ไม่ว่าเราจะมีเงินมากมายเพียงใดในวันสุท้ายของชีวิตเราก็เอาติดตัวไปไม่ได้แม้แต่แดงเดียว
แต่เงินเหล่านั้นเราสามารถซื้อสิ่งหนึ่งติดตัวไปได้นั่นก็คือคุณความดีที่
สิ่งที่จะทำให้คนจดจำและทำเป็นแบบอย่างแม้เราจะไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้แล้ว
เช่นเดียวกับ หนุ่มเศรษฐีรายนี้ที่รู้ตัวว่าจะจากโลกนี้ไปเขาจึงขอทำความดีเป็นครั้งสุดท้ายย้อนกลับไปในปี 2558 อาลี บานัต เศรษฐีมุสลิมชาวออสเตรเลีย วัย 30 ปี ได้รับรู้ข่าวร้ายที่แย่ที่สุดในชีวิต หมอบอกว่าเขาป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้แค่เพียง 7 เดือนเท่านั้น อาลีก็เหมือนชายหนุ่มทั่ว ๆ ไปในวัยเดียวกัน เขาเคยมีความฝัน มีความหวัง และอยากเติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก แต่ตอนนี้ทุกอย่างมันเหือดแห้งลงไป
ฃในช่วงเวลาที่ความตายกำลังคืบคลานมาหานั้น อาลีบอกตัวเองและสัญญากับพระเจ้าว่า เขาจะทำความดีให้ได้มากที่สุด แม้เขาจะต้องตายไปแบบตัวเปล่า ไม่หลงเหลือเงินอีกเลยก็ตาม
อาลีเคยใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย สวมใส่เสื้อผ้าราคาแพง และขับรถหรู จนเมื่อป่วยถึงตระหนักได้ว่าทรัพย์สินเงินทองไม่ได้มีความหมายใดกับเขาเลย เขาตัดสินใจใช้เวลาช่วงสุดท้ายของเขา หาเงินให้กับผู้ด้อยโอกาสชาวมุสลิม โดยอาลีขายรถของเขา และนำเสื้อผ้าไปให้คนเหล่านั้น
หลังจากที่ได้ทบทวนชีวิตตัวเอง และมองหาช่องทางต่อไปในชีวิตที่เหลืออยู่ เขาพบว่าประเทศตองโกคือหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ ล้วนมีคุณภาพชีวิตที่อัตคัดขัดสน ยากไร้ ขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่างที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต นอกจากนี้แล้ว ประมาณ 12-20 เปอร์เซ็นต์ของชาวตองโก คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้ อาลีตัดสินใจขายธุรกิจของเขา ขายบ้าน ขายรถ รวมทั้งข้าวของหรูหราที่มี และเดินทางไปยังประเทศตองโก
“รถหรูของผม มูลค่าของมันสูงมาก แค่คุณค่าของมันไม่สามารถเทียบเท่ากับรองเท้า 1 คู่ ที่ผมได้มอบให้แก่เด็กชาวแอฟริกาที่ไม่มีรองเท้าใส่ การได้เห็นรอยยิ้มจากเด็กคนนั้น มันมีความหมายต่อผมมากว่ารถหรูคันนี้หลายเท่า” อาลี กล่าว
อาลีเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน หลังจากนั้นก็ตัดสินใจบริจาคเงินเพื่อสร้างมัสยิดท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านได้มีสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา มอบเงินทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่โรงเรียนหลาย ๆ แห่งในพื้นที่ รวมทั้งบริจาคข้าวของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้ง และขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อให้ชาวบ้านได้มีน้ำใช้ ทั้งบริโภคและเลี้ยงปศุสัตว์ ในเวลาต่อมา อาลีเล็งเห็นว่าเขาควรปฏิบัติงานนี้ให้จริงจังและเป็นกิจจะลักษณะ เขาจึงก่อตั้งมูลนิธิมุสลิมทั่วโลก หรือ เอ็มเอทีดับเบิลยู ขึ้นมา (MATW – Muslims Around The World ) เพื่อดำเนินงานด้านการกุศลอย่างเต็มรูปแบบ และเริ่มเปิดระดมทุนเพื่อหาเงินสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของเขา
มูลนิธิของอาลีได้วางโครงการเพื่อสังคมเอาไว้มากมาย โดยโปรเจกต์ที่สำคัญที่สุดคือ สร้างบ้านพักให้แก่เหล่าหญิงหม้ายยากไร้ ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีงานทำ, สร้างศูนย์การแพทย์ขนาดเล็กในพื้นที่, สร้างโรงเรียนให้แก่เด็ก ๆ และโปรเจคต์พัฒนา-สนับสนุนธุรกิจในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีรายได้ โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภายนอก จุดนี้อาลีมองว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเงินบริจาคไม่ได้มีอยู่ตลอด และหมดลงได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การสร้างรากฐานเหล่านี้ จะทำให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตัวเองตัวเองได้ในระยะยาว และก่อทำให้สังคมถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ยั่งยืน
“ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานศพของสหายคนหนึ่ง เขาเสียชีวิตจากไปด้วยโรคมะเร็งเหมือน ๆ กับที่ผมเป็น ขณะที่อยู่ในสุสานแห่งนั้น ผมนึกถึงตัวเองในวันที่ผมจะต้องจากโลกนี้ไป ผมจะเหลือแต่เพียงตัวเปล่า ไม่มีใครเลย ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีพี่น้อง มีเพียงแต่ความตายเท่านั้น แม้แต่เงินทองทั้งหมดที่มี ก็ไม่สามารถติดตัวไปได้ สิ่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ และสามารถนำติดตัวไปได้คือ ความดีจากการช่วยเหลือสังคม ในวันที่ผมหมดลมหายใจ ทอดกายลงในโลงศพ มันจะเป็นสิ่งเดียวที่จะเดินทางไปพร้อมกับผม ไปสู่จุดหมายปลายทางสุดท้าย” อาลี กล่าว
ในขณะที่สองมือและหัวใจของอาลีพยายามสู้ต่อไปเพื่อชีวิตที่ดีของเด็ก ๆ และผู้คนในตองโก สุขภาพร่างกายของเขาก็ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 อาลีก็เสียชีวิตจากไป ด้วยวัย 32 ปี
เช่นเดียวกับ หนุ่มเศรษฐีรายนี้ที่รู้ตัวว่าจะจากโลกนี้ไปเขาจึงขอทำความดีเป็นครั้งสุดท้ายย้อนกลับไปในปี 2558 อาลี บานัต เศรษฐีมุสลิมชาวออสเตรเลีย วัย 30 ปี ได้รับรู้ข่าวร้ายที่แย่ที่สุดในชีวิต หมอบอกว่าเขาป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้แค่เพียง 7 เดือนเท่านั้น อาลีก็เหมือนชายหนุ่มทั่ว ๆ ไปในวัยเดียวกัน เขาเคยมีความฝัน มีความหวัง และอยากเติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก แต่ตอนนี้ทุกอย่างมันเหือดแห้งลงไป
ฃในช่วงเวลาที่ความตายกำลังคืบคลานมาหานั้น อาลีบอกตัวเองและสัญญากับพระเจ้าว่า เขาจะทำความดีให้ได้มากที่สุด แม้เขาจะต้องตายไปแบบตัวเปล่า ไม่หลงเหลือเงินอีกเลยก็ตาม
อาลีเคยใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย สวมใส่เสื้อผ้าราคาแพง และขับรถหรู จนเมื่อป่วยถึงตระหนักได้ว่าทรัพย์สินเงินทองไม่ได้มีความหมายใดกับเขาเลย เขาตัดสินใจใช้เวลาช่วงสุดท้ายของเขา หาเงินให้กับผู้ด้อยโอกาสชาวมุสลิม โดยอาลีขายรถของเขา และนำเสื้อผ้าไปให้คนเหล่านั้น
หลังจากที่ได้ทบทวนชีวิตตัวเอง และมองหาช่องทางต่อไปในชีวิตที่เหลืออยู่ เขาพบว่าประเทศตองโกคือหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ ล้วนมีคุณภาพชีวิตที่อัตคัดขัดสน ยากไร้ ขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่างที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต นอกจากนี้แล้ว ประมาณ 12-20 เปอร์เซ็นต์ของชาวตองโก คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้ อาลีตัดสินใจขายธุรกิจของเขา ขายบ้าน ขายรถ รวมทั้งข้าวของหรูหราที่มี และเดินทางไปยังประเทศตองโก
“รถหรูของผม มูลค่าของมันสูงมาก แค่คุณค่าของมันไม่สามารถเทียบเท่ากับรองเท้า 1 คู่ ที่ผมได้มอบให้แก่เด็กชาวแอฟริกาที่ไม่มีรองเท้าใส่ การได้เห็นรอยยิ้มจากเด็กคนนั้น มันมีความหมายต่อผมมากว่ารถหรูคันนี้หลายเท่า” อาลี กล่าว
อาลีเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน หลังจากนั้นก็ตัดสินใจบริจาคเงินเพื่อสร้างมัสยิดท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านได้มีสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา มอบเงินทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่โรงเรียนหลาย ๆ แห่งในพื้นที่ รวมทั้งบริจาคข้าวของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้ง และขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อให้ชาวบ้านได้มีน้ำใช้ ทั้งบริโภคและเลี้ยงปศุสัตว์ ในเวลาต่อมา อาลีเล็งเห็นว่าเขาควรปฏิบัติงานนี้ให้จริงจังและเป็นกิจจะลักษณะ เขาจึงก่อตั้งมูลนิธิมุสลิมทั่วโลก หรือ เอ็มเอทีดับเบิลยู ขึ้นมา (MATW – Muslims Around The World ) เพื่อดำเนินงานด้านการกุศลอย่างเต็มรูปแบบ และเริ่มเปิดระดมทุนเพื่อหาเงินสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของเขา
มูลนิธิของอาลีได้วางโครงการเพื่อสังคมเอาไว้มากมาย โดยโปรเจกต์ที่สำคัญที่สุดคือ สร้างบ้านพักให้แก่เหล่าหญิงหม้ายยากไร้ ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีงานทำ, สร้างศูนย์การแพทย์ขนาดเล็กในพื้นที่, สร้างโรงเรียนให้แก่เด็ก ๆ และโปรเจคต์พัฒนา-สนับสนุนธุรกิจในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีรายได้ โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภายนอก จุดนี้อาลีมองว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเงินบริจาคไม่ได้มีอยู่ตลอด และหมดลงได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การสร้างรากฐานเหล่านี้ จะทำให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตัวเองตัวเองได้ในระยะยาว และก่อทำให้สังคมถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ยั่งยืน
“ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานศพของสหายคนหนึ่ง เขาเสียชีวิตจากไปด้วยโรคมะเร็งเหมือน ๆ กับที่ผมเป็น ขณะที่อยู่ในสุสานแห่งนั้น ผมนึกถึงตัวเองในวันที่ผมจะต้องจากโลกนี้ไป ผมจะเหลือแต่เพียงตัวเปล่า ไม่มีใครเลย ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีพี่น้อง มีเพียงแต่ความตายเท่านั้น แม้แต่เงินทองทั้งหมดที่มี ก็ไม่สามารถติดตัวไปได้ สิ่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ และสามารถนำติดตัวไปได้คือ ความดีจากการช่วยเหลือสังคม ในวันที่ผมหมดลมหายใจ ทอดกายลงในโลงศพ มันจะเป็นสิ่งเดียวที่จะเดินทางไปพร้อมกับผม ไปสู่จุดหมายปลายทางสุดท้าย” อาลี กล่าว
ในขณะที่สองมือและหัวใจของอาลีพยายามสู้ต่อไปเพื่อชีวิตที่ดีของเด็ก ๆ และผู้คนในตองโก สุขภาพร่างกายของเขาก็ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 อาลีก็เสียชีวิตจากไป ด้วยวัย 32 ปี