ติดตั้งไว้สำหรับรองรับเต้าเสียบ 3 ขา
เริ่มจากการประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชุดเข้าด้วยกัน และวางเพื่อกำหนดจุดที่จะติดตั้งบนแผงไม้
ร่างเส้นส่วนที่ต้องการจะตัดออก และทำการตัดออกโดยใช้สว่านเจาะนำรู แล้วเอาเรื่อยฉลุไฟฟ้าตัดตามเส้น
วางอุปกรณ์ลงบนแผงไม้ แล้วทำการเจาะรูเพื่อยึดสกรูของอุปกรณ์เข้ากับแผงไม้
ต่อสายไฟเข้ากับเบรกเกอร์ แล้วต่อสายออกจากเบรกเกอร์เข้าสู่เต้ารับแต่ละชุด
เทคนิคการรับแรงดึงของสายไฟที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้งาน โดยนำเอาเคเบิ้ลไทด์ มายึดให้แน่นที่สายเอาไว้
ต่อสายไฟเข้าเต้ารับแต่ละจุด
เมื่อต่อสายเสร็จเรียบร้อย ทำการตรวจสอบวงจร
อย่าลืมสายดินด้วยนะครับ
นำแผงไม้อีกอันมาทำการงัด เอาแต่แผ่นไม้อัด โครงไม้ไม่ต้องนะครับ
แล้วเอาแผ่นไม้อัด มาปิดทับด้านหลังของรางปลั๊ก แล้วยึดด้วยสกรู
high-quality-electric-plug-diy (21)เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานครับ
high-quality-electric-plug-diy (22)
ใครมีไอเดียแจ่มๆ ก็สามารถดัดแปลงให้เป็นแบบอื่นได้ แล้วแต่ความต้องการใช้งานและความเหมาะสม
high-quality-electric-plug-diy (23)

high-quality-electric-plug-diy (24)
ปลั๊กพ่วงที่ทำขึ้นเอง หากทำอย่างถูกต้องเลือกใช้ของที่ได้มาตรฐานตรงตามสเปก และในเรื่องการใช้งานนำไปใช้งานอย่างถูกวิธีในสภาวะที่ปกติ ผมกล้าพูดได้เลยว่ามันจะอยู่กับคุณไปนานมาก นานจนลืมไปเลยว่าทำไว้เมื่อไหร่ เมื่อเทียบกับปลั๊กพ่วงแบบสำเร็จรูปราคาถูกๆ ที่ขายตามท้องตลาดที่มีปัญหากวนใจอยู่บ่อยๆ
และใช่ว่าปลั๊กพ่วงแบบสำเร็จรูปจะไม่ดีเสมอไป ในการเลือกซื้อ ผมแนะนำให้พิจารณาดูดีๆ อย่างแรกที่ต้องดูให้ดีๆ คือ ระบบป้องกัน อย่างที่สองคือขนาดของสายไฟและมาตรฐานของอุปกรณ์ และสุดท้ายคือเรื่องระบบสายดินว่ามีระบบสายดินจริงๆ หรือมีแบบหลอกเอาไว้ ซึ่งปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพดีๆ ก็มีอยู่มากมาย แต่…ราคาก็ไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
บอกลาปลั๊กพ่วงคุณภาพต่ำแบบเดิมๆ ไปได้เลย
high-quality-electric-plug-diy (25)
หมายเหตุ: ตลับปลั๊กแบบมวนกลมที่สามารถม้วนเก็บสายได้ ในกรณีที่ใช้งานกระแสสูงๆ จำเป็นต้องดึงสายออกจากม้วนให้หมด เพราะหากไม่ดึงสายออกมา สายที่ขดม้วนกันอยู่ภายใน จะเกิดสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดความร้อนได้
high-quality-electric-plug-diy (26)