หมอกควัน หมายถึงการสะสมของควันหรือฝุ่นละอองในอากาศ จัดเป็นมลพิษทางอากาศอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ความเป็นอันตรายของฝุ่นละอองต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้รับแต่ละคนด้วย ฝุ่นควันหรือฝุ่นขนาดที่เล็กกว่า 10 ไมครอน ที่เกิดจากการเผาไหม้จะส่งผลกระทบ ทำให้มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง อาการทางตา ทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้นด้วย โดยฝุ่นจะเข้าไปยังปอดในถุงลม เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมนี้ และเกิดการอักเสบในหลอดเลือดได้ ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอด เช่น การอักเสบของถุงลมปอด และบางรายอักเสบมากจนทำให้เกิดการหายใจลำบากจนถึงขั้นวิกฤต หรืออาจทำให้หลอดเลือดหัวใจอักเสบได้ ซึ่งฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาไหม้ในบริเวณภาคเหนือก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นเดียวกันกับฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ในกรุงเทพฯ ได้
คำแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ
1. ควรปิดประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันไม่ให้หมอกควันลอยเข้าสู่บ้าน
2. หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น
3. ก่อนออกจากบ้านควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันการระคายเคืองตา และสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละอองที่เหมาะสม
4. หลีกเลี่ยงการสูดดมละอองควันไฟเข้าสู่ร่างกายโดยตรง และลดปริมาณการสูดดมพิษจากฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย
5. หากมีอาการผิดปกติหลังจากสูดดมฝุ่นละอองหมอกควัน เช่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด แสบตา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
6. ในช่วงที่มีสถานการณ์หมอกควัน ควรงดการรองน้ำฝนมาใช้เพื่อการอุปโภคชั่วคราว
7. หลีกเลี่ยงการเผาขยะหรือวัสดุใด ๆ รวมถึงการสูบบุหรี่ที่จะเป็นการเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น
8. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใด ๆ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในบริเวณกลางแจ้ง
9. หากขับขี่ยานพาหนะในช่วงที่มีหมอกควันควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
10. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ควรเตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอ และหากเกิดปัญหาสุขภาพควรพบแพทย์
สสส.
โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ความเป็นอันตรายของฝุ่นละอองต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้รับแต่ละคนด้วย ฝุ่นควันหรือฝุ่นขนาดที่เล็กกว่า 10 ไมครอน ที่เกิดจากการเผาไหม้จะส่งผลกระทบ ทำให้มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง อาการทางตา ทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้นด้วย โดยฝุ่นจะเข้าไปยังปอดในถุงลม เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมนี้ และเกิดการอักเสบในหลอดเลือดได้ ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอด เช่น การอักเสบของถุงลมปอด และบางรายอักเสบมากจนทำให้เกิดการหายใจลำบากจนถึงขั้นวิกฤต หรืออาจทำให้หลอดเลือดหัวใจอักเสบได้ ซึ่งฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาไหม้ในบริเวณภาคเหนือก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นเดียวกันกับฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ในกรุงเทพฯ ได้
คำแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ
1. ควรปิดประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันไม่ให้หมอกควันลอยเข้าสู่บ้าน
2. หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น
3. ก่อนออกจากบ้านควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันการระคายเคืองตา และสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละอองที่เหมาะสม
4. หลีกเลี่ยงการสูดดมละอองควันไฟเข้าสู่ร่างกายโดยตรง และลดปริมาณการสูดดมพิษจากฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย
5. หากมีอาการผิดปกติหลังจากสูดดมฝุ่นละอองหมอกควัน เช่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด แสบตา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
6. ในช่วงที่มีสถานการณ์หมอกควัน ควรงดการรองน้ำฝนมาใช้เพื่อการอุปโภคชั่วคราว
7. หลีกเลี่ยงการเผาขยะหรือวัสดุใด ๆ รวมถึงการสูบบุหรี่ที่จะเป็นการเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น
8. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใด ๆ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในบริเวณกลางแจ้ง
9. หากขับขี่ยานพาหนะในช่วงที่มีหมอกควันควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
10. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ควรเตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอ และหากเกิดปัญหาสุขภาพควรพบแพทย์
สสส.