โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า โรคกระเพาะ
เป็นหนึ่งโรคฮิตที่เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัยโดยที่เราไม่รู้ตัว
เกิดจากการอักเสบหรืออาการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุในกระเพาะอาหาร
สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังที่กินเวลารักษายาวนาน
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ รับประทานอาหารสำเร็จรูป หรือของทอดบ่อยเกินไป
เมื่อเป็นโรคกระเพาะ เพื่อนๆ อาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณช่องท้องโดยเฉพาะช่วงมื้ออาหาร ท้องอืด อิ่มเร็ว รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหารในบางกรณี แต่ถ้ายังไม่ร้ายแรงเกินไปนัก เราก็สามารถรักษาโรคกระเพาะได้ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งยารักษา ไปดูกันเลยว่าขั้นตอนแรกต้องทำยังไงกันบ้าง!
1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
หนึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาโรคกระเพาะด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยาก็คือการหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลหรือสร้างความระคายเคืองให้กับกระเพาะของคุณ ซึ่งอาหารอันดับแรกๆ ที่คุณควรลด ละ เลิก หากโรคกระเพาะกำลังถามหาก็คือ อาหารสำเร็จรูปทั้งหลายแหล่ที่ผ่านการปรุงแต่งหลายขั้นตอน อาหารทอดต่างๆ ทั้งเฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ที่อาจเป็นของโปรดของใครหลายๆ คน และยังรวมไปถึงอาหารที่มีรสจัด รสแซ่บสุดเปรี้ยวปาก เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะที่รุนแรง ยิ่งรับประทานมาก หรือบ่อยจนเกินไป กระเพาะของเราก็จะยิ่งถูกทำลายมากขึ้นไปด้วยทำให้เกิดอาการอักเสบ และขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นอีกด้วย นอกจากจะลด ละ เลิกอาหารต้องห้ามแล้ว เรายังควรหันไปรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่มากขึ้น ดื่มน้ำสะอาดแทนเครื่องดื่มที่มีก๊าซหรือน้ำตาล แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนเกินไป และที่สำคัญห้ามลืมรับประทานอาหารเช้าโดยเด็ดขาด!
2.อาหารที่ควรรับประทาน
หลังจากที่เพื่อนๆ สามารถลด ละ เลิก อาหารบางชนิดอันเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกระเพาะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เราก็ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถให้สารอาหารกับร่างกายได้ครบถ้วน อาทิ ผักและผลไม้ อาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพสูง กรดไขมันชนิดดีต่างๆ และอาหารที่อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง เบอร์รี่ หัวหอม กระเทียม พริกหยวก ถั่วชนิดต่างๆ และธัญพืชชนิดไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบ ช่วยเคลือบกระเพาะให้แข็งแรง และช่วยเติมพลังงาน แร่ธาตุ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายให้เพียงพอทำให้สุขภาพโดยรวมของเราแข็งแรง และมีน้ำหนักตัวที่สมเหตุสมผลอีกด้วยค่ะ
3.หลีกเลี่ยงหรือพยายามลดการใช้ยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์
ยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์หรือยาจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป จะมีตัวยาบางชนิดที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งยาเหล่านี้ที่เราทานเข้าไปโดยไม่คิดอะไรกลับมีส่วนทำให้กรดในกระเพาะอาหารของเราเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ภาวะโรคกระเพาะในที่สุด
ตัวยาโด่งดังที่หาซื้อได้ง่ายก็คงจะหนีไม่พ้น ยาแก้ปวดตระกูลต่างๆ เช่น Aspirin และ ibuprofen ที่ขึ้นชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดได้ชะงัดนัก แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าเมื่อเราทานยาเหล่านี้เป็นประจำ มันจะส่งผลต่อการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยเคลือบกระเพาะของเรา และค่อยๆ กัดกระเพาะของเราทีละน้อยนั่นเองค่ะ ฉะนั้นแล้ว หากเพื่อนๆ มีอาการปวดเรื้อรัง ทั้งอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดข้อ เราก็มีทางเลือกในการรักษาได้หลากหลาย เช่น การใช้น้ำมันหอมระเหย รับประทานอาหารเสริม และการออกกำลังกายให้ถูกวิธี
4.กำจัดความเครียด และมาออกกำลังกายด่วน!
อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้โรคกระเพาะทวีความรุนแรงก็คือ ความเครียด งงกันไหมคะว่าความเครียดเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคกระเพาะ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเครียดหรือกดดัน ร่างกายก็จะผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อโรคกระเพาะโดยตรงนั่นเอง
วิธีสุดง่ายในการจัดการความเครียดก็มีมากมายตามความพึงพอใจของเรา แต่วิธีที่เราอยากจะแนะนำเพื่อนๆ มากที่สุดก็คือ การได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือโยคะ เพียงวันละ 30 นาทีก็จะช่วยคุณให้ผ่อนคลายจากความเครียด รู้สึกกระปรี้กระเปร่ากว่าที่เคย และยังเป็นมิตรต่อระบบกระเพาะอาหารของเราอีกด้วย
แม้โรคกระเพาะจะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาวะดังกล่าวนี้รบกวนวิถีชีวิต และสร้างความลำบากให้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพื่อนๆ ที่เคยประสบปัญหานี้ก็คงจะเข้าใจกันเป็นอย่างดี ทั้งความมีระเบียบในการทานอาหารให้ตรงเวลา และต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน คงดีกว่าถ้าเราสามารถดูแลรักษาร่างกายของเราให้แข็งแรงและเป็นปกติอยู่เสมอ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนานเต็มที่ โดยที่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่กล้าเข้ามา
Sources: www.davidwolfe.com
www.pobpad.com
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ รับประทานอาหารสำเร็จรูป หรือของทอดบ่อยเกินไป
เมื่อเป็นโรคกระเพาะ เพื่อนๆ อาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณช่องท้องโดยเฉพาะช่วงมื้ออาหาร ท้องอืด อิ่มเร็ว รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหารในบางกรณี แต่ถ้ายังไม่ร้ายแรงเกินไปนัก เราก็สามารถรักษาโรคกระเพาะได้ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งยารักษา ไปดูกันเลยว่าขั้นตอนแรกต้องทำยังไงกันบ้าง!
1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
หนึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาโรคกระเพาะด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยาก็คือการหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลหรือสร้างความระคายเคืองให้กับกระเพาะของคุณ ซึ่งอาหารอันดับแรกๆ ที่คุณควรลด ละ เลิก หากโรคกระเพาะกำลังถามหาก็คือ อาหารสำเร็จรูปทั้งหลายแหล่ที่ผ่านการปรุงแต่งหลายขั้นตอน อาหารทอดต่างๆ ทั้งเฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ที่อาจเป็นของโปรดของใครหลายๆ คน และยังรวมไปถึงอาหารที่มีรสจัด รสแซ่บสุดเปรี้ยวปาก เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะที่รุนแรง ยิ่งรับประทานมาก หรือบ่อยจนเกินไป กระเพาะของเราก็จะยิ่งถูกทำลายมากขึ้นไปด้วยทำให้เกิดอาการอักเสบ และขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นอีกด้วย นอกจากจะลด ละ เลิกอาหารต้องห้ามแล้ว เรายังควรหันไปรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่มากขึ้น ดื่มน้ำสะอาดแทนเครื่องดื่มที่มีก๊าซหรือน้ำตาล แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนเกินไป และที่สำคัญห้ามลืมรับประทานอาหารเช้าโดยเด็ดขาด!
2.อาหารที่ควรรับประทาน
หลังจากที่เพื่อนๆ สามารถลด ละ เลิก อาหารบางชนิดอันเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกระเพาะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เราก็ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถให้สารอาหารกับร่างกายได้ครบถ้วน อาทิ ผักและผลไม้ อาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพสูง กรดไขมันชนิดดีต่างๆ และอาหารที่อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง เบอร์รี่ หัวหอม กระเทียม พริกหยวก ถั่วชนิดต่างๆ และธัญพืชชนิดไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบ ช่วยเคลือบกระเพาะให้แข็งแรง และช่วยเติมพลังงาน แร่ธาตุ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายให้เพียงพอทำให้สุขภาพโดยรวมของเราแข็งแรง และมีน้ำหนักตัวที่สมเหตุสมผลอีกด้วยค่ะ
3.หลีกเลี่ยงหรือพยายามลดการใช้ยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์
ยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์หรือยาจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป จะมีตัวยาบางชนิดที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งยาเหล่านี้ที่เราทานเข้าไปโดยไม่คิดอะไรกลับมีส่วนทำให้กรดในกระเพาะอาหารของเราเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ภาวะโรคกระเพาะในที่สุด
ตัวยาโด่งดังที่หาซื้อได้ง่ายก็คงจะหนีไม่พ้น ยาแก้ปวดตระกูลต่างๆ เช่น Aspirin และ ibuprofen ที่ขึ้นชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดได้ชะงัดนัก แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าเมื่อเราทานยาเหล่านี้เป็นประจำ มันจะส่งผลต่อการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยเคลือบกระเพาะของเรา และค่อยๆ กัดกระเพาะของเราทีละน้อยนั่นเองค่ะ ฉะนั้นแล้ว หากเพื่อนๆ มีอาการปวดเรื้อรัง ทั้งอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดข้อ เราก็มีทางเลือกในการรักษาได้หลากหลาย เช่น การใช้น้ำมันหอมระเหย รับประทานอาหารเสริม และการออกกำลังกายให้ถูกวิธี
4.กำจัดความเครียด และมาออกกำลังกายด่วน!
อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้โรคกระเพาะทวีความรุนแรงก็คือ ความเครียด งงกันไหมคะว่าความเครียดเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคกระเพาะ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเครียดหรือกดดัน ร่างกายก็จะผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อโรคกระเพาะโดยตรงนั่นเอง
วิธีสุดง่ายในการจัดการความเครียดก็มีมากมายตามความพึงพอใจของเรา แต่วิธีที่เราอยากจะแนะนำเพื่อนๆ มากที่สุดก็คือ การได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือโยคะ เพียงวันละ 30 นาทีก็จะช่วยคุณให้ผ่อนคลายจากความเครียด รู้สึกกระปรี้กระเปร่ากว่าที่เคย และยังเป็นมิตรต่อระบบกระเพาะอาหารของเราอีกด้วย
แม้โรคกระเพาะจะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาวะดังกล่าวนี้รบกวนวิถีชีวิต และสร้างความลำบากให้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพื่อนๆ ที่เคยประสบปัญหานี้ก็คงจะเข้าใจกันเป็นอย่างดี ทั้งความมีระเบียบในการทานอาหารให้ตรงเวลา และต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน คงดีกว่าถ้าเราสามารถดูแลรักษาร่างกายของเราให้แข็งแรงและเป็นปกติอยู่เสมอ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนานเต็มที่ โดยที่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่กล้าเข้ามา
Sources: www.davidwolfe.com
www.pobpad.com