Home »
Uncategories »
เผย 32 อาการของ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” วัยรุ่นเป็นกันเยอะ
เผย 32 อาการของ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” วัยรุ่นเป็นกันเยอะ
วันนี้เราจะมาดูกันว่า อาการของ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” เนี่ยเป็นอย่างไร แล้วใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
โรคนิมโฟมาเนีย
(Nymphomania) ตัวตนที่แท้จริงของโรคขาดผู้ชายไม่ได้
ใช่จะเกิดได้แค่เฉพาะผู้หญิง
แม้แต่ผู้ชายก็เกิดได้เช่นกัน คงมีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่า
โรคขาดผู้ชายไม่ได้ หรือลักษณะของผู้หญิงที่เกิดความต้องการทางเพศสูงนั้น
คือ โรคฮิสทีเรีย (Histeria)
แต่แท้ที่จริงแล้ว
นั่นเป็นความเข้าใจผิดอันเกิดจากการคาดเดาจากการแสดงออกบางอย่างของผู้มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียเท่านั้น
ซึ่งความเข้าใจนั้นก็ทำให้หลายคนเกิดทัศนคติที่ไม่ดีนักต่อกลุ่มผู้ที่เป็นฮิสทีเรีย
และเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ร่วมกัน
ในวันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักกับฮิสทีเรียกันก่อน
บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย
สำหรับผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย
จะมีลักษณะ ลีลา ท่าทางการแสดงออกที่มากเกินกว่าปกติ
รวมทั้งอาจมีท่าทีเชิญชวน มีจริต หรืออาจถึงขั้นยั่วยวน ทั้งนี้
บุคลิกภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง
เนื่องจากมีความเป็นเด็กในตัวสูง
ซึ่งสาเหตุของบุคลิกภาพแบบนี้ มาจากการขาดความรักในวัยเด็ก
ทำให้พวกเขาโหยหาความรักอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นเรื่องของความปรารถนาทางเพศ
หรือต้องการเติมเต็มด้านเพศอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด
โรคประสาทฮิสทีเรีย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.
แบบคอนเวอร์ชัน รีแอคชั่น (conversion
reaction) จะเกิดขึ้นในเวลาที่เกิดความขัดแย้งในจิตใจมากๆ
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบการเคลื่อนไหวหรือการรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต
กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้
โดยจะตรวจไม่พบความผิดปกติทางร่างกาย หรือทางระบบประสาทแต่อย่างใด
2.
แบบดีสโซซิเอทีฟ (dissociative
type) อาจจะทำให้มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น
คนเรียบร้อยกลายเป็นแข็งกร้าว และอาจจะรวมถึงการสูญเสียความทรงจำ
เนื่องมาจากได้รับความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างหนัก
จนผู้ป่วยไม่ต้องการรับรู้อีกต่อไป โดยไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
ดังจะเห็นได้ว่า
ผู้ที่เป็นฮิสทีเรียนั้น
ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศที่มากกว่าปกติเลยแม้แต่น้อย
สิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขาก็คือความรัก ความเข้าใจ
และความเอาใจใส่จากคนรอบข้างเพียงเท่านั้น แต่ในเมื่อฮิสทีเรียไม่ใช่โรคที่เกี่ยวกับความต้องการทางเพศสูง
แล้วโรคขาดผู้ชายไม่ได้ คือโรคอะไรกันล่ะ
ที่จริงแล้ว
โรคขาดผู้ชายไม่ได้นั้น ก็คือลักษณะของโรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania)
ซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตประเภทหนึ่ง
ที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในการควบคุมพฤติกรรมในเรื่องเพศ ทำให้เกิดความต้องการทางเพศมากกว่าปกติ
(Hypersexuality)
คำว่า นิมโฟมาเนีย นั้นมาจากคำว่า “นิมโฟ
(Nympho)” หมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง และ “มาเนีย (Mania)”
ซึ่งหมายถึง ความคลั่งไคล้หรือความบ้าคลั่ง และเมื่อนำมารวมกัน
“นิมโฟมาเนีย” จึงหมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงเกินปกติ
หรือมีความคลั่งไคล้ในเรื่องเพศนั่นเอง
สำหรับโรคนิมโฟมาเนียนี้ถูกจัดอยู่ในอาการป่วยขั้นรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหญิงและชาย
แต่ผู้ป่วยชายจะถูกเรียกว่า “สไตเรียซิส
(satyriasis)” โดยนิมโฟมาเนียนั้นจะพบได้มากในผู้หญิง
และผู้ชายที่เป็นพวกรักร่วมเพศ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยทางจิต
หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยทางจิต
ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคดังกล่าวเช่นกัน
ส่วนสาเหตุของโรคนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด
แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับสาเหตุต่อไปนี้
สาเหตุของโรคนิมโฟมาเนีย
1.
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งสารสื่อนำประสาท
(Neurotransmitters) ในสมองมากกว่าปกติ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin),
นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine)
รวมถึงการเกิดความผิดปกติในสมองตรงบริเวณที่ส่งผลต่อการเกิดความต้องการทางเพศ
2. ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งมีทั้งในชายและหญิง ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อการควบคุมทางเพศ
3. การขาดสมดุลระหว่างอารมณ์และจิตใจ
4. พันธุกรรม
5. สภาพแวดล้อม
6. ความเครียด
7. บาดแผลทางจิตใจ จากเหตุการณ์ในชีวิต
8. การได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด
ลักษณะของผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย
1. มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้
2. มักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
3. ใช้บริการทางเพศจากการแชท ภาพลามก หรือใช้บริการทางเพศออนไลน์
4. มีการแสดงออกทางเพศอย่างผิดปกติ เช่น ชอบความเจ็บปวด (Masochistic) ชอบความรุนแรง (Sadistic) และพฤติกรรมทางเพศอื่นๆ
5. ชอบโชว์
6. พูดจาลามก หรือแสดงท่าทางในลักษณะว่ามีความต้องการทางเพศตลอดเวลา
ทั้งนี้
สำหรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย
แม้ว่าจะทำให้พวกเขาถูกคนรอบข้างมองว่ามีความสำส่อนในเรื่องเพศ
หรืออาจจะถูกคนในสังคมมองในด้านลบ เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ
ของพวกเขานั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม
จนถูกเรียกว่า ขาดผู้ชายไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยนิมโฟมาเนียนั้น
ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเห็นใจไม่ใช่น้อย
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกเขาเหล่านั้นก็คือผลจากพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับของโรคนิมโฟมาเนีย
ซึ่งทำให้พวกเขาต้องประสบกับปัญหามากมาย
ที่ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดและความไม่สบายใจแก่พวกเขา ดังต่อไปนี้
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย
1.
บางครั้งผู้ป่วยโรคนี้
อาจจะทำอะไรก็ได้เพื่อปลดปล่อยความต้องการทางเพศที่สูงมากของตัวเอง
โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตของพวกเขา
ไม่สนใจว่ามีใครที่จะต้องเจ็บปวด หรือตัวเองจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นงาน มิตรภาพ หรือที่อยู่อาศัย
2.
จากพฤติกรรมเรื่องเพศของคนกลุ่มนี้
ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
รวมทั้งอาจเป็นผู้ที่กระจายเชื้อสู่บุคคลอื่นๆ ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
3. ผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย ต้องเผชิญกับความโศกเศร้า ความเครียดอย่างถึงที่สุด จิตตก และโรคประสาทที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4. ผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย อาจต้องเผชิญหน้ากับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา
5. บางครั้งพวกเขาอาจละเลยหรือต้องโกหกคนรอบตัวและครอบครัว ทั้งยังต้องสูญเสียความสัมพันธ์ของพวกเขาไป
6. ผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนียต้องต่อสู้กับความรู้สึกผิด อับอาย และมีความภาคภูมิใจตัวเองต่ำ
ดังจะเห็นได้ว่า
นิมโฟมาเนียไม่ได้ก่อปัญหาให้เกิดแต่เฉพาะกับตัวของผู้ป่วยเท่านั้น
แต่ยังสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้อื่นได้ด้วย จนเผลอๆ
อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคม ดังนั้น โรคนิมโฟมาเนีย
จึงถือเป็นโรคที่อันตรายชนิดหนึ่ง
ซึ่งควรได้รับการเยียวยาและรักษาโดยเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม
โรคนิมโฟมาเนียนั้นยังไม่มีการรักษาให้หายขาดเช่นเดียวกับอาการป่วยทางจิตโรคอื่นๆ
แต่ผู้ป่วย สามารถเข้ารับการบำบัดได้ด้วยการใช้ยา
ควบคู่กับการปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถรับมือและจัดการควบคุมพฤติกรรมด้านเพศของตัวเองได้มากขึ้น
โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
การบำบัดผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย
1. การบำบัดแบบ Cognitive behavioral therapy (CBT) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดความต้องการได้
2. ครอบครัวบำบัด หรือสังคมบำบัด
3. พูดคุยบำบัด
4. การใช้ยา ประกอบด้วยยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท และยาสำหรับรักษาโรคทางจิต
5. มีการพบว่า การบำบัดด้วยวิธีพื้นบ้านอย่างการนวดบำบัด หรือโยคะ สามารถบำบัดให้ผู้ป่วยรับมือกับโรคได้ดีขึ้น
และนอกจากการเข้ารับการบำบัดดังกล่าวแล้ว
ผู้ป่วยยังสามารถวางแผนการใช้ชีวิต
เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการรับมือกับโรคได้
ด้วยการทำตามคำแนะนำเพื่อสุขภาพดังนี้
การพัฒนาอาการโรคนิมโฟมาเนีย
1. ทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
2. เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสุขให้แก่ตัวเอง
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับอย่างเพียงพอ
4. เข้าร่วมในกลุ่มสนับสนุน
5. มองหาการสนับสนุนจากเพื่อนๆ และครอบครัว
ทั้งนี้
สำหรับการรับมือต่อโรคนิมโฟมาเนียของผู้ป่วยนั้น
จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเข้าใจและแรงสนับสนุนจากบุคคลรอบตัวของพวกเขา
โดยเฉพาะกับครอบครัวที่จะเป็นทั้งแรงใจ
และสิ่งเหนี่ยวรั้งให้ผู้ป่วยสามารถอดทนต่อความพยายามในการควบคุมอาการของโรค
จากทั้งหมดนี้
ทุกคนคงทราบกันแล้วนะคะว่า โรคฮีโมฟีเลีย กับ โรคนิมโฟมาเนีย
นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และเหตุใดถึงเกิดความเข้าใจผิดว่า
อาการขาดผู้ชายไม่ได้ หรือลักษณะที่ผู้หญิงมีความต้องการทางเพศสูงนั้น
เป็นโรคฮีโมฟีเลีย
ทั้งที่ต้นตอและลักษณะอาการของโรคมีความต่างกันโดยสิ้นเชิง
แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคใด
ผู้ป่วยที่ประสบกับโรคทั้ง 2 นี้
ต่างก็ต้องการแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างเป็นอย่างมาก
อย่าเพิ่งมองพวกเขาในด้านลบเสมอไป
แต่หันมาทำความเข้าใจต่อสิ่งที่พวกเขาเป็น
แทนการตัดสินแต่เพียงสิ่งที่เราเห็นเขาเพียงภายนอกดีกว่านะคะ
เรียบเรียงโดย แชร์สดออนไลน์