ลองสังเกตุตัวเองดูนะ “ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ” อาการของโรคและแนวทางการรักษา

กราบสวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับ”อุ้ยเอาแล้วจุ้ย” โดยวันนี้เราได้นำข้อมูลที่น่าสนใจจากเพจ อกาลิโก ที่ได้ทำการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับ “ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ” จะมีเรื้อหาอย่างไรนั้นเราไปชมกันเลยครับผม

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion)

เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ที่พบได้บ่อยที่สุดของบริเวณมือและข้อมือ โดยมี
– ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น
– ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่
-ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ
ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจจะ เป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ
พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 – 40 ปี

อาการ

มีก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเมื่อย หรือปวดข้อมือบ้างเล็กน้อย เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ
ถ้ากระดกข้อมือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น
ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต

แนวทางรักษา

1. วิธีไม่ผ่าตัด

ในรายที่ก้อนใหญ่แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการและไม่กังวล ก็อาจปล่อยไว้โดยไม่ต้องผ่าออก เพราะก้อนถุงน้ำนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายและไม่กลายเป็นเนื้องอกร้ายแรง(มะเร็ง)
ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และมีอาการปวด ก็ควรลดการใช้ข้อมือ ให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ สักพักอาการปวดมักจะดีขึ้น ถ้ามีอาการปวดมากอาจจะรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือ ใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์

2. วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก

ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก ๆ ก็อาจกดให้ก้อนแตกออก แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็ควรใช้วิธีใช้เข็มเจาะก้อนแล้วดูดน้ำที่อยู่ภายในก้อนออก อาจจะฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อก้อนแตกหรือเมื่อดูดน้ำในก้อนออก ก้อนก็ยุบหายไป
แต่วิธีนี้มีโอกาสที่จะเกิดก้อนซ้ำขึ้นมาใหม่ ประมาณ 35 – 70 %

3. วิธีผ่าตัด

แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัดเอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ ก็จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ มิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้
ถ้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5 – 15 %

การดูแลหลังผ่าตัด

– หลังผ่าตัดพันผ้าและใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ไว้ 10 – 14 วัน
– ยกแขนสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบวม
– เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังการผ่าตัด แล้วทำแผลวันละครั้งจนถึงวันตัดไหม ( ประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด )


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก